ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

ครม.ไฟเขียวแก้กม.จราจรใหม่ เข้มรถตู้โดยสารไม่คาดเข็มขัดนิรภัย-ผู้ขับขี่ทำผิดซ้ำภายใน 1 ปี ปรับ 2 เท่า 4 ม.ค. 2560 ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

ครม.ไฟเขียว แก้ไขกฎหมายจราจรใหม่ เข้มรถตู้โดยสารไม่คาดเข็มขัดนิรภัย-ผู้ขับขี่ทำผิดซ้ำภายใน 1 ปี ปรับ 2 เท่า สั่งกฤษฎีกาศึกษาไม่จ่ายค่าปรับไม่ให้ภาษีแผ่นป้ายวงกลม

 

เมื่อเวลา 14.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล พ.อ.อธิสิทธิ์ ไชยนุวัติ ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ .....)  พ.ศ. .....  สาระสำคัญของ พ.ร.บ. ฯ ได้แก่ 1) ปรับปรุงอัตราโทษปรับสำหรับความผิดลหุโทษที่พนักงานเจ้าหน้าที่ / พนักงานจราจร / พนักงานสอบสวนมีอำนาจเปรียบเทียบให้เหมาะกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน และสอดคล้องกับประมวลกฎหมายอาญาที่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมไปแล้วในมาตราต่างๆ เช่น มาตรการบังคับผู้ขับขี่ที่ได้รับใบสั่งแล้วไม่ไปชำระค่าปรับ / มาตรการนำรถที่ใช้ในการกระทำความผิดมาเก็บรักษาและกำหนดค่าใช้จ่ายในการเก็บ รักษา / การป้องปรามการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 เพื่อให้ผู้ใช้รถใช้ถนนเกรงกลัวต่อการกระทำความผิด ส่งผลให้มาตรการป้องกันอุบัติภัยมีประสิทธิภาพมากขึ้น



2) แก้ไขเพิ่มเติมน้ำหนักของรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจากเดิม 1,600 กก. เป็น 2,200 กก. ที่ไม่ต้องขับในช่องเดินรถด้านซ้ายสุดหรือช่องที่ใกล้เคียงกับช่องเดินรถ ประจำทาง



3) ผู้ขับขี่ต้องจัดให้คนโดยสารในรถทุกคนทุกที่นั่งรัดร่างกายด้วยเข็มขัด นิรภัยขณะโดยสารรถยนต์ (เดิมระบุเฉพาะผู้ขับขี่และผู้โดยสารตอนหน้า)



4) เพิ่มมาตรการบังคับผู้ขับขี่ที่ไม่ชำระค่าปรับตามใบสั่ง โดยกำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีหน้าที่ออกหนังสือแจงเตือนผู้ขับขี่หรือเจ้าของรถให้มาชำระค่าปรับภายใน 15 วัน  หากยังไม่ปฏิบัติให้ชะลอการรับชำระภาษีประจำปีไว้ก่อน และให้นายทะเบียนมีอำนาจยึดหรือพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของบุคคลนั้น



5) กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ / พนักงานจราจร / พนักงานสอบสวน มีอำนาจสั่งให้มีการทดสอบลมหายใจ ปัสสาวะ เลือดหรือวิธีการอื่นอย่างชัดแจ้งว่าผู้ขับขี่สุราหรือของเมาอย่าอื่นหรือ ไม่ ซึ่งต้องกระทำเท่าที่จำเป็นและสมควรโดยให้เกิดความเจ็บปวดน้อยที่สุดเท่าที่จะกระทำได้และไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายและอนามัยของผู้ขับขี่ (ปัจจุบันไม่ได้ระบุว่าการทดสอบให้ใช้วิธีการใดบ้าง)



6) มาตรการยึดและเก็บรักษารถที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบางฐาน (ชั้นตำรวจ) ได้แก่ ฐานขับรถขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น / ขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น / แข่งรถในทางโดยมิได้รับอนุญาต  กำหนดให้เจ้าของรถหรือผู้ขับขี่ต้องชำระค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษารถดังกล่าว (คำสั่ง คสช. 46/2558 มากำหนดไว้ในกฎหมายนี้)



7) เพิ่มอัตราโทษในความผิดฐานแข่งรถในทางโดยมิได้รับอนุญาต จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับ 6,000 – 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  และให้ศาลสั่งพักใบอนุญาตขับขี่ไม่น้อยกว่า 1 เดือนหรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ (เดิมจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับ 2,000 – 10,000 บาท)



8) กำหนดความผิดและโทษของการรวมกลุ่มหรือมั่วสุมหรือพฤติการณ์ที่จะรวมกลุ่ม เพื่อมั่วสุมที่นำไปสู่ความผิดตามข้อที่ 7) จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับ 3,000 – 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ



9) แก้ไขเพิ่มเติมอัตราโทษในความผิดฐานขับรถในขณะเมาสุราหรือของเมาอื่นๆ เป็นจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับ 10,000 – 20,000  บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่มีกำหนดไม่น้อยกว่า 6 เดือนหรือเพิกถอนใบอนุญาต  และเพิ่มมาตรการยึดรถในชั้นศาล (ไม่เกิน 7 วัน) ด้วย (เดิมจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับ 5,000 – 20,000  บาท)



9.1) หากกระทำความผิดตาม 9) เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ จำคุก 1 – 5 ปี  ปรับ 20,000 – 100,000 บาท  พักใช้ใบอนุญาตฯ ไม่น้อยกว่า 1 ปี  หรือเพิกถอนใบอนุญาตฯ



9.2) หากกระทำความผิดตาม 9) เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส จำคุก 2 – 6 ปี ปรับ 40,000 – 120,000 บาท พักใช้ใบอนุญาตไม่น้อยกว่า 2 ปี  หรือเพิกถอนใบอนุญาต



9.3) หากกระทำความผิดตาม 9) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย จำคุก 3 – 10 ปี ปรับ 60,000 – 200,000 บาท  และเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่



10) ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมีอำนาจกำหนดจำนวนค่าปรับตามที่เปรียบเทียบ 11) กำหนดให้ผู้บังคับการตำรวจนครบาล และผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดมีอำนาจสั่งยึดใบอนุญาตขับขี่ได้ด้วย



12) ผู้สั่งยึดใบขับขี่อาจบันทึกการยึดและคะแนน และดำเนินการอบรมทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิดซ้ำตั้งแต่ 2 ครั้งใน 1 ปี  รวมทั้งสั่งพักการใช้ใบอนุญาตขับขี่ที่เสียคะแนนมากของผู้ขับขี่นั้นโดยมี กำหนดครั้งละไม่เกิน 90 วัน



13) ผู้ขับขี่ที่กระทำความผิดซ้ำภายใน 1 ปี ให้เพิ่มจำนวนค่าปรับขึ้นอีกไม่น้อยกว่า 2 เท่าของจำนวนค่าปรับที่ได้ชำระในความผิดครั้งก่อน



14) ผู้ประกอบการรับจ้างบรรทุกคนโดยสารโดยรถแท็กซี่ที่ไม่จอดรถ ณ สถานที่ที่กำหนด ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท (เดิม 1,000 บาท)



ขณะที่ พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเพิ่มเติมว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติต้องการเชื่อมต่อข้อมูลกับกรมขนส่งทางบกในการออกใบ สั่ง เนื่องจากที่ผ่านมาไม่จ่ายค่าปรับกว่า 70-80 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้จึงกำหนดให้สามารถชำระค่าต่อภาษีแผ่นป้ายวงกลมได้ แต่จะไม่ออกแผ่นป้ายวงกลมให้สำหรับผู้ไม่จ่ายค่าปรับ โดยจะมีการศึกษาและปรับแก้ในขั้นสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาต่อไป



15/Jan/2017

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา