ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

สนช.มติเอกฉันท์ผ่านวาระ 3 พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

สนช.มีมติเอกฉันท์ 184 เสียง เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพในวาระสามแล้ว โดยสาระสำคัญ คือ ให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนตามอัตราที่กำหนด ไม่ต่ำกว่า 2-15 % และให้ลูกจ้างหรือนายจ้างหยุดส่งเงินได้ตามสภาพเศรษฐกิจ

 

เมื่อวันที่ 14 พ.ค. 58 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีมติเห็นชอบผ่านร่างพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ในวาระสามด้วยคะแนนเสียงเอกฉันท์ 184 เสียง โดยในการพิจารณาเรื่องนี้ไม่มีสมาชิกขออภิปรายจึงทำให้ผ่านเป็นกฎหมายเพียง 15 นาที

 

สาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ คือให้ลูกจ้างจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนโดยให้นายจ้างหักจากค่าจ้าง และให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนตามอัตราที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุน ซึ่งต้องไม่ต่ำกว่า 2-15 เปอร์เซ็นต์ ของค่าจ้าง ขณะเดียวกันให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีอำนาจประกาศให้ลูกจ้างหรือนายจ้าง หยุดหรือเลื่อนการส่งเงินเข้ากองทุนได้ ซึ่งจะทำให้เกิดความเหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน

 

ส่วนเนื้อหาของกฎหมายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพฉบับนี้ ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมจากกฎหมาย กองทุนสำรองเลี้ยงชีพปี 2530 คือ ให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนในอัตราไม่ต่ำกว่าเงินสะสมของ ลูกจ้าง เพื่อเปิดโอกาสให้ลูกจ้างจ่ายเงินสะสมในอัตราที่สูงขึ้นได้ รวมทั้งให้ลูกจ้างที่สิ้นสภาพเพราะออกจากงาน เมื่อมีอายุไม่ต่ำกว่า 50 ปี สามารถขอเงินกองทุนเลี้ยงชีพเป็นงวดได้.

 

โดย ไทยรัฐออนไลน์ 14 พ.ค. 2558



16/May/2015

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา