ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

9 กันยายน 2559 ราชกิจจานุเบกษาประกาศสำนักประกันสังคมกรณีทุพพลภาพ (ที่ไม่เนื่องจากการทำงาน) รวม 3 เรื่อง โดยให้บังคับใช้ตั้งแต่ 20 ตุลาคม 2558 เป็นต้นไป

ข้อสังเกตจากสำนักงานทนายความและที่ปรึกษากฎหมายพรนารายณ์และเพื่อนต่อประกาศสำนักงานประกันสังคมทั้ง 3 ฉบับดังกล่าว

 

เดิมทุพพลภาพ จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 50 %  ของค่าจ้างตลอดชีวิต โดยผู้ประกันตนจะต้องสูญเสียสมรรถภาพของร่างกายร้อยละ 50 ถึงจะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพ แต่ประกาศทั้ง 3 ฉบับนี้ ผู้ประกันตนซึ่งสูญเสียสมรรถภาพไม่ถึงร้อยละ 50 ของร่างกาย (ทุพพลภาพระดับความสูญเสียไม่รุนแรง) มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพเช่นเดียวกัน

 

โดยกรณีทุพพลภาพมีระดับความสูญเสียไม่รุนแรง ตั้งแต่ร้อยละ 35 ขึ้นไป แต่ไม่ถึงร้อยละ 50 มีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างรายวันตามมาตรา 57 ตลอดระยะเวลาที่ไม่สามารถประกอบการงานได้ ทั้งนี้ไม่เกิน 180 เดือน

 

และกรณีทุพพลภาพระดับความสูญเสียรุนแรง ตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไปมีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายวันไปตลอดชีวิต

 

มีรายละเอียดดังนี้

 

  ประกาศสำนักงานประกันสังคม เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ในกรณีทุพพลภาพ
ดูรายละเอียด

 

หลักเกณฑ์การทุพพลภาพ มี 2 ระดับ ดังนี้

(1) ทุพพลภาพมีระดับความสูญเสียไม่รุนแรง ได้แก่ การสูญเสียอวัยวะหรือสูญเสียสมรรถภาพ

ของอวัยวะหรือของร่างกาย หรือสูญเสียสภาวะปกติทางจิตใจจนทำให้ความสามารถในการทำงานปกติลดลงถึงขนาดไม่อาจประกอบการงานตามปกติได้ เมื่อประเมินการสูญเสียตั้งแต่ร้อยละสามสิบห้าขึ้นไปแต่ไม่ถึงร้อยละห้าสิบ

 

(2) ทุพพลภาพมีระดับความสูญเสียรุนแรง ได้แก่

(ก) การสูญเสียอวัยวะหรือสูญเสียสมรรถภาพของอวัยวะหรือของร่างกาย หรือสูญเสียสภาวะปกติทางจิตใจจนทำให้ความสามารถในการทำงานลดลงถึงขนาดไม่อาจประกอบการงานตามปกติได้

เมื่อประเมินการสูญเสียตั้งแต่ร้อยละห้าสิบขึ้นไป

(ข) การสูญเสียอวัยวะหรือสูญเสียสมรรถภาพของอวัยวะหรือของร่างกาย ดังต่อไปนี้

(1) มือขาดทั้งสองข้างตั้งแต่ระดับข้อมือขึ้นไป

(2) ขาขาดทั้งสองข้างตั้งแต่ระดับเข่าขึ้นไป

(3) สูญเสียขาข้างหนึ่งระดับเหนือเข่าขึ้นไปกับขาข้างหนึ่งขาดระดับข้อเท้าขึ้นไป

 (4) โรคหรือการบาดเจ็บของสมอง เป็นเหตุให้สูญเสียความสามารถของอวัยวะของร่างกายจนไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันที่จำเป็นได้ และต้องมีผู้อื่นมาช่วยเหลือดูแล

(5) การสูญเสียอวัยวะหรือสูญเสียสมรรถภาพของอวัยวะหรือของร่างกาย หรือสูญเสียสภาวะปกติทางจิตใจจนทำให้ความสามารถในการทำงานลดลงถึงขนาดไม่อาจประกอบการงานตามปกติได้เมื่อประเมินการสูญเสียตั้งแต่ร้อยละห้าสิบขึ้นไป

 

ผู้ประกันตนที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยประสงค์ขอรับประโยชน์ทดแทนในกรณีทุพพลภาพจะต้องไปรับการประเมินการสูญเสียอวัยวะหรือสมรรถภาพของอวัยวะหรือของร่างกาย หรือการสูญเสียสภาวะปกติทางจิตใจจากแพทย์ และให้คณะกรรมการการแพทย์หรือคณะอนุกรรมการเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัย

 

เว้นแต่ในกรณีทุพพลภาพ (๑) มือขาดทั้งสองข้างตั้งแต่ระดับข้อมือขึ้นไป (๒) ขาขาดทั้งสองข้างตั้งแต่ระดับเข่าขึ้นไป (๓) สูญเสียขาข้างหนึ่งระดับเหนือเข่าขึ้นไปกับขาข้างหนึ่งขาดระดับข้อเท้าขึ้นไป การพิจารณาวินิจฉัยให้เป็นอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงานประกันสังคม

 

  ประกาศสำนักงานประกันสังคม เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ อัตรา วิธีการพิจารณาสั่งเพิ่มหรือลดเงินทดแทนการขาดรายได้เนื่องจากทุพพลภาพ
ดูรายละเอียด 

 

  • ผู้ทุพพลภาพที่สูญเสียอวัยวะหรือสูญเสียสมรรถภาพของอวัยวะหรือของร่างกายหรือสูญเสียสภาวะปกติของจิตใจตั้งแต่ร้อยละสามสิบห้าขึ้นไป แต่ไม่ถึงร้อยละห้าสิบ ให้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ในอัตราร้อยละสามสิบของค่าจ้างตามมาตรา 57 ตลอดระยะเวลาที่ไม่สามารถทำงานได้ทั้งนี้ ไม่เกินระยะเวลาหนึ่งร้อยแปดสิบเดือน

 

  • ผู้ทุพพลภาพที่มีการฟื้นฟูสมรรถภาพและหรือมีการพัฒนาที่ดี มีการสูญเสียสมรรถภาพทั้งร่างกายน้อยกว่าร้อยละสามสิบห้าและมีรายได้จากการทำงานมากกว่าเงินทดแทนการขาดรายได้ให้ลดเงินทดแทนการขาดรายได้ลง 10 % ของเงินทดแทนการขาดรายได้ที่ผู้ทุพพลภาพได้รับอยู่ หากต่อมาผู้ทุพพลภาพไม่มีรายได้จากการทำงานให้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ตามข้อแรก

 

 

  • ผู้ทุพพลภาพที่สูญเสียอวัยวะหรือสูญเสียสมรรถภาพของอวัยวะหรือของร่างกายหรือสูญเสียสภาวะปกติของจิตใจตั้งแต่ร้อยละห้าสิบขึ้นไป ให้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ในอัตราร้อยละห้าสิบของค่าจ้างตามมาตรา 57 ตลอดชีวิต

 

  • ผู้ทุพพลภาพที่มีการฟื้นฟูสมรรถภาพและหรือมีการพัฒนาที่ดี มีการสูญเสียสมรรถภาพทั้งร่างกายน้อยกว่าร้อยละห้าสิบ และมีรายได้จากการทำงานมากกว่าเงินทดแทนการขาดรายได้ให้ลดเงินทดแทนการขาดรายได้ ดังนี้

(1) รายได้จากการทำงานมากกว่า 1.5 เท่าของเงินทดแทนการขาดรายได้ให้ลดเงินทดแทนการขาดรายได้ลง 10 %

(2) รายได้จากการทำงานมากกว่า 2 เท่าของเงินทดแทนการขาดรายได้ให้ลดเงินทดแทนการขาดรายได้ลง 20 %

(3) รายได้จากการทำงานมากกว่า 2.5 เท่าของเงินทดแทนการขาดรายได้ให้ลดเงินทดแทนการขาดรายได้ลง 30 %

(4) รายได้จากการทำงานมากกว่า 3 เท่าของเงินทดแทนการขาดรายได้ให้ลดเงินทดแทนการขาดรายได้ลง 40 %

(5) รายได้จากการทำงานมากกว่า 3.5 เท่าของเงินทดแทนการขาดรายได้ให้ลดเงินทดแทนการขาดรายได้ลง 50 %

 

  • ผู้ทุพพลภาพที่ถูกลดเงินทดแทนการขาดรายได้ หากภายหลังปรากฏว่ามีสภาพร่างกายที่เสื่อมลงให้มีการประเมินการสูญเสียสมรรถภาพของร่างกายใหม่เพื่อพิจารณาเพิ่มเงินทดแทนการขาดรายได้ตามหลักเกณฑ์ข้างต้น

 

  • กรณีที่ไม่สามารถพิจารณาได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดให้หารือคณะกรรมการการแพทย์

 

  • ถ้าผู้ทุพพลภาพได้รับการฟื้นฟูจนมีสภาพดีขึ้นสามารถทำงานมีรายได้ แต่ต่อมามีรายได้ลดลงหรือไม่มีรายได้ให้พิจารณาเพิ่มเงินทดแทนการขาดรายได้ตามหลักเกณฑ์ข้างต้น

 

 

  ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 เรื่อง กำหนดอัตรา และระยะเวลาการได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพ
ดูรายละเอียด

 

(1) กรณีทุพพลภาพมีระดับความสูญเสียไม่รุนแรงให้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ ดังนี้

 (1.1) กรณีผู้ประกันตนที่เป็นผู้ทุพพลภาพจนทำให้ความสามารถในการทำงานลดลงถึงขนาดไม่อาจประกอบการงานตามปกติและงานอื่นใดได้ ให้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ในอัตรา

ร้อยละสามสิบของค่าจ้างรายวันตามมาตรา 57 ตลอดระยะเวลาที่ไม่สามารถประกอบการงานได้ทั้งนี้ไม่เกินระยะเวลาหนึ่งร้อยแปดสิบเดือน

 

(1.2) กรณีผู้ประกันตนที่เป็นผู้ทุพพลภาพจนทำให้ความสามารถในการทำงานลดลงถึงขนาดไม่อาจประกอบการงานตามปกติและมีรายได้ลดลงจากเดิม ให้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ในส่วนที่ลดลงแต่ไม่เกินร้อยละสามสิบของค่าจ้างรายวันตามมาตรา 57 ไม่เกินระยะเวลาหนึ่งร้อยแปดสิบเดือน

 

(1.3) กรณีผู้ประกันตนที่เป็นผู้ทุพพลภาพตาม (1.2) สิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตนให้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ในอัตราร้อยละสามสิบของค่าจ้างรายวันตามมาตรา 57 ตลอดระยะเวลาที่ไม่สามารถประกอบการงานได้ ทั้งนี้ เมื่อรวมกับระยะเวลาที่ผู้ประกันตนได้รับไปแล้วตาม (1.2) ต้องไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบเดือน

 

(2) กรณีทุพพลภาพมีระดับความสูญเสียรุนแรงให้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ในอัตราร้อยละห้าสิบของค่าจ้างรายวันตามมาตรา 57 ตลอดชีวิต

 

ข้อ 2 กรณีทุพพลภาพมีระดับความสูญเสียรุนแรง ได้แก่

(1) มือขาดทั้งสองข้างตั้งแต่ระดับข้อมือขึ้นไป

(2) ขาขาดทั้งสองข้างตั้งแต่ระดับเข่าขึ้นไป

(3) สูญเสียขาข้างหนึ่งระดับเหนือเข่าขึ้นไปกับขาข้างหนึ่งขาดระดับข้อเท้าขึ้นไป

(4) โรคหรือการบาดเจ็บของสมอง เป็นเหตุให้สูญเสียความสามารถของอวัยวะของร่างกายจนไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันที่จำเป็นได้ และต้องมีผู้อื่นมาช่วยเหลือดูแล

 (5) การสูญเสียอวัยวะหรือสูญเสียสมรรถภาพของอวัยวะหรือของร่างกาย หรือสูญเสียสภาวะปกติทางจิตใจจนทำให้ความสามารถในการทำงานลดลงถึงขนาดไม่อาจประกอบการงานตามปกติได้ เมื่อประเมินการสูญเสียตั้งแต่ร้อยละห้าสิบขึ้นไป



09/Sep/2016

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา