ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

แบงก์ชาติ ชี้ "เลิกจ้าง" ปัจจัยน่าห่วงปี 63 แนะเร่งหาทางแก้ , TNN 24 ธันวาคม 62

ผู้ว่า ธปท.ชี้ปีหน้าเศรษฐกิจไทย ยังเติบโตต่อเนื่อง แนะให้ทุกฝ่ายจับตาแก้ไขปัญหาแรงงานตกงานมากขึ้น ย้ำผลกระทบสงครามการค้า ความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ ความไม่แน่นอนทางการเมืองไทย เป็นปัจจัยเสี่ยงปีหน้า

 

24 ธ.ค.62 นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยทิศทางเศรษฐกิจไทยปี 2563 ว่า แม้ว่า ธปท.ได้คาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจปีหน้า ว่าจะขยายตัว 2.8% สูงกว่าปีนี้ที่คาดว่าขยายตัว 2.5% แต่ยอมรับว่า เป็นการประมาณการที่มีโอกาสเบ้ต่ำ หรือมีโอกาสที่การขยายตัวจริง จะต่ำกว่าประมาณการ

 

สำหรับเหตุผลที่มองว่า เศรษฐกิจปี 2563 จะดีกว่าปีนี้มาจาก 1.งบประมาณและการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของรัฐ เริ่มมีผลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ 2.นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายขึ้น 3.ปริมาณการค้าโลกที่แย่ลงมาในปีนี้ จากสงครามการค้า และการส่งออกซึ่งปีนี้คาดว่าติดลบ 3-4% ทำให้ผู้ผลิตและผู้ประกอบการปรับตัว โดยมีหลายๆ ธุรกิจต่างประเทศ ที่ตัดสินใจย้ายฐานการลงทุนมายังประเทศไทย ขณะที่การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยที่ 2.8% อยู่ในระดับที่ไม่น่าพอใจ เพราะต่ำกว่าศักยภาพการเติบโตที่แท้จริง ที่อยู่ในระดับ 3.5-4% และเราต้องเร่งปรับตัวเพื่อให้เกิดการขยายตัวมากกว่านี้ หากมีการดำเนินการที่เหมาะสม จะโตเต็มศักยภาพเหมือน 2-3 ปีที่ผ่านมา

 

ขณะที่ปัจจัยเสี่ยง ที่ต้องติดตามเร่งแก้ไขในปีหน้า คือ ด้านแรงงาน ที่ผลกระทบจากการส่งออก และธุรกิจขนาดกลาง ที่ไม่สามารถแข่งขันกับธุรกิจขนาดใหญ่ได้ ขณะนี้เริ่มเห็นการเลิกจ้าง การลดการจ้างจากรายเดือนเป็นรายวัน การขอลดเวลาทำงานตามกฎหมายแรงงาน เพื่อจ่ายเงินเดือน 75% ในหลายธุรกิจและหลายโรงงานมากขึ้น หากปีหน้าสามารถแก้ปัญหาภาคการผลิต ลดต้นทุนช่วยให้ภาคการผลิตอยู่ได้ ก็จะบรรเทาผลกระทบส่วนนี้ได้

 

ทั้งนี้ ความเสี่ยงอื่นๆที่ต้องติดตาม คือ 1.ความไม่แน่นอนของสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ 2.ความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ส่งผลต่อเงินทุนเคลื่อนย้าย ฯลฯ 3.ความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศ

 

ที่สำคัญนโยบายการเงินที่ ในปีหน้า ก็จะดูแลประชาชนไม่ให้เป็นหนี้เสีย หรือช่วยปรับโครงสร้างหนี้ให้หนี้เสียกลายเป็นหนี้ดี โดยได้หารือกับธนาคารพาณิชย์แล้วว่าจะใช้นโยบายปรับโครงสร้างหนี้เชิงรุก เพราะเห็นว่า มีทั้งเอสเอ็มอี หนี้ส่วนบุคคล หนี้บัตรเครดิต ที่แม้ยังส่งหนี้ได้แต่เริ่มจะส่งไม่ไหว ล่าช้าผิดนัดชำระหนี้บ้างแล้ว ธนาคารพาณิชย์ควรเข้าไปช่วยเหลือไม่ให้เป็นหนี้เสีย

 

ในปีหน้าและอีก 3 ปีข้างหน้า ผู้ว่าแบงก์ชาติ ฝากไว้ 3 เรื่อง คือ 1.คนไทยและธุรกิจไทย ควรให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยง ด้านการเงิน ทั้งของธุรกิจและประชาชน ในภาวะที่หนี้เพิ่มและสภาพคล่องลด 2.เตรียมตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ โดยเฉพาะธุรกิจที่ยังต้องขึ้นกับอากาศ เช่น ภาคการเกษตร จะทำให้อย่างไรให้มีผลผลิตเพิ่มขึ้นภายใต้อากาศที่ผันผวนมากขึ้น 3.การปรับตัว ปรับธุรกิจไปกับเทคโนโลยี ถ้าใช้เป็นเทคโนโลยีจะช่วยลดต้นทุน เพิ่มกำไรให้กับภาคธุรกิจได้



03/Jan/2020

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา