ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

29 มกราคม 2564 ประกาศใช้ระเบียบสำนักงานประกันสังคม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การพิจารณาประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน พ.ศ. 2564

กรณีที่นายจ้างไม่ขึ้นทะเบียนให้ผู้ประกันตน โดยสถานประกอบการดังกล่าวเลิกกิจการหรือหยุดกิจการชั่วคราว และไม่สามารถติดตามตัวนายจ้างได้ หรือนายจ้างไม่แจ้งขึ้นทะเบียนในกรณีอื่นๆ ให้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงจากพยานเอกสารหรือพยานบุคคล และหลักฐานที่เกี่ยวข้อง 

 

หากข้อเท็จจริงปรากฏว่าเป็นผู้ประกันตนและมีสิทธิได้รับเงินชดเชยการว่างงาน

 

1) ให้ตรวจสอบข้อมูลผู้ประกันตนก่อนว่า หากเป็นผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ ให้วินิจฉัยเป็นกรณีไม่มีสิทธิ และมีหนังสือแจ้งผลให้ผู้ประกันตนทราบ รวมทั้งแจ้งให้ผู้ประกันตนยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพแทน

 

2) ภายในปีปฏิทินเดียวกันเคยใช้สิทธิรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเนื่องจากถูกเลิกจ้างมาแล้วครบหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ให้วินิจฉัยเป็นกรณีไม่มีสิทธิ

 

3) ภายในปีปฏิทินเดียวกันเคยใช้สิทธิรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเนื่องจากลาออกมาแล้วครบเก้าสิบวัน ให้วินิจฉัยเป็นกรณีไม่มีสิทธิ 

 

4) กรณีถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดหรือลาออกให้พิจารณาจ่ายประโยชน์ทดแทนตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กฎหมายกำหนด
 

5) กรณีถูกเลิกจ้างโดยนายจ้างแจ้งว่าเป็นการเลิกจ้างตามมาตรา 78 (2) ให้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงจากผู้ประกันตน นายจ้าง และบุคคลที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเอกสาร ที่สามารถให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวได้

หมายเหตุ - มาตรา 78 ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานต่อเมื่อผู้ประกันตนได้จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่าหกเดือนและต้องอยู่ภายในระยะเวลาสิบห้าเดือนก่อนการว่างงานและจะต้องเป็นผู้ที่อยู่ในเงื่อนไข ดังต่อไปนี้

(1) เป็นผู้มีความสามารถในการทำงาน พร้อมที่จะทำงานที่เหมาะสมตามที่จัดหาให้หรือต้องไม่ปฏิเสธการฝึกงานและได้ขึ้นทะเบียนไว้ที่สำนักจัดหางานของรัฐ โดยต้องไปรายงานตัวไม่น้อยกว่าเดือนละหนึ่งครั้ง

(2) การที่ผู้ประกันตนว่างงานต้องมิใช่ถูกเลิกจ้างเนื่องจากทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างหรือจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายหรือฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายในกรณีร้ายแรง หรือละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาเจ็ดวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงหรือได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ



ที่มา : ราชกิจจานุเบกษา 29 มกราคม 2564



31/Jan/2021

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา