ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

ความเสี่ยงแรงงานยุค 4.0 หากไม่ปรับตัว-พัฒนาทักษะ, THAIPBS 8 ตุลาคม 62

ก่อนหน้านี้มีการพูดกันมากถึงความเสี่ยงของแรงงานไทยที่จะถูกหุ่นยนต์ หรือ AI แย่งงาน และมีข้อมูลที่ตอกย้ำมากขึ้น เมื่อมีผลงานวิจัยยืนยันว่า กรณีเลวร้ายที่สุดสำหรับแรงงานไทยใน 20 ปีข้างหน้า อาจมีความเสี่ยงตกงานได้มากถึง 12 ล้านคน

 

ความเสี่ยงถูก AI แย่งงาน

 

งานวิจัยในโครงการบทบาทของการค้าและเทคโนโลยี ต่อการปรับเปลี่ยนโครงสร้างตลาดแรงงานของไทย โดยนักวิจัยจากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แก่ ผศ.วรประภา นาควัชระ และนางสาวเนื้อแพร เล็กเฟื่องฟู ได้ศึกษาถึงผลกระทบจากการใช้ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เข้ามาทดแทนแรงงานคน พบว่า ในกรณีที่เลวร้ายที่สุดสำหรับแรงงานไทยใน 20 ปีข้างหน้า อาจมีความเสี่ยงที่จะตกงานได้มากถึง 12 ล้านคน จากการใช้หุ่นยนต์และย้ายฐานการผลิต เว้นแต่อาจมีงานประเภทใหม่ๆอาจเกิดขึ้นในอนาคต หรือแรงงานสามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงได้

 

กลุ่มที่น่าเป็นห่วงคือพนักงานระดับปฏิบัติการในโรงงาน มีหน้าที่ควบคุมเครื่องจักร ทำส่วนประกอบต่างๆ เสมียน หรือที่เรียกว่ากลุ่มที่มีทักษะต่ำ (Low Skill) อีกกลุ่มที่น่ากังวลคือกลุ่มการศึกษาระดับประถมศึกษา มีความเสี่ยงตกงานได้มากถึง 5 ล้านคน ซึ่งแรงงานที่มีอายุ 35 –44 ปีขึ้นไปมีความเสี่ยงมากที่สุด เนื่องจากยิ่งอายุมากขึ้นการเรียนรู้ทักษะใหม่ (Reskill) จะทำได้ยากขึ้น

 

 

ผลการวิจัยยังระบุว่า อาชีพพนักงานบริการตามร้านค้าต่างๆ พนักงานขาย หรือแม้กระทั่งเกษตรกร และชาวประมง ล้วนมีแนวโน้มที่จะตกงานมากขึ้น เป็นผลมาเพราะการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีในปัจจุบัน ที่ผู้คนสามารถเข้าถึงข้อมูลสินค้าต่างๆได้ง่ายขึ้น เกิดการซื้อขายผ่านช่องทางออนไลน์ ส่วนภาคการเกษตรและประมงได้นำเอาเครื่องมือเครื่องจักรขนาดใหญ่มาใช้งานมากขึ้น เพราะผู้ประกอบการมองว่า เครื่องมือเหล่านี้นอกจากจะช่วยทุ่นแรง ลดภาระค่าใช้จ่ายจากการจ้างงานแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดอันตรายกับคนงานในระหว่างการทำงานได้อีกด้วย

 

ดังนั้น 3 ทักษะที่ควรให้ความสำคัญคือ ทักษะในด้านความรู้ความเข้าใจในการจัดการ ทักษะด้านกระบวนการคิดเชิงสร้างสรรค์ และทักษะทางด้านสังคม เพราะทั้ง 3 ทักษะนี้ AI ยังไม่สามารถเข้ามาทำงานแทนคนได้

 

"มองว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องปกติ ดังนั้นแรงงานต้องเปิดใจให้กว้าง พัฒนาตัวเอง เรียนรู้สิ่งใหม่ๆเสมอ ซึ่งแรงงานทุกคนควรจะมีแนวคิดเช่นนี้ไม่ใช่ว่ารอ จริงๆแล้วภาครัฐก็ช่วยในระดับหนึ่ง และนายจ้างก็พยายามช่วยด้วย แต่คุณต้องช่วยตัวคุณเองด้วย" ผศ.วรประภา กล่าว

 

แรงงานชิ้นส่วนยานยนต์เสี่ยงตกงาน 300,000 คน

 

อีกด้านหนึ่งแรงงานในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ก็มีความเสี่ยงตกงานเช่นกัน เพราะการศึกษาเรื่องผลกระทบจากการเปลี่ยนไปใช้รถยนต์ไฟฟ้า ที่มีต่อแรงงานในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ ของ รศ.กิริยา กุลกลการ นักวิชาการคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระบุว่า รถยนต์ไฟฟ้าใช้ชิ้นส่วนลดลงจาก 30,000 ชิ้น เหลือเพียง 1,500-3,000 ชิ้น ผู้ผลิตชิ้นส่วนที่มีความเสี่ยงจะได้รับผลกระทบ ได้แก่ ผู้ผลิตชิ้นส่วนเครื่องยนต์ ท่อไอเสีย หม้อน้ำ ถังน้ำมัน เป็นต้น

 

จากข้อมูลของสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย มีจำนวนประมาณ 816 แห่ง จาก 2,500 แห่ง โดยบริษัทเหล่านี้จ้างแรงงานอยู่จำนวน 326,400 คน หรือ 47% ของแรงงานทั้งหมดในอุตสาหกรรมยานยนต์ และยังมีอุตสาหกรรมสนับสนุนที่จะได้รับผลกระทบมีอีกจำนวน 183 แห่ง

สถานประกอบการขนาดใหญ่มักจะผลิตชิ้นส่วนในหลากหลายกลุ่มจึงสามารถปรับตัว และจะได้รับผลกระทบน้อยกว่าสถานประกอบการเอสเอ็มอี ที่มักจะผลิตชิ้นส่วนเพียงกลุ่มเดียว ซึ่งคาดว่าจะมีจำนวนประมาณ 438-571 แห่ง

 

รศ.กิริยาเสนอให้กระทรวงแรงงานควรจัดตั้งศูนย์ฝึกทักษะใหม่ให้แก่แรงงาน เพื่อพัฒนาทักษะฝีมือให้แรงงานกลุ่มต่างๆ ส่วนกลุ่มแรงงานที่ไม่สามารถปรับตัวได้ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป และการศึกษาน้อย จึงมีข้อจำกัดในการพัฒนาทักษะหรือเรียนรู้ทักษะทำงานใหม่ๆ หรือเปลี่ยนอาชีพ ส่วนใหญ่จึงออกไปทำงานนอกระบบซึ่งขาดความมั่นคงและสวัสดิการ จึงควรได้รับความคุ้มครองจากรัฐให้สามารถยังชีพได้ เช่น ส่งเสริมการออม ส่งเสริมให้ทำประกันสังคมมาตรา 39 และจัดระบบการเลิกจ้างอย่างเป็นธรรม

 

แรงงานยุค 4.0 กับการพัฒนาทักษะ

 

นายธงชัย นพรัตน์ วัย 50 ปี อดีตช่างผสมสีรถยนต์ ของบริษัทผลิตรถยนต์แห่งหนึ่ง ตัดสินใจเข้าโครงการสมัครใจลาออก หรือเออรีรีไทร์ เมื่อปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ( ส.ค. 2562) เพื่อมาทำการเกษตร ด้วยการเลี้ยงสัตว์และปลูกโกโก้ ที่บ้านเกิด อ.หนองมะโมง จ.ชัยนาท แม้อีกเพียง 5 ปีเขาจะเกษียณอายุก็ตาม แต่เพราะการต้องพัฒนาตัวเองและเรียนรู้งานอื่นๆตลอดเวลา เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของบริษัท เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เขาตัดสินใจในอาชีพที่รัก และทำมาตลอด 24 ปี ซึ่งเขายอมรับว่า อายุที่มากขึ้นอาจเป็นข้อจำกัดในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ

 

ธงชัย นพรัตน์ อดีตช่างผสมสีบริษัทผลิตรถยนต์

ธงชัย นพรัตน์ อดีตช่างผสมสีบริษัทผลิตรถยนต์

บริษัทให้พยามยามเรียนรู้ในหลายๆจุด สามารถทำงานทดแทนกันได้ จากปกติที่เราจะอยู่แค่จุดที่เราทำงาน ซึ่งก็มีส่วนให้เราเกิดความเครียด เพราะเราต้องไปเรียนรู้สิ่งใหม่ๆเพิ่มขึ้น

 

เขายังมองว่าในอนาคต หุ่นยนต์จะเข้ามาทดแทนแรงงานคนมากขึ้น เพราะหุ่นยนต์มีศักยภาพสูงในการทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งยังไม่มีข้อเรียกร้องใดๆต่อนายจ้าง

 

ด้านนายมานิตย์ พรหมการีย์กุล ประธานสภาองค์การลูกจ้างแรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย เสนอให้ภาครัฐฝึกอาชีพหรือทักษะใหม่ๆให้แก่แรงงานที่เข้าโครงการสมัครใจลาออก หรือ เออรี่รีไทร์ เพื่อให้พวกเขายังมีรายได้เลี้ยงดูตัวเองและครอบครัว

คนงานเขาอยู่โรงงานเป็นมนุษย์เงินเดือนตลอด บางคนที่ลาออกไปก็ยังคิดไม่ออกว่าจะทำอะไรแต่ลาออกไปก่อน ดังนั้นรัฐก็ต้องเข้ามาดูแล ไม่ว่าจะเป็นการฝึกวิชาชีพตอบโจทย์กับยุคดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นการทำงานออนไลน์ หรือฟรีแลนซ์ต่างๆ

 

ข้อมูลที่ผ่านมา ยังพบว่า บริษัทผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนหลายแห่ง มีการลดการจ้างงานหลายรูปแบบ เช่น โครงการสมัครใจลาออก การไม่รับพนักงานทดแทนคนที่เกษียณอายุไป การลดชั่วโมงทำงานล่วงเวลา การลดวันทำงาน การเลิกจ้างพนักงานซับคอนแทรค รวมทั้งยังมีการย้ายฐานการผลิตกลับประเทศ

 

ดังนั้นถึงเวลาแล้วหรือยัง... ที่แรงงานไทยต้องปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงในยุค 4.0

ภัทรา ชวนชม ผู้สื่อข่าวไทยพีบีเอส รายงาน



03/Nov/2019

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา