ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

สนช.ผ่านวาระ 3 พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.....

เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2558 ที่รัฐสภา การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีนายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธาน สนช.เป็นประธานในการประชุม ได้มีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. .... เป็นวาระที่ 2 และ 3 ที่คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว โดยมี พล.อ.ธีรชัย นาควานิช เป็นประธานกรรมาธิการวิสามัญ

 

ที่ประชุมฯลงมติในวาระ 3เห็นชอบด้วยคะแนนเสียง 158 ต่อ 0 งดออกเสียง 4 ที่จะให้นำร่าง พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. .... ประกาศใช้เป็นกฎหมายเพื่อบังคับใช้ต่อไป

 


สำหรับเนื้อหาสาระคือกำหนดสิทธิการชุมนุมสาธารณะให้เกิดความชัดเจน

 

โดยมาตรา 10 ผู้ประสงค์ที่จะจัดการชุมนุมในสาธารณะ ให้แจ้งการชุมนุมต่อหัวหน้าสถานีตำรวจในพื้นที่อย่างน้อยก่อนการประชุมไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง พร้อมต้องระบุวัตถุประสงค์ และวันเวลา และสถานที่ชุมนุมสาธารณะตามวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

 

มาตรา 7 ห้ามจัดการชุมนุมสาธารณะในรัศมี 150 เมตร จากพระบรมมหาราชวัง พระราชวัง วังของพระรัชทายาท หรือของพระบวรวงศ์ตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้าขึ้นไป พระราชนิเวศน์ พระตำหนัก หรือจากที่ซึ่งพระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท พระบรมวงศ์ตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้าขึ้นไป หรือ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ หรือ สถานที่พำนักของพระราชอาคันตุกะ
         

 

นอกจากการจัดการชุมนุมสาธารณะภายในพื้นที่ของรัฐสภา ทำเนียบรัฐบาล และศาลจะกระทำมิได้ เว้นแต่มีการจัดพื้นที่สำหรับการชุมนุมสาธารณะไว้ให้ มาตรา 8

 

การชุมนุมสาธารณะต้องไม่กีดขวางทางเข้าออก หรือรบกวนสถานที่ทำการหน่วยงานรัฐ ท่าอากาศยาน ท่าเรือ สถานีรถไฟ หรือสถานีขนส่งสาธารณะ โรงพยาบาล สถานทูต หรือ กงสุลของรัฐต่างประเทศ หรือ สถานที่ทำการองค์การระหว่างประเทศ

 

ทั้งนี้ ในมาตรา 11 หากผู้รับแจ้งหรือหัวหน้าสถานีตำรวจไม่อนุญาตให้ชุมนุมสาธารณะ ผู้จัดชุมนุมสามารถอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือกว่าผู้รับแจ้งหรือหัวหน้าสถานีตำรวจ และให้ผู้รับอุทธรณ์วินิจฉัยและแจ้งผลภายใน 24 ชั่วโมง และถือเป็นที่สิ้นสุด
         


อีกทั้งในระหว่างมีคำสั่งห้ามชุมนุม การอุทธรณ์ และพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ ให้งดการชุมนุมสาธารณะ

 

ขณะที่มาตรา 15 ผู้จัดการชุมนุมมีหน้าที่ คือ ดูแลการชุมนุมเป็นไปด้วยความสงบและปราศจากอาวุธ และต้องให้ความร่วมมือแก่เจ้าหน้าที่ดูแลการชุมนุมสาธารณะอีกด้วย

 

และผู้ชุมนุมต้องไม่ปราศรัยโดยใช้เครื่องขยายเสียงในระหว่างเวลา 24.00 - 06.00 น.ของวันรุ่งขึ้น

 

และมาตรา 16 ผู้ชุมนุมต้องมีหน้าที่ ไม่ก่อความเดือดร้อน และไม่ปิดบังอำพรางใบหน้า โดยมีเจตนาปิดบังตัวตน

 

ไม่เดินขบวนหรือเคลื่อนย้ายการชุมนุมระหว่างเวลา 18.00 - 06.00 น.ของวันรุ่งขึ้น

 

ในกรณีผู้ชุมนุมไม่เลิกการชุมนุมตามกำหนดหรือฝาฝืนกฎหมาย มาตรา 21 ให้ เจ้าพนักงาน ร้องศาลเพื่อให้มีคำสั่งเลิกชุมนุมต่อไป

 

ทั้งนี้ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 7 และ 8 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือหรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำและปรับ

 

ฐานเศรษฐกิจ 1 พฤษภาคม 2558



04/May/2015

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา