ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

เลขาธิการ คปภ.สั่งบริษัทประกันภัยเร่งจ่ายค่าสินไหมทดแทนผู้ประสบภัยเรือล่มที่ทำประกันชีวิต-อุบัติเหตุ

ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการตรวจสอบการทำประกันภัยของผู้ประสบอุบัติเหตุ เรือ“สมบัติมงคลชัย”ล่ม เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2559 ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  โดยมีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 28 ราย และมีผู้บาดเจ็บ 7 ราย ว่า ล่าสุดสำนักงาน คปภ. ตรวจสอบข้อมูล ณ วันที่ 21 กันยายน 2559 เวลา 12.00 น. พบว่าผู้เสียชีวิต จำนวน 6 รายได้ทำประกันภัยไว้ ดังนี้ นางละมัย กระจ่างแสง ทำกรมธรรม์ประกันชีวิตไว้กับ บมจ. อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต จำนวนเงินเอาประกันภัย 50,000 บาท และกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุ จำนวนเงินเอาประกันภัย 150,000 บาท รวมทั้งทำประกันชีวิตไว้กับ บจ. เอไอเอ. จำนวนเงินเอาประกันภัย 110,000 บาท นางสุวิมล บุญรักษ์ ทำกรมธรรม์ประกันชีวิตไว้กับ บมจ. กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต จำนวนเงินเอาประกันภัย 59,644 บาท และกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุ จำนวน 100,000 บาท นางสาวชนาพา มหาครุฑ ทำกรมธรรม์ประกันชีวิตไว้กับ บมจ. ไทยประกันชีวิต จำนวนเงินเอาประกันภัย จำนวน 120,000 บาท นางสาววาสนา แจ่มคง ทำกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุไว้กับ บมจ. ชับบ์สามัคคีประกันภัย จำนวนเงินเอาประกันภัย 100,000 บาท นางมัชรีณ์ รักพงษ์ ทำกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุไว้กับ บมจ.ชับบ์สามัคคีประกันภัย จำนวนเงินเอาประกันภัย 100,000 บาท นายจำรัส บุยรักษ์ ทำกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุไว้กับ บมจ.แอลเอ็มจี ประกันภัย จำนวนเงินเอาประกันภัย 600,000 บาท

 

ดังนั้นตนจึงได้สั่งการให้สำนัก งาน คปภ.จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและสำนักงาน คปภ.ภาค 8 ลงพื้นที่เข้าไปช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกผู้ประสบภัยในการตรวจสอบเอกสาร หลักฐานด้านการประกันภัยและประสานไปยังบริษัทประกันภัยให้เร่งจ่ายเงินค่า สินไหมทดแทนและค่ารักษาพยาบาลให้กับครอบครัวของผู้ประสบภัยโดยเร็ว  

 

นอกจากนี้ บมจ. ไทยพัฒนาประกันภัย ที่รับทำประกันภัยเรือโดยสารลำดังกล่าว แต่กรมธรรม์หมดอายุไปแล้ว ได้ประสานมายังสำนักงาน คปภ. แสดงความจำนงในการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประสบภัย โดยมอบเงินให้กับทายาทของผู้เสียชีวิตรายละ 10,000 บาท อีกด้วย ซึ่งทางสำนักงาน คปภ. จะได้รีบประสานงานเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของครอบครัวผู้เสียชีวิตต่อไป

 

เลขาธิการ คปภ. กล่าวเสริมว่า จากเหตุการณ์ดังกล่าวจะเห็นได้ว่าผู้ประสบภัยที่มีการทำประกันชีวิตและการ ประกันภัยอุบัติเหตุจะได้รับความคุ้มครองจากการทำประกันภัย จึงขอฝากเตือนประชาชนให้ความสำคัญในการทำประกันภัยเพื่อบริหารความเสี่ยงภัย เพราะหากเกิดความเสียหายจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ระบบประกันภัยจะช่วยเหลือบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ ในส่วนของผู้ประกอบการเดินเรือโดยสารหรือผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการ ให้บริการสาธารณะจะต้องทำประกันภัยตามที่กฎหมายกำหนดและหมั่นตรวจสอบวันหมด อายุกรมธรรม์ด้วยเพื่อต่ออายุกรมธรรม์ให้ประชาชนได้รับความคุ้มครองจากระบบ ประกันภัยตลอดเวลา หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน คปภ. 1186 หรือเว็บไซต์ www.oic.or.th       

                                                                       

ที่มา : กระทรวงการคลัง



25/Sep/2016

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา