ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

ชูชาติ ศรีแสง อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา ชี้ควรอ่านข้อกฎหมายก่อนวิพากษ์วิจารณ์ ปมดราม่าหมากัดเด็กเป็นแผลเหวอะเย็บ 100 เข็ม

จากกรณีที่เด็กวัย 14 ปี ถูกสุนัขเพื่อนบ้านกัดหน้าแผลเหวอะเย็บกว่า 100 เข็ม ทำให้ผู้เป็นพ่อต้องออกมาโวย เนื่องจากหวั่นลูกเสียโฉม และเรียกเงินจำนวน 3 แสนจากเจ้าของสุนัข ฝ่ายเด็กรับเงิน พร้อมยอมความกันในที่สุด จนมีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงข้อกฎหมายกันไปต่างๆ นาๆ

 

ล่าสุดเมื่อวันที่ 25 พ.ค. นายชูชาติ ศรีแสง อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊คส่วนตัว Chuchart Srisaeng กรณีเหตุการสุนัขตัวหนึ่งกัดเด็กผู้หญิงคนหนึ่งได้รับบาดเจ็บบริเวณใบหน้า มีการวิพากษ์วิจารณ์กันว่า เหตุที่เกิดขึ้นเพราะมี พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ.๒๕๕๗ จึงไม่มีใครกล้าเข้าไปช่วยเหลือเด็กเนื่องจากกลัวจะมีความผิดตามกฎหมายดังกล่าว

 

บางคนถึงกับด่าผู้มีส่วนในการดำเนินการให้มีกฎหมายฉบับนี้ ว่าเห็นสัตว์มีความสำคัญมากกว่าคน


มีการเสนอให้ดำเนินการแก้ไข พ.ร.บ. ฉบับนี้ว่า ในกรณีที่สุนัขจะกัดคนให้สามารถทำร้ายสุนัขเพื่อป้องกันไม่ให้กัดผู้นั้นได้

 

ทั้งนี้ พ.ร.บ.ดังกล่าวตาม มาตรา ๒๑ ระบุข้อยกเว้นไม่ถือว่าเป็นการทารุณกรรมสัตว์ “การฆ่าสัตว์ในกรณีที่มีความจําเป็นเพื่อป้องกันอันตรายแก่ชีวิตหรือร่างกาย ของมนุษย์ หรือสัตว์อื่น หรือป้องกันความเสียหายที่จะเกิดแก่ทรัพย์สิน ไม่ถือว่าเป็นการทารุณกรรมสัตว์”

 

นอกจากนี้ เมื่อเด็กได้รับบาดเจ็บเพราะถูกสุนัขกัด เจ้าของสุนัขต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่เด็กผู้หญิงที่ได้รับบาดเจ็บ ด้วย ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๓๓

 

MThai News



28/May/2016

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา