ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

สปท.เห็นชอบส่งปฏิรูป 12 ด้าน บรรจุร่างรัฐธรรมนูญ

15 ก.พ.59 ที่รัฐสภา การประชุมสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) โดยมี ร.อ.ทินพันธุ์ นาคะตะ ประธาน สปท.เป็นประธานการประชุม มีวาระพิจารณาให้ความเห็นชอบเรื่องปฏิรูปที่ควรบรรจุไว้ในมาตรา 269 ในร่างรัฐธรรมนูญร่างแรกของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ซึ่งเป็นไปตามข้อเสนอของคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศแต่ละคณะ โดยมีทั้งหมด 12 ด้าน สรุปดังนี้

 

1.ด้านการเมือง ให้มีการปฏิรูปพรรคการเมืองอย่างเป็นระบบ มีการเลือกตั้งที่สุจริตและเที่ยงธรรม มีการกำกับควบคุมและการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐอย่างมีประสิทธิภาพ และให้มีการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองเพื่อให้สังคมในระบอบประชาธิปไตย มีความยั่งยืน

 

2.ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน จัดโครงสร้างองค์กรของรัฐให้เหมาะสม มีการบริหารราชการแผ่นดินที่มีธรรมาภิบาล ประสิทธิภาพ การพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง การบริหารการเงินการคลังภาครัฐที่มีประสิทธิภาพ เน้นการบูรณาการการบริหารราชการแผ่นดิน และระบบงบประมาณเชิงพื้นที่

 

3.ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ตามมาตรา 64 และ 73

 

4.ด้านการปกครองท้องถิ่น ให้มีโครงสร้าง อำนาจหน้าที่ รายได้ การถ่ายโอนภารกิจ และรูปแบบการบริหารงานที่เหมาะสมได้มาตรฐานในการจัดบริการสาธารณะ มีการบริหารงานบุคคลตามหลักคุณธรรม และเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม

 

5.ด้านการศึกษา พัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีวินัย ภูมิใจในชาติ เชี่ยวชาญตามความถนัด มีความรับผิดชอบ การศึกษาตลอดชีวิตโดยรัฐเป็นผู้ดำเนินการ กลไกความร่วมมือกันในการจัดการศึกษาทุกระดับ การมีธรรมาภิบาล และการปฏิรูปด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยเพื่อนวัตกรรม

 

6.ด้านเศรษฐกิจ การเกษตร อุตสาหกรรมและบริการ เศรษฐกิจกระแสใหม่และการเงินการคลัง ให้พัฒนาเศรษฐกิจ ลดความเหลื่อมล้ำ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และรักษาวินัยทางการเงินการคลังอย่างยั่งยืน

 

7.ด้านพลังงาน ให้มีความมั่นคงและเสถียรภาพทางพลังงาน ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์พลังงาน การผลิตและใช้พลังงานทดแทนอย่างมีประสิทธิภาพ มีธรรมาภิบาลอย่างยั่งยืน

 

8.ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ปฏิรูประบบและกลไกการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม การวางผังเมือง การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ระบบบริการสุขภาพ การสื่อสารสุขภาพ การอภิบาลระบบทั้งในระดับประเทศและระดับพื้นที่ รวมถึงการเงินการคลังในระบบประกันสุขภาพ

 

9.ด้านสื่อสารมวลชน ตามมาตรา 34 , 35 , 36 , 56 และ 262

 

10.ด้านสังคม ให้ระบบสร้างเสริมชุมชนเข้มแข็ง รองรับสังคมสูงวัย ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส สวัสดิการสังคม จัดการแรงงานและคุ้มครองผู้บริโภคที่เหมาะสมกับสังคมไทย

 

11.ด้านกีฬา ศิลปะ วัฒนธรรม การศาสนา คุณธรรมและจริยธรรม จัดตั้งคณะกรรมการนโยบายการกีฬาแห่งชาติ การบรรจุหลักสูตรด้านกีฬา ศิลปะ วัฒนธรรม การศาสนา คุณธรรมและจริยธรรม ไว้ในหลักสูตรการศึกษาของชาติทุกระดับ และการปฏิรูปการศึกษาสงฆ์ให้เป็นไปตามหลักพุทธธรรมและมาตรฐานการศึกษาของ ชาติ

 

12.ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ สร้างจิตสำนึกและส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการ ทุจริตอย่างจริงจัง ประชาชนสามารถนำคดีขึ้นฟ้องศาลได้ ให้มีกลไกที่มีประสิทธิภาพ ปราศจากการแทรกแซง และสามารถปฏิบัติงานได้อย่างต่อเนื่อง

 

ซึ่งที่ประชุมได้เปิดให้สมาชิกอภิปราย โดยมีสมาชิกอภิปราย 2 คน คือ พล.อ.ชูศิลป์ คุณาไทย ได้เสนอให้บรรจุเรื่องการปฏิรูปการแพทย์ฉุกเฉินเพิ่มเติมในประเด็นการปฏิรูป ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ซึ่ง ร.อ.ทินพันธุ์ กล่าวว่า ขอให้ประธานคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุขและสิ่งแวด ล้อมเซ็นรับรองด้วย โดย นางพรพันธุ์ บุณยรัตพันธุ์ ประธานคณะกรรมาธิการฯ ไม่ขัดข้อง ส่วน นายเสรี สุวรรณภานนท์ ประธานคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง ได้เสนอให้แก้ไขเล็กน้อยในอนุมาตรา (8) ในส่วนที่ยังเป็นตัวเลขให้เป็นตัวอักษรเพื่อให้สอดคล้องกับอนุมาตราอื่นๆ

 

จากนั้นที่ประชุมได้ลงมติให้ความเห็นชอบต่อร่างมาตรา 269 ที่จะเสนอให้ กรธ.ด้วยคะแนนเสียง 143 ต่อ 0 งดออกเสียง 1 เพื่อนำส่งให้ กรธ.ประกอบการพิจารณาจัดทำร่างรัฐธรรมนูญต่อไป

 

แนวหน้า 15 ก.พ.59



15/Feb/2016

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา