ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

ลูกหนี้เฮ!! เงินเดือนไม่เกิน 20,000 บ. ไม่ถูกยึดฯใช้หนี้ - คมชัดลึก 10 ก.ค. 60

แก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ลูกหนี้หายใจโล่งอกขึ้น อย่างน้อยก็ยังใช้ชีวิตอยู่ได้ เงินเดือนส่วนที่ไม่เกิน 20,000 บาท ไม่ถูกเจ้าหนี้ยึดใช้หนี้

            รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อวันที่ 6 ก.ค.ที่ผ่านมา พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2560 ได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาและให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 60 วันนับแต่วันลงประกาศฯ ซึ่งก็คือ วันที่ 6 กันยายนนี้

            น.ส. รื่นวดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี กล่าวว่า พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งฯฉบับนี้ เป็นการแก้ไขครั้งสำคัญในภาคบังคับคดี เป็นการปฏิรูปใหม่ทั้งหมดในส่วนการบังคับคดี เนื่องจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในส่วนการบังคับคดีมีการใช้มานานกว่า 20 ปี จึงต้องปรับให้สอดรับกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน โดยมีการดูแลเรื่องพื้นฐานของลูกหนี้ด้วย ซึ่งก็คือ ส่วนที่ 2 ทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี คือ มาตรา 301 และมาตรา 302  โดยมาตรา 301 เป็นเรื่องของทรัพย์สิน ส่วนมาตรา 302  เป็นเรื่องของเงิน หรือสิทธิเรียกร้องที่เป็นเงินของลูกหนี้ที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี 

            อธิบดีกรมบังคับคดี กล่าวอีกว่า  ในส่วนของทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี  มุ่งไปถึงการดำรงชีพของลูกหนี้ตามคำพิพากษาให้สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้ตามความจำเป็นและความเหมาะสม ตามสมควรกับฐานะของลูกหนี้ อย่างเช่น กรณี‘ เบี้ยเลี้ยงชีพ’ เดิม เบี้ยเลี้ยงชีพที่ไม่สามารถยึดบังคับคดีมีจำนวนเงินไม่เกิน 10,000 บาท  แต่ปัจจุบันนี้สภาพเศรษฐกิจก็เปลี่ยนไปมาก ตามมาตรา 302  (1) จึงปรับเป็นไม่เกิน 20,000 บาท  ดังนั้น ถ้าลูกหนี้มีเงินเดือนไม่เกิน 20,ooo บาท จะไม่ถูกบังคับคดี  เพราะจะบังคับคดีได้เฉพาะส่วนที่เกิน 20,000 บาท เท่านั้น  เพราะ คำว่า เบี้ยเลี้ยงชีพ หมายถึง เงินเดือน หรือเงินที่ได้เป็นคราวๆก็ได้   แต่ถ้าเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง บํานาญ บําเหน็จ  บำเหน็จตกทอดทายาท  เบี้ยหวัด หรือรายได้อื่นในลักษณะเดียวกันของข้าราชการ เจ้าหน้าที่ หรือลูกจ้างในหน่วยราชการ ตามมาตรา  302( 2 ) จะไม่ถูกบังคับคดีเลย โดยไม่ต้องดูว่าเกินจำนวน 20,000 บาท หรือไม่  ดังนั้นต้องดูว่าลูกหนี้มีสถานะเป็นอะไรด้วย กล่าวคือ ถ้าเป็นคนทั่วไป ต้องเป็นเงินเดือนส่วนที่เกิน 20,ooo บาท จึงจะบังคับคดีได้ แต่ถ้าเป็นข้าราชการ เงินเดือน เงินบำนาญ บังคับคดีไม่ได้เลย 

            ‘ส่วนคนที่ไม่ได้มีเงินเดือนประจำแต่มีเงินได้ในลักษณะ 3-4 เดือน  ได้เงินมาก้อนหนึ่ง เช่น  50,000 บาท ก็เข้ามาตรา 302(1) เงินได้เป็นคราวๆ ซึ่งไม่จำเป็นต้องได้ประจำทุกเดือนไป ในกรณีนี้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจใช้ดุลยพินิจพิจารณายกเว้นการบังคับคดีให้ได้ตามสมควรในส่วนที่เกิน 20,000 บาท  และ กม.ยังเปิดช่องว่า หาก เจ้าหนี้ ลูุกหนี้ หรือ บุคคลภายนอก ไม่เห็นด้วยกับจำนวนเงินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนด  สามารถร้องต่อศาลได้ ’น.ส.รื่นวดี กล่าว 

            น.ส.รื่นวดี กล่าวในตอนท้ายว่า ในส่วนของทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ไม่ถูกบังคับคดี ตามมาตรา 301 นั้น คือ ในส่วนของเครื่องนุ่งห่มหลับนอน เครื่องใช้ในครัวเรือน หรือ เครื่องใช้สอยส่วนตัว โดยประมาณรวมกันราคาไม่เกินประเภทละ 20,ooo บาท รวม 3 ประเภทเป็นเงิน 60,000 บาท  ไม่ถูกบังคับคดี จากเดิม 5o,ooo บาท และในส่วนเครื่องมือ เครื่องใช้  รวมทั้งสัตว์ สิ่งของ ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพของลูกหนี้ ราคารวมกันโดยประมาณไม่เกิน 100,000 บาท  ก็ไม่อยู่ในการบังคับคดีเช่นกัน  



10/Jul/2017

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา