ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

โควิด-19 ทำคนว่างงานพุ่ง 3 แสนราย ,ประชาชาติธุรกิจ 5 พค. 63

นายสุชาติ พรชัยวิเศษกุล อธิบดีกรมการจัดหางาน เผย ผลการขึ้นทะเบียนใช้สิทธิกรณีว่างงานออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ https://empui.doe.go.th กับกรมการจัดหางาน เดือนเมษายน 2563 จำนวน 267,351 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.82 จากเดือนมีนาคม ที่มีผู้มาขึ้นทะเบียน จำนวน 144,861 คน 

 

โดยผู้ที่ถูกเลิกจ้างงานโดยมีสาเหตุมาจากนายจ้าง/สถานประกอบการต้องปิดกิจการ เพราะผลกระทบจากการแพร่กระจายของโรค COVID-19 จะได้รับเงินชดเชย 70% ของค่าจ้างที่เคยได้รับ ระยะเวลาที่จ่ายจะไม่เกิน 200 วัน หากเป็นการว่างงานจากการลาออกเอง จะได้รับเงิน ในอัตรา 45% ของค่าจ้างที่เคยได้รับและระยะเวลาที่จ่ายจะไม่เกิน 90 วัน


อย่างไรก็ดี สำหรับผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในช่วงเดือนมีนาคม 2563 พบว่า มีจำนวนผู้มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป 56.77 ล้านคน 


เป็นผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงาน หรือพร้อมที่จะทำงาน 38.21 ล้านคน ซึ่งเป็นผู้ที่มีงานทำ 37.33 ล้านคน และผู้ว่างงาน 3.92 แสนคน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 1.0 ส่วนผู้ที่อยู่นอกกำลังแรงงาน 18.56 ล้านคน เช่น แม่บ้าน นักเรียน และผู้สูงอายุ 


ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบสถานการณ์แรงงานช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว จำนวนผู้มีงานทำลดลง 4.4 แสนคน ผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น 4.6 หมื่นคน

 

ขณะที่ผู้ว่างงานส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มผู้สำเร็จการศึกษาในระดับอุดมศึกษา 1.15 แสนคน รองลงมาเป็นระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

 

อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวเพิ่มเติมว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ส่งผลกระทบให้อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทย ซึ่งจากรายงานจำนวนผู้ขึ้นทะเบียนขอใช้สิทธิกรณีว่างงานที่เพิ่มขึ้นในช่วงเดือนนี้ 


ได้สะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ที่มีต่อระบบเศรษฐกิจ และความร่วมมือของผู้ประกอบการภาคธุรกิจและประชาชนที่ร่วมมือกับรัฐ ในการยับยั้งการแพร่ระบาดของโรค อย่างไรก็ดี เกี่ยวกับเรื่องนี้ กรมการจัดหางานมิได้นิ่งนอนใจ และให้ความสำคัญในการหาแนวทางช่วยเหลือเยียวยาประชาชน 


โดยจะเร่งหาแนวทางส่งเสริมให้เกิดการจ้างงาน และวิเคราะห์ทิศทางของตลาดแรงงานในอนาคต เพื่อส่งเสริมทักษะของแรงงานให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานที่มีแนวโน้มว่าจะเปลี่ยนไปหลังภาวะวิกฤตโควิด – 19 เบาบางลง 


ทั้งนี้ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานจัดหางานจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือสายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร.1506 กด 2 กรมการจัดหางาน



05/May/2020

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา