ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

โค้งสุดท้ายแล้ว! ประกันสังคมแจงคืนสิทธิ-มีสุข ผู้ประกันตนตาม ม.39 ได้ภายใน 19 เม.ย.นี้ , ประชาชาติธุรกิจ 18 เมย. 62

“อนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ” เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงการดำเนินการคืนสภาพผู้ประกันตนมาตรา 39 ที่สิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตนได้กลับเข้าสู่ระบบประกันสังคม เช่นเดิมอีกครั้งว่า ขณะนี้สำนักงานประกันสังคม ได้ดำเนินการติดตามผู้ประกันตนที่สิ้นสภาพกลับเป็นผู้ประกันตน โดยส่งหนังสือแจ้งไปยังกลุ่มผู้มีสิทธิจำนวน 777,228 คน ทั้งนี้ซึ่งผลการติดตามมีผู้ประกันตน ติดต่อกลับสู่ระบบประกันสังคมแล้วขณะนี้จำนวน 379,606 คน และแบ่งเป็นขอกลับคืนสิทธิเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 จำนวน 167,234 คน และกลับเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 มาสมัครมาตรา 40 หรือขอรับสิทธิ ชราภาพ/หรือทายาทมาขอรับสิทธิกรณีตาย ไปแล้วจำนวน 212,372 คน

 

อย่างไรก็ดีขอให้ผู้ประกันตน มาตรา 39 ที่จะคืนสภาพรีบดำเนินการติดต่อที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ทุกแห่งที่ท่านสะดวก หรือทางไปรษณีย์ (แนบแบบ สปส. 1-20/1) หรือทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึง 19 เมษายน 2562

 

โดยผู้ประกันตนจะต้องชำระเงินสมทบเดือนละ 432 บาท ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปนับแต่วันที่ได้รับอนุมัติให้กลับเป็นผู้ประกันตน โดยจ่ายเงินสมทบครบตามเงื่อนไขได้หลายช่องทางด้วยกันคือ จ่ายด้วยเงินสด ณ สำนักงานประกันสังคมได้ทั่วประเทศ ผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารกรุงไทย ธนาคารธนชาต ทุกสาขา ผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิสทุกสาขา (seven – eleven) ผ่านระบบ Pay at Post ที่เคาน์เตอร์ไปรษณีย์ หรือจ่ายทางธนาณัติ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ทั่วประเทศ พร้อมแนบแบบส่งเงิน (สปส.1-11) ส่งให้สำนักงานประกันสังคมผ่านเคาน์เตอร์เซ็นเพย์ (บริษัทห้างเซ็นทรัล) ทั้งนี้ ยังสามารถจ่ายเงินสมทบโดยวิธีหักบัญชีธนาคาร 7 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารกรุงไทย ธนาคารธนชาติ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารทหารไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารกรุงเทพ

 

ทั้งนี้ ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จะได้รับสิทธิประโยชน์ 6 กรณีเช่นเดิม คือ กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย กรณีคลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร และกรณีชราภาพ สำนักงานประกันสังคมขอย้ำให้ผู้ประกันตนปกป้องสิทธิของตนเอง โดยให้ความสำคัญในการตรวจสอบการนำส่งเงินสมทบด้วยตนเองกับสำนักงานประกันสังคม อย่างสม่ำเสมอ และควรนำส่งเงินสมทบอย่างต่อเนื่อง หากผู้ประกันตนขาดส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน หรือภายในระยะเวลา 12 เดือน ส่งเงินสมทบมาแล้วไม่ครบ 9 เดือน จะสิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตนทันที ทั้งนี้ ผู้ประกันตนสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ทั้ง 12 แห่ง/จังหวัด/สาขา/ ที่ท่านสะดวก



19/Apr/2019

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา