ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

19 สค. 64 เป็นต้นไป บังคับใช้ระเบียบกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างฉบับใหม่ อำนวยความสะดวกให้ลูกจ้างใช้สิทธิรับเงินสงเคราะห์ได้รวดเร็วขึ้น

กระทรวงแรงงานเผยราชกิจจานุเบกษาประกาศเผยแพร่ ระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์ อัตราเงินที่จะจ่ายและระยะเวลาการจ่าย (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2564 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 19 ส.ค.2564 เป็นต้นไป อำนวยความสะดวกให้ลูกจ้างใช้สิทธิรับเงินสงเคราะห์ได้รวดเร็วขึ้น 


นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย รวมทั้งส่งผลกระทบต่อลูกจ้างที่ได้รับ ความเดือดร้อนจากการเลิกจ้าง และอาจไม่ได้รับการชดเชยตามกฎหมาย กรณีที่ลูกจ้างได้ยื่นเรื่องขอใช้สิทธิรับเงินช่วยเหลือจากเงินกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ซึ่งติดระเบียบที่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่ใช้ระยะเวลานาน 


ดังนั้นเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว กระทรวงแรงงานจึงได้ดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์ อัตราเงินที่จะจ่ายและระยะเวลาการจ่าย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2564 เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการพิจารณาคำขอรับเงินสงเคราะห์จากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง 


ซึ่งเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2564 ราชกิจจานุเบกษา ได้ประกาศระเบียบดังกล่าวแล้ว โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา คือมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 19 ส.ค. 2564 เป็นต้นไป 


การแก้ไขระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างครั้งนี้ ประเด็นสำคัญคือให้ลูกจ้างได้รับการบรรเทาความเดือดร้อนได้อย่างรวดเร็ว สามารถเข้าถึงสิทธิการขอรับเงินสงเคราะห์อย่างทั่วถึง


นางโสภา เกียรตินิรชา โฆษกกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวเพิ่มเติมว่า ระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างฉบับใหม่นี้ มีประเด็นสำคัญ ได้แก่ 


กรณีนายจ้างนำคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานไปยื่นอุทธรณ์ต่อศาลแรงงานจะต้องรอคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเป็นที่สุด ลูกจ้างจึงมีสิทธิขอรับเงินสงเคราะห์จากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง 


ซึ่งได้แก้ไขระเบียบดังกล่าวเป็นลูกจ้างสามารถยื่นขอรับเงินสงเคราะห์ โดยไม่ต้องรอคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเป็นที่สุด 


หรือนายจ้างเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป โดยพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยดังกล่าว แม้คำสั่งนั้นไม่เป็นที่สุด และขยายระยะเวลาการยื่นขอรับเงินสงเคราะห์ 


เดิมลูกจ้างต้องยื่นขอรับเงินสงเคราะห์ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเป็นที่สุด แก้ไขระเบียบเป็น ลูกจ้างสามารถยื่นขอรับเงินสงเคราะห์ภายใน 2 ปี นับแต่วันที่คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเป็นที่สุด 


นอกจากนี้การรักษาสิทธิในการยื่นคำขอรับเงินสงเคราะห์ เดิมลูกจ้างจะต้องมารับเงินสงเคราะห์ภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่ทราบผลการพิจารณาจ่ายเงินสงเคราะห์ หากไม่มารับเงินภายใน 60 วัน สิทธิการรับเงินสงเคราะห์นั้นเป็นอันระงับ 


แก้ไขระเบียบดังกล่าวเป็นกรณีลูกจ้างไม่สามารถมารับเงินภายใน 60 วัน ลูกจ้างสามารถยื่นคำขอรับเงินสงเคราะห์ใหม่ได้ภายใน 1 ปี


หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการขอรับเงินกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง สามารถติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองจังหวัดทุกจังหวัด หรือสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครทุกพื้นที่ หรือโทรศัพท์สายด่วน 1546 หรือ 1506 กด 3

 



26/Sep/2021

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา