ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

ล้งตะวันออกวิกฤตแรงงานเถื่อน 40% รัฐจับกุมหนักฤดูผลไม้ทำส่งออกแสนล้านสะเทือน , ประชาชาติธุรกิจ 8 เมษายน 2562

“สมาคมผู้ประกอบการส่งออกทุเรียน มังคุด” รับแทบทุกล้งมีแรงงานไม่ถูกกฎหมาย 20-40% เสนอรัฐผ่อนปรนการจับกุม ชี้หากล้งใหญ่ปิดกิจการ 30-40% เกษตรกรชาวสวนได้รับผลกระทบหนัก เหตุต้นฤดูผลไม้ “มังคุด-ทุเรียน-เงาะ” 8 หมื่นตัน มูลค่าส่งออกกว่า 1 แสนล้านบาท กำลังทยอยออกสู่ตลาด

 

นายธีระ วงษ์เจริญ ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดจันทบุรี และที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ผลไม้จังหวัดจันทบุรีสร้างมูลค่าได้ปีละ 80,000 ล้านบาท ราคาผลไม้ปีนี้ดี คาดว่าน่าจะสร้างรายได้ถึง 100,000 ล้านบาท แต่เกษตรกรกำลังเผชิญกับภาวะราคามังคุดตกต่ำช่วงปลายเดือนมีนาคม จาก 80 บาท/กก. เหลือ 50-35-30 บาท/กก. เม็ดเงินหายไปกว่า 400 ล้านบาท ขณะที่ล้งผลไม้มีปัญหาการขาดแคลนแรงงานเก็บผลไม้ โดยเหลือเวลาเพียง 7 วันก่อนสงกรานต์ที่แรงงานกัมพูชาสวนผลไม้ประมาณ 30,000 คนจะกลับบ้านหมด ทำให้ต้องรีบดำเนินการประชุม เพราะเดือนเมษายนนี้จะมีผลไม้ออกสู่ตลาดประมาณ 80,000 ตัน

 

ซึ่งที่ประชุมเสนอแนวทางรองรับเร่งด่วน 4 ข้อ คือ 1) ปัญหาแรงงานกัมพูชากลับบ้านช่วงสงกรานต์ 15 วัน ซึ่งตรงกับมังคุด ทุเรียน เงาะออกสู่ตลาด ต้องหาแรงงานภายในประเทศมาทดแทน ส่วนแรงงานกัมพูชาที่เข้ามาทำงานควรผ่อนปรนเรื่องการใช้เอกสารหนังสือเดินทาง (พาสปอร์ต) และหนังสือผ่านแดน (บอร์เดอร์พาส) เพราะสภาพที่แท้จริง แรงงานกัมพูชาที่ไม่ถูกต้องในล้งประมาณ 40% หากถูกเจ้าหน้าที่จับกุมจะส่งผลให้ล้งปิดการรับซื้อ และเกษตรกรจะได้รับผลกระทบหนัก

 

2) ปัญหาด้านการตลาด เพื่อให้เกษตรกรได้รับความเป็นธรรม ล้งและลูกล้งผู้รับซื้อรายย่อยต้องประกาศราคารับซื้อทุกวันตั้งแต่ 09.00 น. 3) ล้งที่มีปัญหารับซื้อผลไม้ที่ไม่มี GAP และล้งเองไม่มี GMP ได้ให้หน่วยงานเข้ามาช่วยอำนวยการความสะดวกทำให้ถูกต้อง 4) การระบายผลผลิตทั้งในและต่างประเทศ นำกลไกของสหกรณ์มาใช้เพื่อให้สหกรณ์เป็นตัวนำตลาดให้ได้ ตัดพ่อค้าคนกลาง และสภาเกษตรกรจังหวัด 3 จังหวัดภาคตะวันออกช่วยกันกระจายผลผลิตทุกเกรดไปนอกพื้นที่

 

ส่วนการแก้ปัญหาแรงงานอย่างเร่งด่วนก่อนถึงช่วงสงกรานต์ มีการเสนอให้ผ่อนปรนการเข้มงวดจับกุมแรงงานในช่วงฤดูกาลผลไม้ และตั้งศูนย์ One Stop Service (OSS) ที่ชายแดน และหาวิธีการนำแรงงานภายในประเทศทดแทน ทั้งนี้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี (อบจ.) ได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการติดตามการบริหารจัดการผลผลิตเกษตรภาคตะวันออก เพื่อเฝ้าระวังดูแลแก้ปัญหาเรื่องผลไม้ตลอดฤดูกาล

 

แรงงานในล้งไม่ถูกกฎ 40%

นายสุชาติ จันทร์เหลือง หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี กล่าวว่า ราคามังคุดตกต่ำไม่ใช่ปัญหาการล้นตลาด แต่เกิดจากมังคุดสุกเร็วตั้งแต่ช่วงปลายเดือนมีนาคม จากที่คาดการณ์ไว้ต้นเดือนเมษายน เนื่องจากฝนตกและแดดจัด ล้งมังคุดในจันทบุรี 60 กว่าแห่ง วางแผนจะเปิดรับซื้อเดือนเมษายน จึงเพิ่งเปิดเพียง 6 แห่ง และต้องรองรับผลผลิตทั้ง 3 จังหวัด ภาพรวมปีนี้ภาคตะวันออกมังคุดผลผลิตเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าตัว

 

นายภานุวัฒน์ ไหมแก้ว นายกสมาคมผู้ประกอบการส่งออกทุเรียน มังคุด กล่าวว่า แรงงานกัมพูชาแทบทุกล้งเอกสารไม่ถูกต้อง 20-40% คือมีหนังสือเดินทาง หรือหนังสือผ่านแดน แต่บางคนยังไม่ได้ทำหรืออยู่ระหว่างขอทำใบอนุญาตทำงาน เพราะแรงงานมีการเข้า-ออกตลอดเวลา บางคนมา 4-5 วัน หนีไปทำงานที่อื่น ต้องรับเข้ามาใหม่ จึงอยากเสนอให้ภาครัฐตั้งหน่วยวันสต็อปเซอร์วิสบริการที่ชายแดนบ้านแหลม บ้านผักกาด เพื่อให้ดำเนินการทุกอย่างเสร็จสิ้นที่ชายแดน และระหว่างนี้ขอผ่อนปรนกรณีเจ้าหน้าที่เข้ามาจับกุม ถ้าล้งใหญ่ 30-40% เกิดความตระหนกส่งคนงานกลับ หรือปิดล้ง เกษตรกรจะได้รับผลกระทบหนัก

 

นายวุฒิพงศ์ รัตนมณฑ์ ประธานกรรมการหอการค้าจังหวัดตราด กล่าวว่า แรงงานกัมพูชาจังหวัดชายแดน เช่น พระตะบอง-ตราด ต้องมีการคุยกันระดับประเทศ เพราะมีรายละเอียดที่ยังไม่สะดวก แม้จะผ่อนผันให้จัดทำเอกสารบอร์เดอร์พาส แต่แรงงานส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่ในจังหวัดชายแดน ต้องใช้เวลานาน เสียค่าใช้จ่ายสูงคนละ 4,000 บาท นายจ้างต้องสำรองเงินไปก่อน และยังมีปัญหาแรงงานหนีไปทำงานกับนายจ้างอื่น ๆ อีก ภาครัฐควรผ่อนปรนการเข้ามาทำงานในช่วงฤดูกาลผลไม้สั้น ๆ 3-4 เดือน ส่วนการใช้แรงงานนอกพื้นที่ทดแทนเป็นเรื่องยาก และแรงงานกัมพูชามีความอดทนสู้งานมากกว่าแรงงานคนไทย

 

จี้ล้งขึ้นป้ายราคาซื้อชัดเจน

นายสว่าง ชื่นอารมณ์ ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดตราด กล่าวว่า ภาครัฐควรผ่อนปรนปัญหาเรื่องแรงงาน เพราะมังคุดเป็นผลไม้ที่ต้องใช้แรงงานมากกว่าทุเรียน 2 เท่า และปีนี้ผลผลิตมากขึ้นกว่าเท่าตัว หรือกรณีล้งไม่มีมาตรฐาน GMP ส่งออกไม่ได้ ใช้วิธีสวมสิทธิ์กันอยู่ เจ้าหน้าที่ต้องดูแลทำแบบบูรณาการเพื่อความสะดวกรวดเร็ว และด้านการตลาด เห็นด้วยที่จะให้ล้งประกาศราคารับซื้อแต่ละวันช่วงเช้าตั้งแต่ 09.00 น. เพราะเกษตรกรจะได้ข้อมูลเลือกตัดสินใจ ที่ผ่านมากว่าล้งจะแจ้งราคา 15.00 น. หรือ 16.00 น. ชาวสวนกลับตัวไม่ทัน และไม่มีทางเลือก

 

นายไพฑูรย์ โกเมน เกษตรและสหกรณ์จังหวัดจันทบุรี กล่าวว่า มีการแจ้งร้องเรียนว่าเจ้าหน้าที่ส่วนกลางจับกุมแรงงาน ล้งถูกปรับเป็นแสนบาท และส่งดำเนินคดีตามกฎหมาย เมื่อมีข่าวกระจายว่าจะดำเนินการตรวจสอบทุกล้ง จึงทำให้ล้งไม่กล้ารับซื้อเกรงถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย ส่วน GMP สวพ.6 สำรวจ ล้งทั้งหมดมี 605 ล้ง ได้ GMP 160 ล้ง จำนวนล้งที่เพิ่มขึ้นมาก เจ้าหน้าที่ต้องระดมช่วยกันให้ทันกับสถานการณ์

 

นายชวภณ ศตนันท์นารา จัดหางานจังหวัดจันทบุรี ชี้แจงว่า ปัญหาแรงงานที่จะเข้ามาในช่วงที่ขาดแคลน ที่ผ่านมาเป็นปัญหาทางจิตวิทยาสร้างความกลัว ความตกใจ บางเรื่องไม่สามารถบังคับหรือจัดการได้ เนื่องจากเกี่ยวข้องกับนโยบายจากทางส่วนกลาง แต่ 2-3 ปีที่ผ่านมาได้ปฏิบัติตามนโยบายของผู้ว่าราชการจังหวัด เรื่องค่าใช้จ่ายและกระบวนการขั้นตอนที่ยุ่งยากได้ผ่อนปรนในหลายเรื่องเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ และไม่ได้เสียค่าใช้จ่ายสูง ค่าใบอนุญาต ค่าตรวจโรค ค่าใช้จ่ายประมาณ 1,325 บาทต่อคน ทำงาน 3 เดือน ส่วนปัญหาแรงงานไม่พอช่วงเดือนเมษายน หากต้องการให้มีจัดตั้งศูนย์ OSS พร้อมดำเนินการ



12/Apr/2019

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา