ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

‘ปิดงานมิตซูแอร์’ : ความเกลียดกลัวสหภาพแรงงาน คัดออกเพื่อถางทางเดินทุนให้ราบเรียบ

บทความนี้เขียนขึ้นมาอย่างเร่งด่วนท่ามกลางที่กระแสสังคมโดยเฉพาะทาง social media โหมกระหน่ำโจมตีสหภาพแรงงานมิตซูบิชิ อิเล็คทริค ประเทศไทย ภายหลังที่บริษัท มิตซูบิชิ อิเล็คทริค คอนซูมเมอร์ โปรดักส์ (ประเทศไทย) จำกัด ใช้สิทธิปิดงานโดยไม่จ่ายค่าจ้างและสวัสดิการอื่นใดกับสมาชิกสหภาพแรงงานกว่า 1,800 คน นับตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม 2560 เป็นต้นไป ทั้งนี้เป็นผลมาจากการที่แต่ละฝ่ายต่างยื่นข้อเรียกร้องต่อกันและไม่สามารถตกลงร่วมกันได้ในที่สุด
 
 
สิ่งสำคัญในเรื่องนี้ คือ การรับรู้ข้อมูลแบบจิ๊กซอว์และนำมาสู่การ “จับแพะชนแกะแบบผิดฝาผิดตัว” นี้ไม่นับเรื่องข้อจำกัดในการสื่อสารของฝ่ายผู้ใช้แรงงานโดยตรงเมื่อเทียบกับฝ่ายบริษัทฯ เหล่านี้ยิ่งนำไปสู่อคติ ความเกลียดชิงชังสหภาพแรงงานมากยิ่งขึ้น และไม่นำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืนแต่อย่างใด 
 
 
“การปิดงาน” ไม่ได้เกิดขึ้นครั้งแรกที่นี่ อย่างน้อยได้เกิดขึ้นกับสหภาพแรงงานแห่งอื่นๆ ในรอบ 9 ปีมาแล้ว เท่าที่ทราบนับตั้งแต่
 
  • ปี 2559 สหภาพแรงงานไมย์เออร์ อลูมิเนียม (121 คน) สหภาพแรงงานอ๊อฟโรดประเทศไทย , สหภาพแรงงานอุตสาหกรรมโลหะแห่งประเทศไทย (เฉพาะลูกจ้างบริษัทนิปปอน สตีล แอนด์ ซูมิคิน สตีล โปรเซสซิ่ง ประเทศไทย)
  • ปี 2558 สหภาพแรงงานซันโคโกเซประเทศไทย (663 คน)
  • ปี 2557 สหภาพแรงงานสแตนเลย์ประเทศไทย (44 คน) , สหภาพแรงงานเพื่อนแรงงานไทย เป็นลูกจ้างบริษัทที.เอ. ออโตโมทีฟ พาร์ท (180 คน)
  • ปี 2556 สหภาพแรงงานเอ็นเอ็กพี แมนูแฟคเจอริ่ง (500 คน)
  • ปี 2554 สหภาพแรงงานฟูจิตสึ เจเนอรัลประเทศไทย
  • ปี 2553 สหภาพแรงงานแม็กซิส ประเทศไทย จนต้องเดินเท้าจากจังหวัดระยองมากระทรวงแรงงาน
  • ปี 2552 สหภาพแรงงานเจนเนอรัลมอเตอร์ส ประเทศไทย
  • ปี 2551 สหภาพแรงงานอัลมอนด์ (300 คน)
 
กล่าวอย่างตรงไปตรงมา เป้าหมายสำคัญของการปิดงาน ไม่ใช่อื่นใดเลยนอกจากเพื่อบีบให้สหภาพแรงงานยอมลดสภาพการจ้างและสวัสดิการที่เคยมีมา รวมถึงอำนาจของสหภาพแรงงานในการรวมกลุ่มและเจรจาต่อรองที่เคยมีมาก่อนตามที่กรอบกฎหมายแรงงานสัมพันธ์กำหนดไว้
 
 
ดิฉันตระหนักดีว่า การที่ใครซักคนลุกขึ้นมาต่อสู้ในสิ่งที่ตนเชื่อว่าถูกต้อง ยืนหยัดในศักดิ์ศรีความเป็นแรงงาน มีบทเรียนราคาแพงในตอนจบเสมอมา แม้ศักดิ์ศรีแรงงานกินไม่ได้ ไม่ช่วยให้ท้องอิ่มหรือเงินในกระเป๋าเพิ่มขึ้น แต่อย่างน้อยสิ่งเหล่านี้ช่วยยืนยันความเป็นมนุษย์บนโลกพิกลพิการใบนี้ที่พวกเราต้องอยู่ร่วมกันต่อไป
 
 
บทความนี้นำเสนอใน 5 ประเด็นหลัก ดังนี้
 
 
(1) บทนำ : อธิบายขั้นตอนการปิดงานว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร เพื่อความเข้าใจในหลักการที่ตรงกัน
 
 
(2) ตอนที่ 1 : “แอร์มิตซูบิชิ” ที่ 1 ในเอเชียกับกำไร 8,986 ล้านบาทในปี 2560 ชี้ให้เห็นผลประกอบการของบริษัทที่สูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับตัวเลขโบนัสที่สหภาพแรงงานเสนอ การปันผลให้ผู้ถือหุ้นถึง 7 พันล้านบาทกับตัวเลขที่สหภาพแรงงานเสนอ จึงไม่ใช่การปล้นบริษัทหรือคนงานไม่รู้จักพออย่างที่เป็นข่าวในทุกวันนี้ 
 
 
(3) ตอนที่ 2 : ก่อน “ปิดงาน” บริษัทบ่ายเบี่ยงการเจรจา กดดันสหภาพแรงงานให้รับข้อเรียกร้องของบริษัทเท่านั้น ถึงจะยอมเจรจาข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงาน ฉายภาพกระบวนการเจรจาทุกขั้นตอนอย่างละเอียดและความกดดันที่สหภาพแรงงานเผชิญ
 
 
(4) ตอนที่ 3 : “ปิดงาน” ฤาเป็นคำสั่งจากบริษัทแม่ เดินตามแนวนโยบายอาเบะโนมิกส์ “ถางทางเดินทุนให้ราบเรียบ” วิเคราะห์ให้เห็นว่าการที่บริษัทตัดสินใจเลือกใช้วิธีปิดงาน สอดคล้องกับแนวนโยบายของรัฐบาลนายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นที่ตั้งของบริษัทแม่
 
 
(5) ตอนที่ 4  : “บทสรุปของการปิดงาน” ความเกลียดกลัวสหภาพแรงงานและการคัดออก ปฏิเสธไม่ได้ว่าบริษัทมีกระบวนการต่างๆ นานาในการแบ่งแยกสมาชิกสหภาพแรงงานออกเป็น 2 กลุ่ม ผ่านการนำจำนวนโบนัสที่บริษัทพร้อมจ่ายทันทีกว่า 7.2 เดือน + เงินพิเศษ 20,000 บาท ภายใต้เงื่อนไขว่าให้เลิกข้องเกี่ยวกับสหภาพแรงงานในทุกกรณี และต้องยอมรับข้อเรียกร้องของบริษัททั้ง 3 ข้อเท่านั้น 
 
อ่านต่อทั้งหมดที่ CLICK


16/Jan/2018

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา