ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

กม.กำลังสำรองผ่านแล้ว! กองทัพเรียกตัวได้เมื่อจำเป็น ขัดขืนคุก4ปี ใครหนีเจอศาลทหาร

สนช.ผ่าน กม.กำลังสำรอง ให้อำนาจกองทัพสามารถเรียกเข้ารับราชการทหารได้ อาทิ กรณีภัยพิบัติ สงคราม ประกาศกฎอัยการศึก หากขัดขืนโทษจำคุกไม่เกิน 4ปี แต่หากหนีโดนขึ้นศาลทหาร
 

เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน ที่รัฐสภา มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยมีนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสนช.คนที่ 1  ทำหน้าที่ประธาน ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณา ร่างพ.ร.บ.กำลังพลสำรอง พ.ศ..... ที่คณะกรรมาธิการวิสามัญมี พล.อ.สิงห์ศึก สิงห์ไพร เป็นประธาน พิจารณาเสร็จแล้ว โดยร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว มีหลักการสำคัญเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหม

 

โดยกำหนดประเภทบุคคลที่จะเป็นกำลังพลสำรอง ทั้งนี้ได้บัญญัติคำนิยาม”กำลังพลสำรอง”หมายความว่า บุคคลซึ่งเป็นกำลังสำรองประเภทที่ 1 ตามกฎหมายว่าด้วยการระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม  



สำหรับบุคคลที่เข้าเป็นกำลังพลสำรองนั้น ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ได้กำหนดให้รับสมัครจากบุคคลที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม คัดเลือกจากนายทหารสัญญาบัตรกองหนุน นายทหารสัญญาบัตรนอกราชการ นายทหารสัญญาบัตรนอกกอง โดยการเรียกกำลังพลสำรองให้กระทำได้ในกรณีจำเป็นเพื่อปฏิบัติราชการตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถเป็นการเฉพาะ หรือเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาจากภัยพิบัติ การระดมพลให้กระทำได้ ในเวลาที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือประกาศกฎอัยการศึกหรือมีการรบหรือการสงคราม



ทั้งนี้ กำลังพลสำรองมีสิทธิได้รับค่าตอบแทน ค่าเบี้ยเลี้ยงฯ ตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด แต่หากผู้ใดหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนไม่มาหรือมาแต่ไม่เข้ารับราชการทหาร ไม่ว่าเพื่อตรวจสอบ เพื่อฝึกวิชาทหาร เพื่อปฏิบัติราชการ หรือเพื่อทดลองความพรั่งพร้อมหรือในการระดมพล มีโทษปรับและจำคุกไม่เกิน 4 ปี แต่หากอยู่ไม่ครบกำหนดเวลาตามกำหนดในคำสั่งเรียก ถือว่ามีความผิดฐานหนีราชการและต้องโทษตามกฎหมายว่าด้วยอาญาทหาร

 

ทั้งนี้คณะกรรมาธิการฯมีข้อสังเกตว่า กรณีที่กำลังพลสำรองเป็นลูกจ้างจะมีสิทธิได้รับค่าจ้างในขณะที่เข้ารับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานแต่หากประกอบอาชีพอิสระจะไม่มี สิทธิได้รับค่าตอบแทนดังนั้นควรมีการกำหนดสิทธิประโยชน์ให้กับบุคคลเหล่านี้ด้วย



หลังจากที่พิจารณาเรียงลำดับรายมาตราแล้วที่ประชุมสนช.ได้มีมติเห็นชอบในวาระ 3 ด้วยคะแนนเสียง 192 เสียง งดออกเสียง 4  ประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป

 

ทั้งนี้ พล.อ.สิงห์ศึก ได้กล่าวขอบคุณสมาชิกว่า  ตั้งแต่ พ.ศ. 2497 จนถึงปัจจุบันผ่านมา 61 ปี ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกำลังพลสำรอง ซึ่งประเทศไทยมีกำลังพลสำรองกว่า 12 ล้านคนแต่ใช้กลับกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องมาบังคับใช้  เมื่อร่างพ.ร.บ.กำลังพลสำรองมีผลบังคับใช้ก็จะมีความชัดเจนเกี่ยวกับการเข้าเป็นกำลังพลสำรอง และความชัดเจนในสิทธิผลประโยชน์ต่างของกำลังพลสำรอง

 

มติชนออนไลน์ วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558



24/Nov/2015

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา