ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

เห็นชอบแรงงานต่างด้าวถูกกฎหมาย รายงานตัวเพื่ออยู่ต่อถึง 31 มีค. 61

23 ก.พ.59 ที่ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานในที่ประชุมว่า กระทรวงแรงงาน ได้นำเสนอ ครม.เพื่อทราบ และขอความเห็นชอบในการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว ปี 59 ในส่วนแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา

 

พล.ต.สรรเสริญ กล่าวว่า แรงงานต่างด้าวทั้ง 3 สัญชาติ ที่อยู่ในประเทศโดยถูกต้องตามกฎหมายในขณะนี้ ซึ่งไม่รวมกลุ่มที่ไปจดทะเบียนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มที่ถือบัตรสีชมพู ซึ่งมีอยู่ประมาณ 1.6 ล้านคน และ 2.กลุ่มที่มีเอกสารจากประเทศต้นทางออกมาให้ มีจำนวนประมาณ 1.8 ล้านคน โดยทั้ง 2 กลุ่มนี้ คือกลุ่มที่อยู่ในประเทศอย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่จะสิ้นสุดเวลาที่จะอยู่ได้ในวันที่ 31 มี.ค.59 และในขณะนี้ก็ใกล้ถึงกำหนดเวลา

 

พล.ต.สรรเสริญ กล่าวต่อว่า กระทรวงแรงงานจึงหามาตรการเพื่อรองรับให้การจ้างงาน และการประกอบการเป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยให้แรงงานต่างด้าวทั้ง 3 สัญชาติ ใน 2 กลุ่ม มารายงานตัว และอนุญาตให้อยู่และทำงานในราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 1 เม.ย. - 29 ก.ค.59 เมื่อมารายงานตัวแล้ว จะได้รับอนุญาตให้อยู่ทำงานได้จนถึง 31 มี.ค.61 และขอความเห็นชอบในหลักการให้แรงงานต่างด้าวทั้ง 3 สัญชาติ ที่ได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว และอยู่ระหว่างการส่งกลับในทุกประเภทกิจการ ซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำงานได้ครั้งละไม่เกิน 2 ปี ให้สามารถต่อเวลาได้อีกไม่เกิน 4 ครั้ง โดยครั้งละไม่เกิน 2 ปี โดยสรุปคือ สามารถอยู่ในประเทศไทยได้รวมเป็น 8 ปี โดยไม่จำต้องกลับไปยังประเทศของตนเอง

 

โฆษกฯ กล่าวว่า ที่ผ่านมา ครม.ได้มีมติผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวทำงานอยู่ในกิจการแปรรูปสัตว์น้ำและอยู่ในราชอาณาจักร ซึ่งรออยู่ในช่วงเวลาพิสูจน์สัญชาติ โดยคำนิยามของกิจการแปรรูปสัตว์น้ำนั้น ไม่ได้กำหนดให้หมายความรวมไปถึงการคัดแยกปลา หรือการคัดแยกสัตว์น้ำอื่นๆ ทำให้ไม่สามารถครอบคลุมงานได้ทุกประเภท ทางกระทรวงแรงงานจึงขอขยายคำจำกัดความกิจการแปรรูปสัตว์น้ำ ให้มีความหมายรวมถึงการคัดแยกปลา การคัดแยกสัตว์น้ำอื่นๆ ด้วย

 

นอกจากนี้ กระรวงแรงงานยังได้ขออนุญาตออกกฎกระทรวง กำหนดรูปแบบใบอนุญาตทำงาน เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่แรงงานต่างด้าวให้ใช้เพียงใบเดียว โดยแต่เดิมนั้นมี 2 ใบ คือ ใบอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรและใบอนุญาตทำงาน โดยขอเปลี่ยนรูปแบบการออกใบอนุญาตใหม่เป็น บัตรสีชมพูเพียงใบเดียว ซึ่งสามารถใช้แทนได้ทั้ง 2 ใบจากเดิม

 

ทั้งนี้ ครม.ได้พิจารณาและเห็นว่าประเด็นต่างๆ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอมานั้นมีความเหมาะสมเพื่อให้การจ้างงานในกิจการทั้งหลาย ซึ่งเกี่ยวกับการใช้แรงงานต่างด้าวสามารถดำเนินต่อไปได้ และเป็นการทำให้แรงงานต่างๆ ที่อยู่ในประเทศอย่างผิดกฎหมายขึ้นมาอยู่ในกรอบกฎหมาย สามารถทำให้เกิดการควบคุมและไม่เป็นผลกระทบต่องานด้านความมั่นคง และจะทำให้สามารถมีข้อมูลตัวเลขที่ชัดเจนสำหรับการวางแผนของการบริหารจัดการแรงงานในอนาคต จึงให้ความเห็นชอบทั้งหมดตามที่ได้นำเสนอ

 

แนวหน้า 23 กุมภาพันธ์ 2559



26/Feb/2016

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา