ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

จ่ายครบเลิก 1,119 ลูกจ้างมิตซูฯอิเล็คทริค, ฐานเศรษฐกิจ 17 เมษายน 2563

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานตรวจการเลิกจ้างลูกจ้างมิตซูบิชิ อิเล็คทริคฯ ชลบุรี เผยลูกจ้างได้รับค่าชดเชย-ค่าบอกกล่าวล่วงหน้ากว่า 41 ล้านบาทเรียบร้อยแล้ว ด้านนายจ้างเตรียมจ่ายค่าจ้าง 20 เม.ย.63
 

นายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยถึงกรณีบริษัท มิตซูบิชิ อิเล็คทริค คอนซูเมอร์ โปรดักส์ (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศเลิกจ้างลูกจ้าง จำนวน 1,000 คน ว่า จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงพบว่า บริษัทดังกล่าวมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่จังหวัดชลบุรี ประกอบกิจการผลิตเครื่องปรับอากาศสำเร็จรูปและผลิตชิ้นส่วนเครื่องปรับอากาศ มีลูกจ้างโดยตรง 2,500 คน และมีลูกจ้างรับเหมาค่าแรงอีก 2,600 คน     การเลิกจ้างครั้งนี้เป็นการเลิกจ้างลูกจ้างรับเหมาค่าแรงจากบริษัทรับเหมาค่าแรง 7 บริษัท จำนวนลูกจ้าง  รวม 1,119 คน และให้มีผลทันทีโดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน 2563 

 

ทั้งนี้ บริษัทแจ้งว่า ได้กำหนดจ่ายค่าชดเชยและค่าบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นเงินรวมทั้งสิ้นกว่า 41 ล้านบาท  โดยโอนเข้าบัญชีธนาคารของลูกจ้าง ทุกรายที่ถูกเลิกจ้าง  ซึ่งขณะนี้ลูกจ้างได้รับเงินดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว และจะจ่ายค่าจ้างในวันที่ 20 เมษายน 2563 โดยการโอนเข้าบัญชีธนาคารลูกจ้างเช่นกัน   
 

อธิบดีกสร. กล่าวต่อว่า กสร. ได้สั่งการให้พนักงานตรวจแรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชลบุรีลงพื้นที่ไปพูดคุยกับนายจ้าง ลูกจ้าง พร้อมทั้งชี้แจงสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายให้แก่นายจ้างลูกจ้างได้ทราบเรียบร้อยแล้ว  

อย่างไรก็ตาม กสร.ได้สั่งการให้พนักงานตรวจแรงงานติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด โดยให้ตรวจสอบกับลูกจ้างว่าได้รับค่าจ้างถูกต้องหรือไม่ หากพบว่าไม่ถูกต้องให้ดำเนินการ  ให้ความช่วยเหลือลูกจ้างทันที พร้อมทั้งให้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมการจัดหางานในการจัดหางานใหม่ทดแทน กรมพัฒนาฝีมือแรงงานกรณีที่ลูกจ้างต้องการฝึกอาชีพและสำนักงานประกันสังคมในการดูแลสิทธิประโยชน์ของลูกจ้างด้วย

 

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 มีผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานในระบบประกันสังคม จำนวน 151,802 คน มีอัตราการขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.83 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา (จำนวน 147,624 คน) และมีอัตราการหดตัวอยู่ที่ร้อยละ -6.29 เมื่อเทียบกับเดือนมกราคมที่ผ่านมา (จำนวน 161,984 คน)  
 

ขณะที่อัตราการว่างงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติเดือนกุมภาพันธ์ 2563 อยู่ที่ร้อยละ 1.1 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.8 แต่ทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนมกราคมที่ผ่าน โดยการว่างงานรายอุตสาหกรรมหลักเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา พบว่าขยายตัวทุกอุตสาหกรรม ได้แก่ สาขาเกษตรกรรม ร้อยละ 31.18 สาขาขนส่ง ร้อยละ 27.94 สาขาโรงแรมและร้านอาหาร ร้อยละ 3.22 สาขาการค้าร้อยละ 2.57 สาขาการผลิต ร้อยละ 1.72 และสาขาก่อสร้าง ร้อยละ 0.53 ตามลำดับ 
 

ด้านลูกจ้างในระบบประกันสังคมมาตรา 33 ที่ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากสาเหตุเลิกจ้างเดือนกุมภาพันธ์2563 มีจำนวนทั้งสิ้น 30,818 คน คิดเป็นอัตราร้อยละ 0.26 มีอัตราการเลิกจ้างเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา (จำนวน 26,396 คน) ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.23 และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนมกราคมที่ผ่านมา (จำนวน 29,369 คน) ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.25  
 

โดยการเลิกจ้างรายอุตสาหกรรมหลักที่ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา ได้แก่ สาขาเกษตรกรรม ร้อยละ 159.87 สาขาขนส่งร้อยละ 61.19 สาขาการผลิต ร้อยละ 18.62 สาขาการค้า ร้อยละ 14.34 ตามลำดับ ขณะที่อุตสาหกรรมหลักที่หดตัว ได้แก่ สาขาโรงแรมและร้านอาหาร ร้อยละ -14.87 และสาขาก่อสร้าง ร้อยละ -9.08 ตามลำดับ
 



18/Apr/2020

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา