ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

วงล้อเศรษฐกิจ : ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ - ข่าวสด 20 เมษายน 2561

วิจัยกรุงศรี ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

 

ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2561 ค่าแรงขั้นต่ำของไทยจะปรับขึ้น ทั่วประเทศเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปีหรือนับจากปี 2556 ซึ่งมีการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำสู่ระดับ 300 บาทต่อวัน

 

ในปี 2561 ค่าแรงขั้นต่ำรายวันจะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 308-330 บาท จาก 305-310 บาท ในปี 2560 หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 3.4% 

 

ประเมินว่า การปรับค่าแรงขั้นต่ำครั้งนี้จะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น เช่น อุตสาหกรรมเครื่องหนัง เฟอร์นิเจอร์ และสิ่งทอ และกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก (SME)

 

แต่ผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมยังค่อนข้างจำกัด ทั้งในแง่ต้นทุนค่าจ้าง ต้นทุนการผลิต และราคาสินค้าอุปโภคบริโภค รวมถึงการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศ

 

ประเมินว่า ผลจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำครั้งนี้จะทำให้ต้นทุนการผลิตโดยรวมเพิ่มขึ้นไม่ถึง 1% การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในปีนี้ที่เฉลี่ย 3.4% คาดว่าจะส่งผลให้ค่าจ้างของแรงงานในระดับอื่นๆ ปรับเพิ่มขึ้นตามไปด้วย 

 

โดยรวมแล้วจะทำให้ต้นทุนค่าแรงทั้งประเทศเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1.1% และจะส่งผลให้ต้นทุนการผลิตทั้งประเทศเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 0.95% 

 

ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของต้นทุนการผลิตสามารถจำแนก ผลกระทบเป็นสองส่วน

 

ส่วนแรกคือ ผลกระทบทางตรง 0.13% ซึ่งเป็นผลจากการ เพิ่มขึ้นของค่าจ้างเฉพาะปัจจัยการผลิตด้านแรงงาน

 

ส่วนที่สองคือ ผลกระทบทางอ้อม 0.82% เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาปัจจัยการผลิตอื่นๆ หรือเป็นการเพิ่มขึ้นของต้นทุนค่าแรงที่แฝงอยู่ในราคาสินค้าขั้นกลางและวัตถุดิบ

 

นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นของต้นทุนการผลิตดังกล่าวคาดว่าจะส่งผ่านมายังราคาสินค้าผู้บริโภค 0.62% ซึ่งอาจจะมีส่วนช่วย ผลักดันให้อัตราเงินเฟ้อที่ค่อนข้างต่ำในปัจจุบันให้ทยอยเข้าสู่กรอบเป้าหมายของธนาคารแห่งประเทศไทยได้ในช่วงกลางปีนี้ 

 

อย่างไรก็ตาม การเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำครั้งนี้อาจต้องระวังผล กระทบต่อภาคการผลิตบางกลุ่มโดยเฉพาะกลุ่มที่ใช้แรงงาน เข้มข้นและกลุ่ม SMEs

 

ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์ภาพกว้างทั้งประเทศพบว่า การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำมีความสอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ อีกทั้งผลกระทบโดยรวมยังค่อนข้างจำกัดทั้งในแง่การเพิ่มขึ้นของต้นทุนแรงงานเฉลี่ย ต้นทุนการผลิตรวม และราคาสินค้าผู้บริโภค รวมถึงการเคลื่อนย้ายแรงงาน คาดว่าการเพิ่มขึ้นของค่าแรงขั้นต่ำ 1.0% จะส่งผลให้ค่าแรงเฉลี่ยเพิ่มขึ้นในอัตรา 0.31% และจะทำให้ต้นทุนของภาคการผลิตเพิ่มขึ้น 0.27% ซึ่งจะส่งผ่านมายังราคาสินค้าผู้บริโภค 0.18%



24/Apr/2018

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา