ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

ปมสำคัญ!!"ศาลรธน."ชี้ภาพถ่ายเอกสารเด้ง"ถวิล" มัด"ยิ่งลักษณ์"โอนย้ายเพื่อเครือญาติ

เมื่อเวลา 12.00 น. วันที่ 7 พฤษภาคม 2557 ที่ห้องพิจารณาคดี  สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ศูนย์ราชการฯ ถนนแจ้งวัฒนะ นายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ อ่านคำวินิจฉัยสถานภาพความเป็นรัฐมนตรีของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กรณีโยกย้าย นายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นคง มิชอบ ตอนหนึ่งว่า คดีมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยต่อไปว่า การกระทำของผู้ถูกร้องถูกต้องด้วยรัฐธรรมนูญมาตรา 268 ประกอบมาตรา 266 (2) หรือ (3) อันจะทำให้ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 182 วรรคหนึ่ง (7) หรือไม่ 

 

 

พิจารณา แล้วเห็นว่ารัฐธรรมนูญมาตรา 268 ประกอบมาตรา 266(2) และ (3) เป็นบทบัญญัติหมวดที่ 12 การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ส่วนที่สอง การกระทำที่ขัดกันแห่งผลประโยชน์ โดยบัญญัติว่านายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีจะต้องไม่ใช้สถานะหรือตำแหน่งหรือ สถานะเข้าไปก้าวก่ายหรือแทรกแซงเพื่อประโยชน์ของตนเองของผู้อื่นหรือของพรรค การเมืองไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือว่าทางอ้อมในการบรรจุตั้งแต่ง โยกย้าย โอน เลื่อนตำแหน่งและเลื่อนเงินเดือนของข้าราการที่มีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ และมิใช่ข้าราชการการเมือง พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ กิจการที่รัฐถือหุ้นใหญ่ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือการให้ข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำและมิใช่ข้าราชการการ เมือง พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ กิจการที่รัฐถือหุ้นใหญ่ หรือราชการส่วนท้องถิ่น พ้นจากตำแหน่ง

 

 เว้น แต่เป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ในการบริหารราชการตามนโยบายที่แถลงไว้ต่อ รัฐสภาหรือตามที่กฎหมายบัญญัติซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวมีเจตนารมย์ที่เป็นหลัก ประกันแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐจากการถูกแทรกแซงทางการเมืองเว้นแต่เป็นการกระทำ ตามอำนาจหน้าที่เท่านั้นหลักการตามรัฐธรรมนูญมาตรา266(2) และ (3) นี้ มาตรา 68 บัญญัติให้นำไปใช้บังคับแก่นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีในฐานะฝ่ายบริหารด้วย

 

หลักการตามมาตรา266 บัญญัติห้ามฝ่ายนิติบัญญัติเข้าไปก้าวก่ายแทรกแซงการทำหน้าที่ บรรจุ แต่งตั้ง โยกย้าย โอน เลื่อนตำแหน่ง เลื่อนเงินเดือนและการพ้นจากตำแหน่งข้าราชการประจำ ส่วนตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีถือว่าเป็นฝ่ายบริหารแต่ก็ถูกห้ามการใช้อำนาจในทำนองเดียวกัน 

 

 ทั้ง นี้เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเป็นไปโดยชอบ ป้องกันไม่ให้เกิดการกระทำที่ขัดกันแห่งผลประโยชน์ อันจะก่อให้เกิดการขาดจริยธรรมที่ยากต่อการตัดสินใจซึ่งต้องเลือกอย่างใด อย่างหนึ่ง ระหว่างประโยชน์ส่วนตัวกับประโยชน์สาธารณะ เมื่อผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนึกถึงแต่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าประโยชน์ สาธารณะ การขัดกันแห่งผลประโยชน์ส่วนตัวกับประโยชน์สาธารณะจากการให้อำนาจหน้าที่ใน ตำแหน่งหน้าที่จึงขัดกันในลักษณะที่ประโยชน์ส่วนตัวจะได้มาจากการเสียไปซึ่ง ประโยชน์สาธารณะ

 

อย่าง ไรก็ดีมาตรา268ก็ได้บัญญัติข้อยกเว้นไว้หากเป็นการทำตามอำนาจหน้าที่ตามการ บริหารราชการตามนดยบายที่แถลงไว้ต่อสภาหรือตามที่กฎหมายบัญญัติเหตุที่มาตรา 268 มีข้อยกเว้นให้แก่นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเช่นนี้ก้เนื่องมาจากผู้ดำรง ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีมีหน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องกำหนดนโยบายและทิศ ทางในการบริหารประเทศให้เป็นผลดีที่สุดต่อการบริหารประเทศและประชาชนจึงจำ เป็นต้องยกเว้นให้มีการบังคับบัญชาและมีอำนาจสั่งบรรจุแต่งตั้งโยกย้ายโอน เลื่อนตำแหน่ง เลื่อนเงินเดือนและการให้พ้นจากตำแหน่งของผู้ปฏิบัติหน้าที่ในระบบราชการได้ จึงไม่ถือเป็นการก้าวก่ายหรือแทรกแซงข้าราการ พนักงานและลูกจ้างในสังกัดแต่อย่างใด

 

บท บัญญัติสองมาตราดังกล่าวข้างต้นได้บัญญัตไว้ในรัฐธรรมนูญในส่วนที่จะขัดกัน แห่งผลประโยชน์ซึ่งการขัดกันแห่งผลประโยชน์ในนานาอารยะประเทศนั้นถือเป็น เรื่องที่ผิดกฎหมายและจริยธรรมขัดกับหลักความเป็นธรรมและระบบการจัดการที่ดี ดังนั้นการกระทำของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีจึงต้องกระทำการตามหลักของความ ชอบด้วยกฎหมาย เสริมด้วยหลักของความสุจริต โดยการใช้อำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ในการบริหารประเทศเพื่อ ประโยชน์สาธารณะและประโยชน์ของประชาชนทุกภาคส่วนอย่างเป็นรูปธรรมซึ่งการ แต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการประจำถือเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารทรัพยากรบุคคล ของหน่วยงานรัฐ โดยเริ่มต้นจากการสรรหา คัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมเข้ามารับการแต่งตั้งโยกย้าย หากการแต่งตั้ง โยกย้ายทรัพยากรบุคคลของรัฐขาดประสิทธิภาพก็ย่อมส่งผลกระทบต่อการบริหารงาน ด้านอื่นทั้งหมด นอกจากนี้การแต่งตั้ง โยกย้ายบุคคลต่างๆ ต้องสอดคล้องกับระบบธรรมาภิบาลด้วย

 

กล่าวคือมีกรอบให้การพิจารณาแต่งตั้ง โยกย้าย ข้าราชการ โดยใช้หลักความรู้ ความสามารถ ประสิทธิภาพ ของการปฏิบัติงานของตำแหน่งนั้นเป็นสำคัญ และยึดหลักความโปร่งใส ตรวจสอบได้ โดยมีขั้นตอนการพิจารณาชัดเจน เพื่อสร้างความสมดุลของความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างข้าราชการการเมือง กับ ข้าราชการประจำ  โดยยึดหลักคุณธรรม เป็นหลักเกณฑ์ในการโยกย้าย แต่งตั้งข้าราชการ ตามระบบธรรมาภิบาลในรัฐธรรมนูญมาตรา 279 และเป็นไปตามหลักความรับผิดชอบในการกระทำและต้องสอดคล้องกับระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ที่กำหนดในมาตรา 42 วรรคหนึ่ง (2) (3) (5) ข้าราชการจัดระเบียบข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัติดังกล่าวต้องคำนึงถึงระบบคุณธรรม ในการบริหารทรัพยากรบุคคล ต้องคำนึงถึงผลสัมฤทธิ์ ประสิทธิภาพ ขององค์กรและลักษณะของงาน โดยไม่เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม การพิจารณาความดีความชอบ การเลื่อนตำแหน่งและการให้ประโยชน์อื่นแก่ทางข้าราชการต้องเป็นไปอย่างเป็นธรรม โดยพิจารณาจากผลงาน ศักยภาพและความประพฤติ จะนำความคิดทางการเมืองหรือสังกัดพรรคการเมืองมาประกอบการพิจารณามิได้ ประกอบกับการบริหารทรัพยากรบุคคลต้องมีความเป็นกลางทางการเมืองด้วยเช่นกัน

 

นอก จากนี้รัฐธรรมนูญยังบัญญัติจำกัดอำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐทุกระดับต้องเป็นไป ตามหลักนิติธรรมไว้ในมาตรา3วรรคสองว่าการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภาคณะ รัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญและหน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรมด้วย จะกระทำไปตามความอำเภอใจโดยมีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือมีวาระซ่อนเร้น ถือเป็นการกระทำที่สุจริตหาได้ไม่

 

จากบทบัญญัติและหลักการของกฎหมายดังกล่าวข้างต้นมีประเด็นที่ต้องพิจารณาว่าการดำเนินการจนมีผลให้นายถวิลเปลี่ยนศรี ต้องพ้นจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ และไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ สำนักนายกรัฐมนตรีและมีการแต่งตั้งโยกย้ายให้ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี จากตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ไปดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ แทนนายถวิล เปลี่ยนศรี จากนั้นจึงมีการแต่งตั้ง พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ขึ้นดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการตำรจแห่งชาติ แทน ถือเป็นการใช้สถานะและตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องเข้าไปก้าวก่ายและแทรกแซงในเรื่องการแต่งตั้ง โยกย้าย โอนและการให้พ้นจากตำแหน่งของเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (นักบริหารระดับสูง) สำนักนายกรัฐมนตรีและสั่งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ฝ่ายข้าราชการประจำ (นักบริหารระดับสูง) ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 266 วรรคหนึ่ง (2) และ (3) หรือไม่

 

“ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คำเบิกความด้วยวาจาและบันทึกคำยืนยันข้อเท็จจริงเป็นหนังสือประกอบกันแล้วเห็นว่า ผู้ถูกร้องได้เข้าไปมีส่วนกระทำการเกี่ยวข้องให้นายถวิล เปลี่ยนศรี พ้นจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ และไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ฝ่ายข้าราชการประจำ สำนักนายกรัฐมนตรี โดยมีกระบวนการเริ่มต้นจากสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้มีหนังสือลับมาก ที่ นล.0401.2/2418 ลงวันที่ 4 กันยายน2554 ถึงรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (น.ส.ฤษณา สีหรักษ์) แจ้งว่า เห็นควรให้การเห็นชอบและยืนยันยอมรับโอนนายถวิล เปลี่ยนศรี และดำเนินการขอทาบทามขอรับความเห็นชอบจากรองนายกรัฐมนตรี (พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ) ในฐานะรัฐมนตรีเจ้าสังกัดของหน่วยงานที่นายถวิล เปลี่ยนศรี สังกัดอยู่ และก่อนที่น.ส.กฤษณา สีหรักษ์ จะพิจารณาเห็นชอบเข้ารับการโอนในวันที่ 5 กันยายน 2554 

 

 

สำนัก เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้มีหนังสือ ลับมาก ที่ นล.0401.2/8303 ลงวันที่ 4กันยายน 2554 ถึงรองนายกรัฐมนตรี (พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ) แจ้งว่า รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (น.ส.กฤษณา สีหรักษ์) ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบและได้มีความประสงค์ที่จะรับโอนนายถวิล เปลี่ยนศรี มาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ฝ่ายข้าราชการประจำ ตำแหน่งเลขที่ 6 สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งปรากฎหลักฐานการให้ความเห็นชอบการรับโอนนายถวิล เปลี่ยนศรี ของรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (น.ส.กฤษณา สีหรักษ์) ในวันที่ 5 กันยายน 2554 ไม่ตรงกับข้อความที่เลขาธิการนายกรัฐมนตรีทำเสนอต่อรองนายกรัฐมนตรีพล.ต.อ. โกวิท วัฒนะ ตามหนังสือ ลับมาก ที่ นล.              0401.2/8303 ลงวันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน 2554 ระบุว่า รัฐมนตรีกฤษณา สีหรักษ์ ได้ให้ความเห็นชอบและยินยอมการรับโอนแล้ว ซึ่งไม่เป็นไปตามการปฏิบัติราชการปกติ จึงเป็นการแจ้งข้อความที่ไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงหรือมีลักษณะการปกปิด ความจริงที่ควรแจ้งให้อีกฝ่ายทราบเพื่อพิจารณายินยอมให้รับโอนแม้ว่าต่อมาใน วันที่5กันยายน2554รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (น.ส.กฤษณา ) จะพิจารณาให้ความเห็นชอบก็ตาม”

 

ประกอบกับข้อเท็จจริงเป็นที่รู้กันทั่วไปว่าในวันที่4กันยายน2554 เป็นวันอาทิตย์ ซึ่งเป็นวันหยุดทำการประจำสัปดาห์ แต่การที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้มีหนังสือถึง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (น.ส.กฤษณา) และรองนายกรัฐมนตรี (พล.ต.อ.โกวิท) เพื่อขอความเห็นชอบและยินยอมให้โอนนายถวิล เปลี่ยนศรี โดยปรากฎข้อเท็จจริงต่อมาว่า รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้มีหนังสือ ลับมากที่ นล.0401.2/8302 ลงวันที่ 5 กันยายน 2554 ถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ขอให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเป็นวาระทราบ จร ในวันที่ 6 กันยายน 2554 โดยผู้ถูกร้องเป็นผู้อนุมัติให้นำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีตามที่เสนอ

 

ต่อ มาสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้มีหนังสือลับมาก ที่ นล.0508/18614 ลงวันที่ 6 กันยายน 2554 แจ้งว่าคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2554 อนุมัติตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอและสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้ขอให้สำนักราชเลขาธิการนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงกรุณาโปรดเกล้าฯให้นาย ถวิลเปลี่ยนศรีพ้นจากตำแหน่งเดิมและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใหม่ต่อไปและผู้ ถูกร้องได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 152/2554 ลงวันที่ 7กันยายน 2554 ให้นายถวิล เปลี่ยนศรี ไปปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ได้รับเงินเดือนทางสังกัดเดิมไปพลางก่อน โดยสำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้มีหนังสือด่วนที่สุดที่ นล.0401.2 /8402 ลงวันที่ 7 กันยายน 2554 แจ้งคำสั่งดังกล่าวให้นายถวิล เปลี่ยนศรี ทราบนั้น

 

“เห็นว่าเป็นการดำเนินการในการรับโอน ขอทาบทาม ขอรับความเห็นชอบและขั้นตอนการนำเสนอและคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ รวมทั้งที่ผู้ถูกร้องได้มีคำสั่งให้นายถวิล เปลี่ยนศรี ไปปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ใช้ระยะเวลาเพียง 4 วัน แสดงให้เห็นว่าเป็นการดำเนินการอย่างเร่งรีบ ผิดสังเกต เป็นการกระทำโดยรวบรัด ปราศจากเหตุผลโดยสมควรที่จะต้องดำเนินการอย่างรวดเร็ว ทั้งยังปรากฎการให้ข้อมูลอันเป็นเท็จ ให้เห็นเป็นพิรุธ โดยปรากฎว่าภาพถ่ายเอกสารราชการสำคัญ ได้แก่ บันทึกข้อความของสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ที่ นล.4041.2 / 8303 ที่ศาลมีคำสั่งเรียกมาจากสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ระบุวันที่ที่ทำหนังสือดังกล่าวเป็นวันที่ 5กันยายน 2554 แต่ภาพถ่ายบันทึกข้อความฉบับเดียวกันที่ได้มีจากนายถวิล เปลี่ยนศรี ก่อนหน้านั้น กลับระบุวันที่ 4กันยายน 2554 ซึ่งแสดงว่าภาพถ่ายเอกสาร 2 ฉบับนี้ ต้องมีการแก้ไขวันที่ที่ทำเอกสารให้ผิดเพี้ยนไปจากความจริง จากบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เพื่อปกปิดความจริงที่มีความขัดแย้งกันอยู่ในกระบวนการขอความเห็นชอบนี้ กรณีนี้จึงส่อแสดงให้เห็นความไม่เป็นปกติของการดำเนินการของการพิรุธอย่างโจ่งแจ้ง จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย”

 

เมื่อการกระทำดังกล่าวเป็นการเอื้อประโยชน์พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ซึ่งเป็นญาติของผู้ถูกร้องมีโอกาสขึ้นดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ การกระทำของผู้ถูกร้องจึงมีลักษณะเป็นการใช้อำนาจในตำแหน่ง โดยมีประโยชน์ทับซ้อนและมีวาระซ่อนเร้น ถือได้ว่าเป็นการกระทำที่ไม่สุจริต การดำเนินการดังกล่าวจึงไม่ถูกต้องด้วยหลักนิติธรรม ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 3 วรรคสอง อีกประการหนึ่งด้วย

 

เมื่อ พิจารณาเหตุผลที่แท้จริงในการโอนย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี ซึ่งผู้ถูกร้องอ้างว่า ผู้ถูกร้องในฐานะหัวหน้ารัฐบาลได้แถลงนโยบายในการบริหารประเทศไว้ต่อรัฐสภา โดยนโยบายความมั่นคงของรัฐถือเป็นนโยบายเร่งด่วนที่ผู้ถูกร้องแถลงไว้ต่อ รัฐสภาว่าจะต้องเร่งดำเนินการภายในปีแรกของการดำเนินการของการบริหารราชการ แผ่นดินจึงเป็นหน้าที่ของผู้ถูกร้องในการกำหนดยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมให้บรรลุ เป้าหมายของนโยบายต่างๆตามที่แถลงต่อรัฐสภาดังนั้นผุ้ถูกร้องจึงมีความต้อง การบุคคลกรที่มีความรู้ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ยาวนาน ในการปฏิบัติราชการเกี่ยวกับความมั่นคง เพื่อมาช่วยปฏิบัติราชการในนโยบาย ให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ ของงานด้านความมั่นคงของประเทศและเห็นว่านายถวิล เปลี่ยนศรี ซึ่งดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นควแห่งชาติ มีคุณสมบัติครบถ้วนตามความต้องการ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี จึงมีหนังสือขอรับโอน ขอทาบทาม และขอรับความเห็นชอบโอนนายถวิล เปลี่ยนศรี มาดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ฝ่ายข้าราชการประจำ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีนั้น

 

พิจารณา แล้วเห็นว่า ตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ มีบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบกว่าตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี และเมื่อพิจารณาภาพรวมการใช้อำนาจทั้งทางบริหารและบังคับบัญชาแล้ว ตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ นอกจากต้องกำกับดูแลและบริหารราชการในหน่วยงานที่รับผิดชอบแล้วยังสามารถให้ คำปรึกษาและเสนอแนะความเห็นแก้ผู้ถูกร้องได้โดยไม่จำเป็นต้องแต่งตั้งนาย ถวิลเปลี่ยนศรีไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีแต่อย่างใดส่วนตำแหน่งที่ ปรึกษานายกรัฐมนตรีนั้น แม้จะมีหน้าที่ให้คำปรึกษาและเสนอแนะความเห็นต่อผู้ถูกร้องก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาถึงสถานการณ์ปฏิบัติงานจริงแล้ว ไม่สามารถใช้อำนาจบริหาร รวมถึงการบังคับบัญชาข้าราชการได้ดังเช่นการดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาความ มั่นคงแห่งชาติ เพราะตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติเป็นตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการ มีอำนาจ หน้าที่ อย่างกว้างขวาง ทั้งตามกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และกฎหมายว่าด้วยสภาความมั่นคงแห่งชาติ แต่ตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ฝ่ายข้าราชการประจำนั้น มีหน้าที่เพียงใหคำปรึกษาลและเสนอแนะต่อผู้บังคับบัญชาคือรองนายกรัฐมนตรี พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ ตามที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น

 

ประกอบกับข้อเท็จจริงปรากฎว่า เลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้มีหนังสือที่ สบก(.กบก) /2554 ลงวันที่ 7 กันยายน 2554 ถึงผู้ร้องความว่า สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี พิจารณาแล้วเห็นควรให้ผู้ฟ้องคดีอยู่ในบังคับบัญชารองนายกรัฐมนตรี (พล.ต.อ.โกวิท) และมอบหมายให้ปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานด้านคยวามมั่นคงของประเทศ ในการประสานการปฏิบัติตามนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติกับหน่วยงานของรัฐ เอกชน สถาบันวิชาการ และสถาบันการศึกษา ให้สอดคล้องกันและมีบูรณาการและเสนอแนะ จัดทำนโยบาย อำนวยการ พัฒนาประสานการจัดการ และติดตามประเมินผลด้านการข่าวกรอง การต่อต้านข่าวกรอง การรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ รวมทั้งเสนอแนะแนวทางในการพัฒนานโยบาย รวมทั้งปฏิบัติราชการอื่นๆตามที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งผู้ถูกร้องรับทราบ เห็นชอบ ให้ดำเนินการต่อไปตามที่เสนอ และตามคำสั่งสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี  16/2555 ลงวันที่ 6 กันยายน 2555 เรื่องมอบหมายให้ที่ปรึกษานยกรัฐมนตรี ฝ่ายข้าราชการประจำรับผิดชอบ ปฏิบัติราชการ ให้นายถวิล เปลี่ยนศรี รับผิดชอบการติดตามนโยบายของรัฐบาลที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา

 

“เห็นได้ว่า เหตุผลตามที่อ้างของผู้ถูกร้อง ยังไม่เพียงพอที่จะรับฟังได้ว่า การออกคำสั่งให้นายถวิล เปลี่ยนศรี ไปปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นไปเพื่อประโยชน์แห่งราชการ ตามนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา ประกอบกับกระบวนการโอนนายถวิล เปลี่ยนศรี ก็ดำเนินการอย่างเร่งรีบ ไม่เป็นไปตามการปฏิบัติราชการตามปกติ จึงมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า ปัจจัยในเป็นที่มาของการโอนนายถวิล เปลี่ยนศรี จากการดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ฝ่ายข้าราชการประจำ คือ ความประสงค์ให้ตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ว่างลง เพื่อโอนย้ายผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ที่พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ดำรงอยู่ในขณะนั้นมาดำรงตำแหน่งแทนอันจะทำให้ตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติว่างลง เปิดโอกาสให้แต่งตั้งเครือญาติผู้ถูกร้องให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำแหน่งแห่งชาติแทน และการแต่งตั้งผู้บัญชการตำรวจแห่งชาติตามพระราชบัญญัติสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 2547 มาตรา 53 (1) จะเริ่มจากนายกรัฐมนตรีคัดเลือกข้าราชการผู้มียศพลตำรวจเอกเพื่อเสนอ กตช.เพื่อเห็นชอบ"

 

มติชน 7 พฤษภาคม 2557



09/May/2014

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา