ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

พ.ร.บ.ประกันตนใหม่ เพิ่มสิทธิลูกจ้างอีกเพียบ มีผลบังคับใช้ 20 ตุลาคมนี้

 พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลมีนโยบายพัฒนาสวัสดิการและคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงาน จึงได้ปรับปรุงกฎหมายประกันสังคมให้มีสิทธิประโยชน์ที่ครอบคลุมสำหรับผู้ประกันตนมากยิ่งขึ้น และกฎหมายดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ประกาศเป็นพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกันสังคม (ฉบับที่ 4) 2558 ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่ 22 มิถุนายนที่ผ่านมา โดยจะมีผลบังคับใช้ 120 วัน นับแต่วันที่ประกาศ หรือเริ่มตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคมนี้
       
สำหรับสิทธิประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นตาม พ.ร.บ.ฉบับใหม่นั้น ครอบคลุมในหลายกรณี ทั้งกรณีที่ผู้ประกันตนเจ็บป่วย ตาย ทุพพลภาพ ว่างงาน คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร และที่สำคัญคือ มีการกำหนดมาตรการตรวจสอบเพื่อกำกับดูแลความโปร่งใสและความมีมาตรฐานจากเดิมที่ไม่เคยมีมาก่อน
       
พล.ต.สรรเสริญกล่าวว่า หากผู้ประกันตนประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย จะได้รับเพิ่มค่าส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคและค่าใช้จ่ายเป็นเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ในกรณีได้รับความเสียหายจากการรับบริการทางการแพทย์ โดยที่ปัจจุบันไม่ครอบคลุมในส่วนนี
       
ส่วนผู้ที่เจ็บป่วยเรื้อรังหรือทุพพลภาพและถึงแก่ความตาย จะได้รับเพิ่มสิทธิประโยชน์ แม้ส่งเงินสมทบไม่ครบตามสิทธิ


ส่วนผู้ประกันตนที่ทำให้ตนเองบาดเจ็บ ทุพพลภาพ และตาย หรือสูญเสียสมรรถภาพทางร่างกายไม่ถึงร้อยละ 50 ก็จะได้รับสิทธิประโยชน์ทดแทน จากเดิมไม่ได้รับสิทธิ ขณะที่ผู้ทุพพลภาพก่อนวันที่ 31 มีนาคม 2538 ซึ่งเป็นวันที่สำนักงานประกันสังคมได้แก้ไขกฎหมายเพื่อขยายความคุ้มครองผู้ ทุพพลภาพ ส่งผลให้ผู้ทุพพลภาพ 2 กลุ่มได้รับสิทธิประโยชน์ไม่เท่ากัน คือ กลุ่มหนึ่งได้รับสิทธิประโยชน์เพียง 15 ปี และอีกกลุ่มได้รับตลอดชีวิต ให้ได้รับสิทธิประโยชน์ตลอดชีวิตเท่าเทียมกัน
 

กรณีคลอดบุตร ผู้ประกันตนจะมีสิทธิได้รับประโยชน์ไม่จำกัดจำนวนครั้งๆ ละ 13,000 บาท รวมกับเงินสงเคราะห์การหยุดงาน 90 วัน

ส่วนกรณีสงเคราะห์บุตร สำหรับบุตรแรกเกิดถึง 6 ปี มีสิทธิได้รับคราวละไม่เกิน 3 คน เหมาจ่ายรายเดือนๆ ละ 400 บาท ต่อคน

กรณีว่างงาน เพิ่มความคุ้มครองกรณีนายจ้างหยุดกิจการชั่วคราว เนื่องจากเหตุสุดวิสัย โดยยังไม่มีการเลิกจ้าง เช่น โรงงานถูกน้ำท่วม ขณะที่ปัจจุบันผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับเมื่อถูกเลิกจ้างหรือลาออกเท่านั้น
       
สำหรับเงินสงเคราะห์ผู้เสียชีวิต ถ้าจ่ายเงินสมทบมาอย่างน้อย 36 เดือน แต่ไม่ถึง 120 เดือน ให้จ่ายเงินสงเคราะห์เท่ากับ 50 เปอร์เซ็นต์ ของค่าจ้างรายเดือน คูณด้วย 4 (เท่ากับค่าจ้างประมาณ 2 เดือน) จากเดิมจ่ายแค่ 1.5 เดือน แต่ถ้าผู้ประกันตน จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 120 เดือน ให้จ่าย 50 เปอร์เซ็นต์ ของค่าจ้าง คูณด้วย 12 (เท่ากับค่าจ้างประมาณ 6 เดือน) จากเดิมจ่ายแค่ 5 เดือน
       
“พ.ร.บ.ฉบับใหม่ได้กำหนดให้มีคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อกำกับดูแลความ โปร่งใส ได้มาตรฐาน และผู้ที่จะเข้ามาเป็นคณะกรรมการประกันสังคม จะต้องมีคุณสมบัติตามระเบียบที่กำหนด และต้องแสดงบัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อ ป.ป.ช.ด้วย

ทั้งนี้ ประชาชนหรือผู้ประกันตนที่ต้องการตรวจสอบสิทธิประโยชน์ต่างๆ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานประกันสังคม หรือเว็บไซต์ http://www.sso.go.th และสายด่วน 1506”

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 10 ตุลาคม 2558



11/Oct/2015

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา