ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

เผย 5 ธ.ค. ดำเนินคดีแพ่งแบบกลุ่ม คุ้มครองผู้เสียหายรายย่อย

โฆษกศาลยุติธรรม เผย5ธ.ค. บังคับใช้การดำเนินคดีแพ่งแบบกลุ่มคุ้มครองผู้เสียหายรายย่อย เข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ประหยัดเวลาค่าใช้จ่าย

 

 

โดยฝ่ายโจทก์จะทำงานร่วมกับทนายความของกลุ่ม แทนกลุ่มบุคคลซึ่งเป็นผู้เสียหายที่ไม่ได้เข้ามาในคดีหรือที่เรียกว่าสมาชิกกลุ่มเพื่อฟ้องร้องดำเนินคดีต่อจำเลย เช่น โจทก์และสมาชิกกลุ่มซื้อสินค้า เช่น รถยนต์ หรือ เครื่องใช้ไฟฟ้า มาจากจำเลยโดยผลิตภัณฑ์รุ่นนั้นๆ มีความบกพร่องสร้างความเสียหายแก่ผู้ซื้อจำนวนมาก ก็สามารถยื่นฟ้องคดีหรือเข้าร่วมกลุ่มได้

 

ซึ่งสมาชิกกลุ่มสามารถรับประโยชน์ มีผลผูกพันโดยคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีแบบกลุ่มได้ เพื่อประโยชน์ของสมาชิกกลุ่มทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน เป็นการคุ้มครองผู้เสียหายรายย่อย ให้มีโอกาสเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมหรือการใช้สิทธิทางศาลทำให้จำเลยที่ถูกกล่าวหา ไม่สามารถเอาเปรียบผู้เสียหายได้ และจำเป็นต้องจำหน่ายสินค้าหรือต้องรักษามาตรฐานในสินค้าและบริการ เพราะมีกลไกในเรื่องการดำเนินคดีแบบกลุ่ม ทำให้ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่ายต่างๆ ทรัพยากรมนุษย์ หรือเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร

 

โฆษกศาลยุติธรรม กล่าวต่ออีกว่า เมื่อการดำเนินคดีแบบกลุ่มซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวจะมีผลบังคับใช้ ผู้บริโภค หรือผู้ใช้บริการต้องพยายามเข้าใจหลักการพื้นฐานของกฎหมายฉบับนี้ ซึ่งอาจเป็นสมาชิกกลุ่มของการดำเนินคดีแบบกลุ่มคดีใดคดีหนึ่ง ดังนั้นต้องทราบ สิทธิและผลกระทบของการเป็นสมาชิกกลุ่ม การใช้สิทธิออกจากกลุ่ม หากไม่ต้องการผูกพัน ในคำสั่ง หรือ คำพิพากษา

 

“ ทนายความ ศาล และนักกฎหมาย ก็คงจะต้องศึกษากฎหมายเกี่ยวกับเรื่องนี้ ทำความเข้าใจในบทบาทและหน้าที่ ที่อาจจะมีความรับผิดชอบมากขึ้น ก็เพื่อช่วยให้การดำเนินคดีแบบกลุ่ม บรรลุวัตถุประสงค์ในการอำนวยความยุติธรรมต่อไป”

 

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2558



02/Dec/2015

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา