ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

สรุปผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร เดือนกันยายน พ.ศ. 2556

วันนี้ 25 พฤศจิกายน 2556 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร เดือนกันยายน พ.ศ. 2556  ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอ ดังนี้   

 

สาระสำคัญของเรื่อง

สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้ทำการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรเป็นประจำทุกเดือน โดยสอบถามประชากรที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่าง ทุกจังหวัดทั่วประเทศมีครัวเรือนตกเป็นตัวอย่าง 27,960 ครัวเรือนต่อเดือน สำหรับในเดือนกันยายน พ.ศ. 2556 ในภาพรวมสถานการณ์แรงงานมีจำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น 1.7 หมื่นคน (จาก 2.47 แสนคน เป็น 2.64 แสนคน) เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2555  หากเปรียบเทียบกับช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2556 จำนวนผู้ว่างงานลดลง 5.3 หมื่นคน (จาก 3.17 แสนคน เป็น 2.64 แสนคน) สำหรับสาระสำคัญการสำรวจสรุปได้ ดังนี้

 

1. ผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงาน

ผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงาน มีจำนวนทั้งสิ้น 39.32 ล้านคน ประกอบด้วย ผู้มีงานทำ 39.00 ล้านคน ผู้ว่างงาน 0.26 ล้านคน และผู้ที่รอฤดูกาล 0.06 ล้านคน ทั้งนี้ ผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงานมีจำนวนลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2555 จำนวน 1.2 แสนคน (จาก 39.44 ล้านคน เป็น 39.32 ล้านคน)

 

2. ผู้มีงานทำ

ผู้มีงานทำ 39.00 ล้านคน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2555 จำนวน 1.5 แสนคน (จาก 39.15 ล้านคน เป็น 39.00 ล้านคน) หรือลดลงร้อยละ 0.4 ซึ่งมีผู้ทำงานเพิ่มขึ้นและลดลงในสาขาต่างๆ ได้ดังนี้

2.1 ผู้ทำงานลดลง  ได้แก่  ผู้ทำงานสาขาการบริหารราชการ การป้องกันประเทศ และการประกันสังคมภาคบังคับ 2.0 แสนคน (จาก 1.73 ล้านคน เป็น 1.53 ล้านคน)  สาขาที่พักแรมและการบริการด้านอาหาร 1.6 แสนคน (จาก 2.37 ล้านคน เป็น 2.21 ล้านคน)  สาขาการขนส่ง และสถานที่เก็บสินค้า 8.0 หมื่นคน (จาก 1.00 ล้านคน เป็น 0.92 ล้านคน)  สาขาการก่อสร้าง 6.0 หมื่นคน (จาก 2.50 ล้านคน เป็น 2.44 ล้านคน) สาขาภาคเกษตรกรรม 1.0 หมื่นคน (จาก 15.69 ล้านคน เป็น 15.68 ล้านคน)  

2.2 ผู้ทำงานเพิ่มขึ้น  ได้แก่ สาขาการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์ และรถจักรยานยนต์ 1.0 แสนคน (จาก 5.65 ล้านคน เป็น 5.75 ล้านคน) สาขาการผลิต 9.0 หมื่นคน (จาก 5.72 ล้านคน เป็น 5.81 ล้านคน)  สาขากิจกรรมทางการเงิน และการประกันภัย 6.0 หมื่นคน (จาก 0.37 ล้านคน เป็น 0.43 ล้านคน) สาขากิจกรรมการบริการด้านอื่น ๆ เช่น กิจกรรมบริการเพื่อสร้างเสริมสุขภาพร่างกาย การดูแลสัตว์เลี้ยง การบริการซักรีด และซักแห้ง เป็นต้น 3.0 หมื่นคน (จาก 0.66 ล้านคน เป็น 0.69 ล้านคน) สาขากิจกรรมอสังหาริมทรัพย์ 3.0 หมื่นคน (จาก 0.11 ล้านคน เป็น 0.14 ล้านคน)  เป็นต้น

 

3. ผู้ว่างงาน

3.1 ผู้ว่างงานทั่วประเทศมีจำนวน 2.64 แสนคน  คิดเป็นอัตราการว่างงาน ร้อยละ 0.7 ของกำลังแรงงานรวม  (เพิ่มขึ้น 1.7 หมื่นคน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2555) ประกอบด้วย  ผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อนจำนวน 1.37 แสนคน  อีกส่วนหนึ่งเป็นผู้ว่างงานที่เคยทำงาน มาก่อนจำนวน 1.27 แสนคน โดยเป็นผู้ว่างงานที่มาจากภาคบริการและการค้า 5.5 หมื่นคน ภาคการผลิต 5.4 หมื่นคน และภาคเกษตรกรรม 1.8 หมื่นคน

3.2 ผู้ว่างงานเป็นผู้มีการศึกษาอยู่ในระดับอุดมศึกษา 1.04 แสนคน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 5.9 หมื่นคน  มัธยมศึกษาตอนต้น 5.1 หมื่นคน ระดับประถมศึกษา 3.1 หมื่นคน และไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษา 1.9 หมื่นคน 

3.3 ผู้ว่างงานส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 8.4 หมื่นคน  ภาคกลาง 7.7 หมื่นคน  ภาคใต้ 4.7 หมื่นคน  กรุงเทพมหานคร 3.2 หมื่นคน และภาคเหนือ 2.4 หมื่นคน หากคิดเป็นอัตราการว่างงาน ภาคใต้ ภาคกลาง และกรุงเทพมหานครมีอัตราการว่างงานสูงสุดร้อยละ 0.8 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 0.6  และภาคเหนือร้อยละ 0.3



25/Nov/2013

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา