ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

เปิดสิทธิประโยชน์ กฎหมายคุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ เพิ่มสิทธิ์ลูกจ้างอะไรบ้าง ?, Kapook.com 9 เม.ย.62

พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน 2562 ประกาศใช้เป็นกฎหมายแล้ว ! พร้อมเพิ่มสิทธิประโยชน์ลูกจ้างเพียบ มาเช็กเลยว่ามีสิทธิ์อะไรที่ดีกว่าเดิมบ้าง  
 

 
          ถือเป็นข่าวดีของลูกจ้างและมนุษย์เงินเดือนกันเลย เมื่อล่าสุดวันที่ 5 เมษายน 2562 ราชกิจจานุเบกษาได้ประกาศให้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 เป็นกฎหมายเรียบร้อยแล้ว โดยมีประเด็นสำคัญคือการเพิ่มสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ให้ดีกว่าเดิม ส่วนจะเพิ่มสิทธิ์อะไรให้ลูกจ้างบ้างนั้น วันนี้เราสรุปรายละเอียดมาฝาก  


• กรณีเลิกจ้าง  

 
          เพิ่มอัตราค่าชดเชยกรณีเลิกจ้างให้กับลูกจ้างที่ทำงานครบ 20 ปีขึ้นไป เป็น 400 วัน จากเดิม 300 วัน โดยจะได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่า 75% ของค่าจ้างในวันทำงาน ทำให้ปัจจุบันหลักเกณฑ์การจ่ายค่าชดเชยเลิกจ้าง เป็นดังนี้   
 

          1. ทำงานต่อเนื่องครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี ได้ค่าชดเชยไม่น้อยกว่า 30 วัน   
          2. ทำงานครบ 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี ได้เงินชดเชยไม่น้อยกว่า 90 วัน   
          3. ทำงานครบ 3 ปี แต่ไม่เกิน 6 ปี ได้เงินชดเชยไม่น้อยกว่า 180 วัน  
          4. ทำงานครบ 6 ปี แต่ไม่เกิน 8 ปี ได้เงินชดเชยไม่น้อยกว่า 240 วัน   
          5. ทำงานครบ 10 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี ได้เงินชดเชยไม่น้อยกว่า 300 วัน   

          6. ทำงานครบ 20 ปีขึ้นไป ได้เงินชดเชยไม่น้อยกว่า 400 วัน  
 
          สำหรับเงินชดเชยเลิกจ้าง นายจ้างจะจ่ายให้ในกรณีที่ลูกจ้างถูกเลิกจ้างโดยที่ไม่ได้มีความผิด หรือไม่ได้ลาออกเองโดยสมัครใจ  
 
กฎหมายคุ้มครองแรงงาน


          นอกจากนี้ เมื่อมีการเลิกจ้าง นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้าง, ค่าล่วงเวลา, ค่าทำงานในวันหยุด, ค่าล่วงเวลาในวันหยุด และเงินที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายตามกฎหมาย ให้แก่ลูกจ้างภายใน 3 วันนับตั้งแต่วันที่เลิกจ้าง 
 

• กรณีนายจ้างผิดนัดไม่จ่ายค่าตอบแทน  
 
          ครอบคลุมทั้งกรณีนายจ้างไม่คืนหลักประกันที่เป็นเงิน, ไม่จ่ายเงินกรณีเลิกสัญญาจ้างโดยไม่แจ้งล่วงหน้า, ไม่จ่ายค่าล่วงเวลา, ค่าทำงานวันหยุด, ค่าล่วงเวลาในวันหยุด หรือเงินชดเชยกรณีหยุดกิจการ กำหนดให้นายจ้างต้องเสียดอกเบี้ยให้ลูกจ้างจำนวน 15% ต่อปีตามระยะเวลาที่ผิดนัด  


• กรณีเปลี่ยนนายจ้าง 

 
          หากมีการเปลี่ยนแปลงตัวนายจ้าง นิติบุคคล และทำการจดทะเบียนโอนหรือควบกับนิติบุคคลอื่น จนมีผลให้ลูกจ้างกลายเป็นลูกจ้างของนายจ้างใหม่ กรณีนี้ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างด้วย และนายจ้างใหม่จะต้องให้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ตามเดิมกับที่ลูกจ้างเคยได้รับ 


• กรณีย้ายสถานประกอบการ 

 
กฎหมายคุ้มครองแรงงาน
 
          นายจ้างต้องติดประกาศให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วันก่อนย้ายสถานประกอบการ หากไม่ประกาศ นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษให้ลูกจ้างจำนวน 30 วัน  
 

          นอกจากนี้ หากลูกจ้างไม่ต้องการย้ายไปทำงานที่ใหม่ สามารถแจ้งให้นายจ้างทราบเป็นหนังสือภายใน 30 วันที่ประกาศ โดยจะมีสิทธิ์ได้รับเงินชดเชยพิเศษสูงสุด 400 วัน ตามหลักเกณฑ์การจ่ายค่าชดเชยเลิกจ้าง 

• กรณีลากิจ 

 
          เพิ่มสิทธิ์ให้ลูกจ้างสามารถลากิจธุระอันจำเป็น ได้ปีละไม่น้อยกว่า 3 วันทำงาน โดยที่ยังได้รับค่าจ้างตามปกติ 


• กรณีลาคลอดบุตร 

 
          เพิ่มสิทธิ์ให้ลูกจ้างหญิงที่ตั้งครรภ์ สามารถลาเพื่อคลอดบุตรได้ไม่เกิน 98 วัน ซึ่งรวมถึงวันลาเพื่อตรวจครรภ์ก่อนคลอดบุตรและให้นับรวมวันหยุดที่มีระหว่างวันลาด้วย จากเดิมลาคลอดบุตรได้ 90 วัน


          ทั้งนี้ ลูกจ้างจะได้รับค่าจ้างระหว่างลาคลอดบุตรจากประกันสังคม 45 วัน และจากนายจ้างอีกไม่เกิน 45 วัน 
 

• ลูกจ้างหญิงชายมีสิทธิ์เท่าเทียมกัน 
 
กฎหมายคุ้มครองแรงงาน
 

          นายจ้างต้องกำหนดค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดให้กับลูกจ้างชายหรือหญิงในอัตราที่เท่าเทียมกัน หากมีคุณภาพและปริมาณงานที่เท่ากัน  

          ทั้งหมดนี้ก็เป็นสิทธิประโยชน์สำคัญของกฎหมายคุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ ซึ่งได้ปรับปรุงเพื่อให้ลูกจ้างได้รับความคุ้มครองที่เหมาะสมมากขึ้น โดยจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 5 พฤษภาคม 2562

 
 
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก


12/Apr/2019

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา