ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

พม.ร่วมกับสภาสตรีฯ จัดสัมมนา “เดินหน้า แลหลัง 6 ปี กับการบังคับใช้ กม.ความรุนแรงในครอบครัว ยุติได้จริงหรือ”

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกับ สภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ จัดสัมมนาเรื่อง “เดินหน้า แลหลัง 6 ปี กับการบังคับใช้กฎหมายความรุนแรงในครอบครัว ยุติได้จริงหรือ” เพื่อสร้างความตระหนัก กระตุ้น ปลูกจิตสำนึก และเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือ การทำงาน ร่วมกันในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว

 

นางปวีณา หงสกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า ปัญหาความรุนแรง ต่อเด็ก สตรี และครอบครัวนับเป็นปัญหาสำคัญทางสังคมที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาศักยภาพเด็กและสตรี ส่งผลให้ครอบครัวต้องแบกรับภาระที่ยาวนาน ทั้งการดำเนินคดี การรักษาพยาบาล การบำบัดฟื้นฟู ทั้งผู้กระทำ และผู้ถูกกระทำ รวมถึงสมาชิกในครอบครัว ทำให้รัฐต้องสูญเสียงบประมาณจำนวนมากในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวและเป็นอุปสรรคในการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ลดลง

 

พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 มีผลบังคับใช้ในวันที่ 12พฤศจิกายน 2550    เป็นเวลา6ปี ซึ่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว เป็นกลไกและเครื่องมือในการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาในครอบครัวเมื่อเกิดความรุนแรงขึ้น โดยการคุ้มครองเยียวยาผู้ถูกกระทำ และผู้กระทำเข้าสู่กระบวนการของกฎหมายที่กำหนดไว้ และกำหนดให้ทุกภาคส่วนประสานพลังกัน ทั้งเจ้าหน้าที่รัฐ ผู้เกี่ยวข้อง และภาคประชาชน ร่วมกันแก้ไขปัญหา

 

แต่สถานการณ์ความรุนแรงในปัจจุบันยังไม่ลดน้อย กลับมีแนวโน้มเพิ่มจำนวนมากขึ้น ซึ่งประเทศไทยติดอันดับ 2ใน 75ประเทศ ที่เชื่อว่าความรุนแรงต่อภรรยาเป็นสิ่งที่รับได้ ข้อมูลจากผลการวิจัยของกองทุนสหประชาชาติเพื่อยุติความรุนแรงต่อสตรี (UN Women) ปัจจัยหนึ่งเกิดจากทัศนคติดั้งเดิม กฎหมายคลุมเครือไม่ชัดเจน ก่อให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติในการบังคับใช้กฎหมายของบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม และผู้ถูกกระทำขาดความรู้ความเข้าใจ ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิและกระบวนการตามที่กฎหมายกำหนด กอปรกับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ได้แก่ ตำรวจ เจ้าหน้าที่ภาครัฐ และผู้เกี่ยวข้อง ยังขาดความรู้ความเข้าใจแนวทางปฏิบัติต่างๆ ซึ่งกฎหมายกำหนดไว้ไม่ชัดเจน จึงนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความรุนแรงไม่ได้อย่างจริงจัง

 

นางปวีณา กล่าวเพิ่มเติมว่า เนื่องจากวันที่ 25พฤศจิกายน ของทุกปีเป็น “วันยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี” กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ และสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้ร่วมกันจัดโครงการสัมมนาเรื่อง “เดินหน้า แลหลัง 6 ปี กับการบังคับใช้กฎหมายความรุนแรงในครอบครัว ยุติได้จริงหรือ”

 

เพื่อทบทวนสภาวการณ์ความรุนแรง กฎหมายที่เกี่ยวข้องและระดมความคิด หาแนวทางและวิธีการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม สร้างความตระหนัก ปลูกจิตสำนึก ร่วมรณรงค์รวมพลังเป็นเครือข่าย ร่วมใจต่อต้านและขจัดภัยความรุนแรงทุกรูปแบบให้ลดน้อยลง เพื่อป้องกันคุ้มครองสตรีและครอบครัวปราศจากการกระทำความรุนแรง และส่งเสริมให้สถาบันครอบครัวมีความเข้มแข็ง สังคมสงบสุข เกิดการพัฒนาประเทศอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ทั้งช่วยลดภาระของภาครัฐในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอีกด้วย

 

 

ฐานเศรษฐกิจ 18 พฤศจิกายน 2013

 



18/Nov/2013

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา