ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

ผลกระทบของ พ.ร.บ. ประกันสังคมฉบับใหม่ต่อระบบสวัสดิการไทย

15.00 น. 11 ตุลาคม 2558 ที่มหาวิทยาลัยรังสิต

 

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป

 

ผศ. ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ และ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ให้ความเห็นต่อการบังคับใช้พระราชบัญญัติประกันสังคมฉบับใหม่ที่จะมีผลตั้งแต่ 20 ตุลาคม ศกนี้ ว่า กฎหมายฉบับใหม่นี้จะทำให้สวัสดิการและความมั่นคงในชีวิตของผู้ใช้แรงงานดีขึ้น ส่งผลบวกต่อระบบเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งทำให้ความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจเพิ่มสูงขึ้น

 

โดยจะขยายสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ใช้แรงงานที่เป็นผู้ประกันตน (สมาชิกกองทุนประกันสังคม) ให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น และ จะมีระบบกำกับดูแล ระบบควบคุมภายใน ระบบตรวจสอบ ระบบบริหารความเสี่ยง กองทุนประกันสังคมให้ดีขึ้น โดยสิทธิประโยชน์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ เพิ่มค่าส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ค่าใช้จ่ายช่วยเหลือเบื้องต้นเมื่อได้รับความเสียหายจากการบริการทางการแพทย์ กรณีทุพพลภาพให้ได้ประโยชน์ตลอดชีวิตเท่าเทียมกัน เดิมกลุ่มที่ทุพพลภาพก่อน 31 มีนาคม พ.ศ. 2538 ได้รับสิทธิประโยชน์เพียง 15 ปี

 

เพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีคลอดบุตรโดยไม่กำหนดจำนวนครั้งรวมเงินสังเคราะห์การหยุดงาน 90 วัน ส่วนกรณีสงเคราะห์บุตรสำหรับบุตรแรกเกิดถึง 6 ปี มีสิทธิได้รับคราวละไม่เกิน 3 คน เพิ่มสิทธิประโยชน์ประกันการว่างงานกรณีนายจ้างหยุดกิจการชั่วคราวไม่ใช่กรณีเลิกจ้าง และยังมีการเพิ่มผลประโยชน์กรณีเงินสังเคราะห์ผู้เสียชีวิต

 

อย่างไรก็ตาม ดร. อนุสรณ์ ได้กล่าวตั้งข้อสังเกตถึง การขยายสิทธิประโยชน์เป็นเรื่องดีแต่ขอให้พิจารณาความยั่งยืนทางการเงินของกองทุนประกันสังคมในอนาคตโดยเฉพาะในอีก 10-20 ปีข้างหน้าที่ประเทศจะก้าวเข้าสู่ "สังคมผู้สูงอายุ" อย่างเต็มรูปแบบ โครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนแปลงไปจะทำให้อัตราการพึ่งพิงสูงขึ้น ประชากรในวัยทำงานลดลงเมื่อเทียบกับประชากรวัยเกษียณที่เพิ่มขึ้นจำนวนมาก หากรัฐบาลไม่เลือกให้มีการจ่ายเงินสมทบในส่วนของรัฐบาล นายจ้างและลูกจ้างเพิ่มขึ้น อาจใช้วิธีขยายการเกษียณอายุไปที่อายุ 62-65 ปี และเริ่มจ่ายสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพหรือเกษียณหลังจากนั้น จะช่วยลดการไหลออกจากเงินกองทุนมากเกินไปในอนาคต

 

อีกด้านหนึ่ง กองทุนประกันสังคมต้องบริหารการใช้จ่ายเงินกองทุนอย่างมีประสิทธิภาพและระมัดระวัง ไม่ควรให้ กรรมการกองทุนหรืออนุกรรมการชุดต่างๆใช้เงินกองทุนประกันสังคมไปดูงานในต่างประเทศบ่อยเกินไปหรือเดินทางไปต่างประเทศโดยไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างชัดเจนต่อการทำงาน ไม่ควรมองว่า การเดินทางไปต่างประเทศเป็นสวัสดิการของกรรมการหรืออนุกรรมการ แต่ควรเพิ่มค่าตอบแทนให้คณะกรรมการและอนุกรรมการอย่างเหมาะสมและแข่งขันกับภาวะตลาดได้โดยเฉพาะอนุกรรมการด้านการลงทุนและบริหารความเสี่ยง บุคลากรที่ทำหน้าที่ดังกล่าวได้ค่าตอบแทนสูงมากในภาคการเงินทำให้มีการลาออกและเกิดสมองไหลและไม่สามารถสรรหาบุคลากรมาทำหน้าที่ส่วนนี้ให้กับกองทุนได้เพื่อทดแทนหรือเพิ่มเติม

 

นอกจากนี้ ต้องมีกระบวนการสรรหาผู้แทนของฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างในคณะกรรมการกองทุนประกันสังคมให้เป็นผู้แทนของลูกจ้างหรือนายจ้างอย่างแท้จริง เช่น ต้องนับจำนวนเสียงตามจำนวนสมาชิก ไม่ใช่ตามจำนวนสหภาพแรงงาน เนื่องจากมีการไปตั้งสหภาพแรงงานหลอกๆมีสมาชิกไม่กี่คนเพื่อนับเป็นคะแนนเสียงโหวตเข้าไปเป็นคณะกรรมการของกองทุน มีกระบวนการคัดเลือกที่โปร่งใสตรวจสอบได้ และหมุนเวียนกันในการทำหน้าที่ ส่วนผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการต้องเป็นมืออาชีพ มีความรู้ประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์

 

นอกจากนี้ รัฐบาลควรมีมาตรการและกระบวนการในการนำ "แรงงานข้ามชาติหรือแรงงานต่างด้าวที่ไม่ถูกกฎหมาย" เข้ามาในระบบ และดำเนินการให้คนเหล่านี้เป็น พลเมืองทางเศรษฐกิจของรัฐไทย เป็นพลังสำคัญทางเศรษฐกิจของสังคมไทย และ เพื่อให้ "คนเหล่านี้" ร่วมจ่ายภาษี จ่ายสมทบในระบบสวัสดิการ และ จ่ายสมทบในระบบประกันสังคม ซึ่งแรงงานต่างด้าวเหล่านี้ได้มาร่วมใช้ประโยชน์จากระบบสวัสดิการของไทย ฉะนั้นต้องเอาเข้ามาในระบบเพื่อร่วมจ่าย การดำเนินการแบบนี้ยังช่วยลดปัญหาการทุจริตลับลอบนำแรงงานผิดกฎหมายเข้าประเทศ และปัญหาแรงงานทาสและการค้ามนุษย์อีกด้วย

 

ตนขอเสนอด้วยว่า ระบบสวัสดิการของไทย ควรนำระบบสวัสดิการของเยอรมันมาเป็น "ต้นแบบ" ซึ่งเรียกว่า แบบวิสาหกิจนิยม (Corporatist) เป็นแบบที่เน้นความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ร่วมสมทบ ร่วมแก้ไข มากกว่า ระบบแข่งขันต่อรองแบบสหรัฐอเมริกาหรืออังกฤษ หรือที่ภาษาทางวิชาการ เรียกว่า พหุภาคนิยม (Pluralist) ที่เน้นการแข่งขันต่อรอง เพราะแบบนี้จะสร้างความขัดแย้งในระบบแรงงานสัมพันธ์ในภาคการผลิตได้

 

ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ ได้กล่าวอีกว่า ในฐานะที่ตนเป็นผู้ที่เคยมีส่วนร่วมในการเรียกร้องให้มีการจัดตั้งกองทุนประกันสังคมเมื่อ 27-28 ปีที่แล้ว (พ.ศ. 2530-31) จนกระทั่งมีการผ่านกฎหมายประกันสังคมในอีก 2 ปีต่อมา (พ.ศ. 2533) และร่วมรณรงค์ให้มีขยายความคุ้มครองประกันการว่างงานหลังวิกฤติปี พ.ศ.2540 พวกเราที่ได้ร่วมกันผลักดันระบบประกันสังคมไม่ว่าจะเป็น นักวิชาการด้านแรงงาน นักเศรษฐศาสตร์ ผู้นำแรงงาน ผู้แทนนายจ้างและองค์กรพัฒนาเอกชนบางส่วนมีความห่วงใยต่อความยั่งยืนของระบบประกันสังคมในระยะยาว เพื่อให้ระบบประกันสังคมเป็นที่พึ่งของแรงงานในระบบได้อย่างมั่นคงและมีคุณภาพ ขณะนี้ทางกลุ่มกำลังหารือเพื่อจัดตั้ง องค์กรหรือชมรมเพื่อปกป้องสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตน ขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ในการร่วมกับรัฐในการดูแลระบบประกันสังคมให้มีความยั่งยืน

 

ตนและมีผู้คนจำนวนไม่น้อยเห็นว่า การบริหารจัดการกองทุนประกันสังคมและการบริหารเงินของผู้ประกันตนควรออกนอกระบบราชการ จัดตั้งเป็นองค์กรมหาชน มีความเป็นอิสระและสามารถสนองนโยบายอันชอบธรรมและชอบด้วยกฎหมายของผู้มีอำนาจรัฐได้ ขณะเดียวกันองค์กรมหาชนนี้ต้องสร้างระบบและกลไกให้ปลอดจากการแทรกแซงหรือนโยบายอันมิชอบของผู้มีอำนาจรัฐด้วย

 

ดร. อนุสรณ์ เปิดเผยว่า คาดว่า องค์กรหรือชมรมเพื่อปกป้องสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนนี้จะสามารถจัดตั้งขึ้นมาได้อย่างเป็นทางการในช่วงต้นปีหน้า

 

ThaiPR.net 12 ต.ค. 2558



15/Oct/2015

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา