ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

อ็อกแฟม ประเทศไทยเปิดรายงานความเหลื่อมล้ำในไทย พบคนรวยที่สุด 10% เป็นเจ้าของทรัพย์สิน 79% ของประเทศ !!! - ThaiPR.net 6 ก.พ. 2560

เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ที่สยามสมาคม กรุงเทพ องค์การอ็อกแฟม (Oxfam) ประเทศไทยได้จัดกิจกรรม "เท่าไหร่ (ถึง) เท่ากัน?" โดยมีการเปิดเผย "รายงานเบื้องต้นว่าด้วยความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย" พร้อมเสวนาในหัวข้อ 'เท่าไหร่ (ถึง) เท่ากัน' โดยมีนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการ บริษัท ควอลิตีเฮาส์ จำกัด (มหาชน) และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม , นายอธิคม คุณาวุฒิ บรรณาธิการบริหารจาก Way Magazine, น.ส.สฤณี อาชวานันทกุล นักเขียน นักแปล และกรรมการผู้จัดการ ด้านการพัฒนาความรู้ บริษัท ป่าสาละ จำกัด, นางนุชนารถ แท่นทอง ประธานเครือข่ายสลัม 4 ภาค และนายวินัย ดิษจร ช่างภาพมืออาชีพ ร่วมแลกแปลี่ยนความคิดเห็นถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำทางทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย

 

นายจักรชัย โฉมทองดี ผู้ประสานงานด้านนโยบายและรณรงค์ องค์การอ็อกแฟม (Oxfam) เปิดเผยว่า ความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ไม่จำกัดเพียงแค่ด้านเศรษฐกิจเท่านั้น แต่รวมถึงภาคส่วนอื่นๆของสังคม อาทิ วิถีชีวิต การศึกษา สวัสดิการด้านสุขภาพ ซึ่งการแก้ปัญหาความเหลือมล้ำนั้นจะต้องแก้ในทุกภาคส่วนพร้อมกัน โดย เริ่มจากการปฏิรูปในภาคเอกชนให้มีห่วงโซ่อุปาทานในการประกอบธุรกิจให้เป็นธรรม ควบคู่ไปกับการผลักดันมาตรการลดความเหลื่อมล้ำจากภาครัฐ เช่น ปรับระบบภาษีให้เป็นระบบก้าวหน้า เพิ่มอัตราภาษีในกลุ่มผู้มีรายได้สูงและกลุ่มผู้ครอบครองทุน เก็บภาษีที่ดินสำหรับคนที่มีที่ดินมากกว่า 50 ไร่ขึ้นไป เพราะแม้รัฐจะมีมาตรการเก็บภาษีที่ดิน แต่ผู้ที่ได้รับผลกระทบคือกลุ่มรายได้ปานกลาง

 

"ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 เป็นต้นมา ประเทศไทยได้ยกระดับสถานภาพจากประเทศที่มีรายได้ปานกลางขึ้นมาเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับสูง ในขณะที่ความยากจนลดลงไปมาก เรากลับเผชิญกับสถานการณ์ที่ความเหลื่อมล้ำในการครอบครองทรัพย์สินและความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ยังคงมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งคนที่ยากจนตกเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำ ความเหลื่อมล้ำมีที่มาจากหลายสาเหตุ แต่สาเหตุสำคัญที่สังคมต้องร่วมกันมอง คือลักษณะโครงสร้างของสังคม ระบบ ระเบียบ นโยบายของภาครัฐ และการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชน ซึ่งมีส่วนสำคัญที่จะทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำแต่ในขณะเดียวกันก็มีส่วนสำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำได้เช่นเดียวกัน เราจำเป็นที่ต้องกล้าพูดและยอมรับจริงๆว่าประเทศไทยยังมีความเหลื่อมล้ำอยู่มาก เกษตรกร ชาวประมงพื้นบ้าน ต้องทำงานถึง 4 เดือนถึงจะทำรายได้เท่าคนในเมืองเดือนเดียว มีความแตกต่างกันตรงนี้ การยอมรับจะนำไปสู่การตระหนักร่วมกันว่านั่นคือปัญหา ซึ่งไม่ใช่ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ไม่สามารถทำอะไรได้ แต่เป็นปัญหาที่สามารถเยียวยาได้

 

อ็อกแฟมในประเทศไทยได้ทำงานเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในหลายระดับ โดยเราได้เล็งเห็นว่ากลุ่มที่มีบทบาทในการแก้ปัญหา คือกลุ่มผู้บริโภคเมือง กลุ่มธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งมีทั้งกำลังขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจและสังคม โดยหวังว่าจะแก้ปัญหาและสื่อสารให้สังคมตระหนักรู้ถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำ และประชาชนและสังคมจะตื่นตัวและช่วยแก้ไข เช่นเดียวกับสังคมประเทศอื่น เช่น สหรัฐอเมริกา กลุ่มประเทศยุโรป สิงคโปร์ และฮ่องกง"

 

โดย "รายงานเบื้องต้นว่าด้วยความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย" ซึ่งอ็อกแฟมประเทศไทยได้จัดทำและรวบรวมข้อมูลสถิติต่างๆตั้งแต่แต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2559 พบว่ารายได้ 1 ปีของคนรวยที่สุดในไทย สามารถนำมาใช้ลดความยากจนของคนทั้งประเทศได้ โดยคนรวยที่สุด 10% แรกมีรายได้มากกว่าคนที่จนที่สุด 10% สุดท้ายถึง 35 เท่า

 

โดยในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา เศรษฐีระดับพันล้านของไทยเพิ่มขึ้นเป็น 28 คน จาก 5 คน และทั้งหมดมีทรัพย์สินรวมกันถึง 9,142,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ประชากรของไทย 7 ล้านคนยังอยู่ใต้เส้นความยากจน นอกจากนี้ยังพบว่าคนรวยที่สุด 10% เป็นเจ้าของทรัพย์สิน 79% ของประเทศ และ 5 ปีที่ผ่านมาคนรวยที่สุด 1% เป็นเจ้าของความมั่งคั่งมากกว่าคนที่เหลือทั้งประเทศรวมกัน

 

นอกจากนี้ดัชนีชี้วัดความมุ่งมั่นต่อการลดความเหลื่อมล้ำไทยอยู่ในลำดับที่ 122 จาก 155 ประเทศ คนงานนอกระบบ 25ล้านคนหรือ 64% ของแรงงานทั้งหมดไม่ได้รับความคุ้มครองจากประกันสังคม สิทธิด้านสหภาพแรงงานในไทยยังห่างไกลจากมาตรฐานสากล คนทำงานในเมืองได้ค่าจ้างที่สูงกว่าคนทำงานนอกเมือง เกษตรกร 2.2 ล้านคนมีปัญหาเรื่องที่ดินทำกิน โดย 40% ไม่มีที่ดินทำกินของตัวเอง และ 37% ไม่มีโฉนดที่ดิน ที่เหลือที่ดินไม่พอทำกิน นอกจากนี้ยังพบว่ายิ่งเจ้าของธุรกิจมีความมั่งคั่งมากเพียงใด โอกาสที่จะลงเล่นการเมืองก็จะมากขึ้น ซึ่งจะทำให้คนรวยสามารถเข้าถึงเครือข่ายต่างๆ เพื่อสนับสนุนนโยบายที่ตัวเองได้ประโยชน์

 

นางนุชนารถ แท่นทอง ประธานเครือข่ายสลัม 4 ภาค เปิดเผยว่า การเป็นคนยากจนที่อยู่ในเมือง มักถูกตัดสินในแง่ลบจากคนอื่นเสมอ โดยเฉพาะเมื่อใช้ชีวิตในสลัม ซึ่งจริงๆแล้วไม่มีใครไม่อยากได้โอกาสในชีวิต แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายที่โอกาสจะมาถึงคนจนโดยเฉพาะในแง่ของการศึกษาซึ่งจะช่วยยกระดับชีวิตของคนได้จริงๆ นอกจากนี้เมื่อเอ่ยถึงประเด็นความเหลื่อมล้ำ มีเรื่องหนึ่งที่ตนเป็นกังวลมากคือเรื่องที่อยู่อาศัย และที่ทำกินของคนจน

 

"ที่ผ่านมาเราจะเห็นข่าวที่มีคำสั่งไล่ออกจากป่า หาว่าบุกรุกป่า และเมื่อพื้นที่ชายแดนเปิดเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ คนในพื้นที่ก็จะถูกไล่ออกไป โดยอ้างว่ากำลังนำความเจริญมาสู่ ก็เลยงงว่าเอ๊ะตกลงยังไงกันแน่ จะไล่คนข้างนอกเข้าข้างใน จะไล่คนข้างในออกข้างนอก นี่คือสิ่งที่เราเห็นชัดเจนเลย และก็เป็นปัญหาสำหรับพวกเราคนจน เพราะคนที่ทำมาหากินหรือคนที่ทำนาหรือเกษตรกรนี่ จะไร้ที่ดินทำกิน ที่ดินเหล่านั้นถูกต่างชาติเข้ามาทำการเช่า เพื่อปลูกพืชผักของเขาเอง พืชผักเรากลับหายไปแล้วเปลี่ยนพันธุ์ไป ต่อไปความมั่นคงทางอาหารของเราอยู่ตรงไหน อันนี้คือความห่วงใย และมีความรู้สึกว่าเรากำลังจะสูญเสียที่ดิน โดยที่คนจนอย่างพวกเราเองคงจะไม่มีโอกาสมีที่ดินอีกต่อไป"

 

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการ บริษัท ควอลิตีเฮาส์ จำกัด (มหาชน) และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่าหน้าที่ของภาครัฐมี 2 ส่วนสำคัญ 1. คือสร้างความเจริญให้ประเทศ 2.นำความเจริญนั้นมากระจายให้คนส่วนใหญ่ของประเทศ ที่ผ่านมาเราเน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจในแง่ของ GDP แต่ไม่ได้ดูรายได้ประชาชน ซึ่งรัฐจะต้องกระจายโอกาสเพื่อลดความเหลื่อมล้ำให้กับคนในประเทศ

 

"การคมนาคมเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย เพราะเป็นสิ่งที่คนเจอทุกวัน จะรวยหรือจนก็ต้องใช้ถนนร่วมกัน ในกรุงเทพคนจนโดยสารรถเมล์ราว 3 ล้านคน คนส่วนใหญ่อยู่กับรถเมล์ รถเมล์จึงเป็นหัวใจสำคัญในการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ เราเน้นการก่อสร้างรถไฟฟ้า แต่คมนาคมที่คนส่วนใหญ่ใช้คือรถเมล์ เราต้องมีรถเมล์ที่ดีก่อน เพราะเป็นปัจจัยพื้นฐานในการใช้ชีวิตของคนส่วนใหญ่ ภาครัฐต้องเกลี่ยและกระจายโอกาสให้ทุกคน

 

แต่จริงๆแล้วการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำจะต้องมาจากตัวเราเป็นหลัก ไม่ใช่จากภาครัฐหรือเอกชนรายใหญ่ ตัวเราต้องเห็นความสำคัญของความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในสังคม ต้องเห็นความสำคัญของชีวิตคนอื่นด้วยว่ามีความสำคัญไม่ต่างจากเรา เพราะปัญหาความเหลื่อมล้ำแก้จากรัฐหรือเอกชนรายใหญ่ ต้องเริ่มจากตัวเรา เริ่มที่การเห็นชีวิตของคนทุกคนสำคัญเหมือนกันและเท่ากัน ความชินชากับความเหลื่อมล้ำที่เจอเป็นเรื่องที่อันตราย ซึ่งคงต้องฝากความหวังไว้ที่คนรุ่นใหม่"

 

โดยนอกจากกิจกรรมเสวนาแล้วภายในงาน "เท่าไหร่ (ถึง) เท่ากัน?" ยังมีการแสดงผลงานภาพถ่ายแนว Street Photo ในหัวข้อ 'Tales from the Streets' โดย "วินัย ดิษจร" การออกร้านของธุรกิจเพื่อสังคมร้านคนจับปลา (Fisherfolk Social Enterprise)และธุรกิจเพื่อสังคมวนิตา (Wanita Social Enterprise) ซึ่งเป็นโครงการที่อ็อกแฟมในประเทศไทยให้การสนับสนุนเพื่อลดความเหลื่อมล้ำอย่างยั่งยืนในสังคมไทยอีกด้วย โดยได้รับความสนใจจากประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างคับคั่ง



07/Feb/2017

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา