ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

ชงแผนสร้างแรงงานทักษะชั้นสูง “สมคิด” ลั่นถ้าไม่ทำนักลงทุนหนีซบเวียดนามแน่ , ไทยรัฐ 6 กันยายน 2562

“สมคิด” เผยการกำหนดอนาคตเศรษฐกิจ ต้องมุ่งเสริมทักษะ สร้างบุคลากรของไทยให้เก่งเรื่องดิจิทัล และวิศวะ กระตุ้นบีโอไอคิดสูตรใหม่รองรับการย้ายฐานลงทุนของต่างชาติ หวั่นหนีไปเวียดนามหมด มั่นใจเศรษฐกิจไทยไตรมาส 4 เริ่มฟื้น พร้อมชี้ธนาคารโลกอยากร่วมปฏิรูปเศรษฐกิจไทย

 

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “อนาคตเศรษฐกิจไทย เรากำหนดได้” จัดโดยสมาคมเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ ว่า การประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ (ครม.เศรษฐกิจ) วันนี้ (6 ก.ย.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) จะเสนอแนวทางพัฒนาบุคลากรและการสร้างแรงจูงใจลงทุน เพื่อรองรับการย้ายฐานการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ ที่ขณะนี้ไทยไม่สามารถสู้กับเวียดนามได้ แม้นักลงทุนต่างชาติจะสนใจและทยอยเข้ามาหารือเพื่อมาลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เพราะไทยเป็นศูนย์กลางการลงทุนในอาเซียน แต่ไทยไม่มีแรงงานที่มีทักษะชั้นสูงเพียงพอ โดยเฉพาะด้านดิจิทัล และวิศวกร

 

“ถ้าคนของไทยไม่เพียงพอรองรับการย้ายฐานการลงทุนไม่ได้ นักลงทุนต่างชาติเขาก็ไม่มา เพราะอุตสาหกรรมต้องใช้คน แม้ว่าจะมีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI แต่ก็ขึ้นอยู่กับคนทั้งนั้น และถ้ามหาวิทยาลัยของไทยยังผลิตบุคลากรเหล่านี้ได้ปีละไม่กี่พันคนก็จะสู้เวียดนามไม่ได้”

 

ดังนั้น ประเทศไทยต้องคิดวิธีการใหม่ๆในการผลิตบุคลากรที่ไม่จำเป็นต้องมีวุฒิปริญญา แต่สามารถทำงานได้จริง เช่น สร้างความร่วมมือของมหาวิทยาลัยกับบริษัทเอกชนใหญ่ๆ เช่น จะมีวิศวกรไฟฟ้าที่ไหนเก่งเท่าคนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) หรือ จะวิศวกรปิโตรเลียมที่ไหนที่เก่งเท่าคนของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือที่ตนเองได้ชวนทั้งบริษัทโตโยต้า หัวเหว่ย กูเกิล ให้มาตั้งสถาบันการศึกษาด้วยการร่วมมือกับไทยผลิตคนรองรับอุตสาหกรรมใหม่ๆ ถ้าคิดและทำใหม่แบบนี้ ประเทศไทยจะมีบุคลากรที่มีทักษะสูงเพียงพอรองรับการย้ายฐานอุตสาหกรรม ซึ่งทั้งหมดนี้ขอให้มหาวิทยาลัยช่วยไปคิดว่า อยากผลิตบุคลากรด้านใดร่วมกับใคร ขณะที่บีโอไอ ต้องเสนอมาตรการจูงใจขึ้นมา ถ้าคิดแบบนี้เราจะกำหนดอนาคตของเราได้

 

รองนายกรัฐมนตรีกล่าวด้วยว่า สิ่งสำคัญที่สุดในการบริหารเศรษฐกิจคือ การสร้างความเชื่อมั่น เพราะหากประชาชนและนักลงทุนไม่มีความเชื่อมั่นแล้ว จะไม่มีการบริโภค ไม่มีการค้าขาย ไม่มีการส่งออกหรือนำเข้า และไม่มีการลงทุน ดังนั้น ในช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลพยายามทำให้นักลงทุน และประชาชนเกิดความเชื่อมั่นในศักยภาพของเศรษฐกิจไทย แม้ว่า ภาวะเศรษฐกิจโลกจะไม่ดี หลายประเทศเศรษฐกิจถดถอย เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน แต่เศรษฐกิจไทยแค่ติดลบ หรือชะลอตัวเท่านั้นเอง

 

“ผมเชื่อว่า สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนจะเป็นไปอย่างนี้จนกว่าสหรัฐฯ จะมีการเลือกตั้ง ซึ่งประธานาธิบดีโดนัล ทรัมป์ ของสหรัฐฯ ต้องทำให้จีนยอมอะไรซักอย่าง เพื่อให้เป็นผลงานนำไปใช้ในการหาเสียง และเมื่อการเลือกตั้งจบลง สถานการณ์ที่ทุกประเทศประสบ ทั้งเรื่องการค้าและการส่งออกจะดีขึ้น”

 

นอกจากนี้ ประเด็นเศรษฐกิจยุคดิจิทัลที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก สังคมต้องหันมาพึ่งพาการค้าขายผ่านออนไลน์มากขึ้น รัฐบาลจึงต้องการผลักดันอินเตอร์เน็ตหมู่บ้าน รองรับชุมชนสื่อสารทางออนไลน์ในทุกด้าน รวมทั้งการเชื่อมระบบรับ-จ่ายเงินเพื่อดึงทุกด้านเข้าสู่ระบบ และยังต้องการสร้างแรงจูงใจดึงดูดนักลงทุน มาร่วมพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ ภายใน 5 ปี ระบบ AI ระบบ 5G ต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ดังนั้น ทุกคนต้องเตรียมพร้อมรับมือ เพราะเทคโนโลยีสมัยใหม่ก้าวล้ำหน้ามาก ควรดึงมาใช้ในการปรับแผนธุรกิจ

 

อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากการเลือกตั้ง ซึ่งใช้เวลานานกว่า 3 เดือน ถึงจะจัดตั้งรัฐบาลได้ ทำให้ช่วงเวลาดังกล่าวเกิดภาวะชะงักงัน ทั้งเรื่องการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ การลงทุนของรัฐวิสาหกิจ รวมถึงการลงทุนภาคเอกชน ทำให้เศรษฐกิจไตรมาส 2 ขยายตัวเพียง 2.3% และครึ่งปีแรกขยายตัวเพียง 2.6% แต่ขณะนี้กระทรวงการคลัง มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแล้ว เชื่อมั่นว่า ไตรมาส 4 ตัวเลขเศรษฐกิจจะออกมาดี

 

ส่วนการหารือกับนางเบอร์กิท ฮานสล์ ผู้จัดการธนาคารโลกประจำประเทศไทย ภูมิภาคเอเชียตะวันออก และแปซิฟิกนั้น นายสมคิดกล่าวว่า องค์กรต่างประเทศมีความเชื่อมั่นต่อฐานเศรษฐกิจไทย แม้ในช่วงสั้นจะมีปัญหาชะลอตัว ดังนั้น จึงต้องการเข้ามาร่วมกับไทย ในการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจหลายด้าน เพื่อรองรับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 และการลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ ปัญหาความยากจน โดยมอบหมายให้นายกอบศักดิ์ ภูตะกูล รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ประสานกับกระทรวงคลัง สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมผลักดันโครงการกับธนาคารโลกที่คิดว่า จะช่วยเพิ่มศักยภาพให้แก่ประเทศไทยได้.



06/Sep/2019

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา