ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

“แรงงานก่อสร้าง” อึ้ง , ประชาชาติ 31 มีค. 62

คอลัมน์ ดาต้าเบส

นโยบายหาเสียงจากพรรคการเมือง 2 ขั้วแกนนำ ไม่ว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ล้วนมีความเหมือนอยู่ตรงการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ จาก 320 บาท เพิ่มเป็น 400-425 บาท

กล่าวสำหรับธุรกิจรับเหมาก่อสร้างอาคาร บริษัทมหาชนในตลาด “พรีบิลท์” ระบุว่า มีแรงงานก่อสร้างในมือ 4,000 คน ส่วนใหญ่ 80% เป็นแรงงานต่างด้าวที่ได้รับประโยชน์ 100% จากนโยบายค่าแรงขั้นต่ำของรัฐบาลไทย โดยไม่จำเป็นต้องมีฝีมือ นั่นหมายความว่า ค่าแรงขั้นต่ำกลายเป็นค่าตัวของ “แรงงานไร้ฝีมือ” หรือกรรมกรแบกหาม

ในขณะที่แรงงานก่อสร้างคนไทยมีจำนวนน้อยกว่า เหตุผลเพราะคนไทยเลือกงาน ถ้าเข้าสู่อาชีพแรงงานมักเลือกสมัครใจไปทำเป็นแรงงานภาคอุตสาหกรรมมากกว่า เข้างาน-เลิกงานเป็นเวลา มีพรรคพวกเพื่อนฝูงเยอะกว่า

ผลกระทบทางอ้อมทำให้ “แรงงานฝีมือ” มีค่าตัวเพิ่มกว่าค่าแรงขั้นต่ำ อาทิ ช่างฉาบปูน ช่างปูกระเบื้อง ช่างสี ช่างไฟฟ้า ว่ากันที่ตัวเลข 400-700 บาทขึ้นไป

เจาะไซต์ธุรกิจรับสร้างบ้าน ซึ่งบริษัทเปิดไซต์ก่อสร้างบ้านบนที่ดินลูกค้า ทำทีละหลัง ยกตัวอย่าง “มาสเตอร์แปลน 101” เป็นกลุ่มสร้างบ้านแพงหลังละ 20-200 ล้านบาท

โดยธุรกิจรับสร้างบ้านไม่แตกต่างจากรับเหมา ที่ต้องพึ่งการใช้แรงงานก่อสร้างแบบเข้มข้น มี 3 กรุ๊ปปิ้งงานด้วยกัน 1.งานโครงสร้างคอนกรีต 2.งานก่ออิฐ ฉาบปูน ปูกระเบื้อง 3.งานฟินิชชิ่ง กว่าจะเสร็จสมบูรณ์เป็นบ้าน 1 หลัง

ทุกวันนี้ค่าแรงขั้นต่ำ 320 บาท แต่ราคาค่าจ้างกรรมกรหรือจับกังจ่ายจริง 330-350 บาท ในขณะที่แรงงานฝีมือขึ้นไปอยู่ที่ 500-800 บาท/วัน

ในขณะที่ฟากดีเวลอปเปอร์ระบุว่า นโยบายหาเสียงขึ้นค่าแรงขั้นต่ำวันละ 400 บาท หรือขึ้นทีเดียว 30% ถือเป็นนโยบายปุ๊บปั๊บ คงตั้งรับไม่ทัน นั่นหมายถึงผลกระทบอยู่ในระดับรุนแรง

แนวทางที่ควรจะเป็น อยากให้รัฐบาลทำแบบค่อยเป็นค่อยไป การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำควรตั้งอยู่บนดัชนีค่าครองชีพ+อัตราเงินเฟ้อ+ค่าทักษะฝีมือ แนวทางนี้ทำให้ธุรกิจก็อยู่ได้ แรงงานก็มีรายได้เพิ่ม โดยการขึ้นค่าแรงเฉลี่ยอยู่ที่ปีละ 5-10%

ไม่ว่าจะปรับขึ้นหนักหรือเบาแค่ไหน สุดท้ายผู้บริโภคปลายทางก็ต้องแบกรับภาระทั้งหมด เพราะค่าแรงถูกบวกเข้าไปในราคาสินค้าโดยอัตโนมัติ



12/Apr/2019

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา