ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

โรงงาน 28 จังหวัดพื้นที่เสี่ยง ตรวจโควิดเชิงรุกฟรี ช่วยนายจ้าง-ลูกจ้างไม่ต้องหยุดงาน และภาคผลิตเดินต่อได้ , โพสต์ทูเดย์ 13 มค. 64

13 มค.64 นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน เปิดเผยว่า ภายหลังที่กระทรวงแรงงาน ได้รับนโยบายจาก พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว กลาโหม ได้ให้แนวทางลงช่วยเหลือเชิงรุก นายจ้างและลูกจ้าง 


โดยให้โรงพยาบาลในเครือข่ายสำนักงานประกันสังคม ได้บูรณาการทำงานเชิงรุกร่วมกับ ทางผู้ว่าราชการจังหวัด พร้อมทีมแพทย์ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ กระทรวงมหาดไทย ที่เข้าไปตรวจสถานประกอบการเพื่อตรวจคัดกรองเชื้อโควิด-19 ให้ผู้ใช้แรงงานในรูปแบบทางเดินหายใจ (PCR) ที่จังหวัดสมุทรสาครไปเบื้องต้นแล้ว 


ล่าสุด กระทรวงแรงงาน จะทำงานตรวจเชิงรุกต่อไปใน 28 จังหวัด ที่มีการคำสั่งควบคุมสูงสุด ตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ต่อไป 


โดยขณะนี้มีหลายโรงงาน หลายสถานประกอบการ ได้ยื่นเข้ามาจำนวนมาก โดยรอพิจารณาคำขอจากคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด 


ทั้งนี้ผู้ประกอบการ สถานประกอบการ ที่ผ่านการอนุมัติ จะสามารถตรวจคัดกรองโควิด-19 ได้ฟรี ซึ่งสำนักงานประกันสังคมในสังกัดกระทรวงแรงงาน จะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด ตามนโยบายรัฐบาลและจากการกำชับของ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลนโยบายของกระทรวงแรงงาน ได้ให้แนวทางการทำงาน ต้องทำทุกอย่างที่ทำได้ เพื่อให้การช่วยเหลือนายจ้างและลูกจ้าง ให้ภาคการผลิตเดินต่อ และ ด้านสุขภาพอนามัยของลูกจ้าง ให้ปลอดภัยจากโควิด-19

 

นายสุชาติ กล่าวต่อว่า สำหรับผู้ประกอบการใน 28 จังหวัดที่จะเข้ารับการตรวจนั้นจะต้องผ่านเกณฑ์พิจารณาต่างๆ 


โดยประการแรก ต้องยื่นความประสงค์ขอเข้าร่วมตรวจคัดกรอง จากคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด สาธารณสุขจังหวัด ประกันสังคมจังหวัด ภายใต้การอำนวยการของ ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้เห็นชอบขั้นตอนสุดท้าย

โดยเงื่อนไขหลักๆ สถานการประกอบการจะต้องมีสถานกักกันในโรงงาน ที่มีความพร้อม Factory Quarantine (FQ) ในกรณีตรวจไม่ผ่านก็ให้โรงงานไปปรับปรุงแก้ไขใหม่ และ เมื่อผ่านการอนุมัติแล้ว โรงพยาบาลในเครือข่ายสำนักงานประกันสังคม จะดำเนินการตรวจตามขั้นตอนการรักษาต่อไป


กระทรวงแรงงานคาดหวังจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจเชิงรุกและป้องกันโควิด - 19 โดยสถานประกอบการไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการตรวจคัดกรองโควิด-19 จากเดิมที่นายจ้างต้องเสียค่าใช้จ่ายเอง ในการตรวจคัดกรองลูกจ้าง 


และ ที่สำคัญนโยบายรัฐบาลนี้ ยังเป็นการช่วยเหลือ ผู้ประกอบการและลูกจ้าง ทั้งชาวไทย และ ต่างด้าว ไม่ต้องหยุดกิจการ ภาคการผลิต และลูกจ้างไม่ต้องหยุดงาน และ การผลิตส่งออกเดินหน้าต่อไป เพื่อท่าจะมีเงินไปเลี้ยงชีพและดูแลครอบครัว 


อีกทั้งกระทรวงแรงงานถือว่าเป็นกองหนุน เปรียบเสมือนเป็นผู้ช่วยการทำงานทุกภาคส่วนของภาครัฐ อาทิ กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงสาธารณสุข ที่เราเข้าไปลุยตรวจถึงโรงนั่นๆ ถือว่าเป็นการดูแล และ ห่วงใยผู้ประกอบการและลูกจ้างเพื่อให้ผ่านสถานการณ์เช่นนี้ไปด้วยกัน สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ที่ต้องทำทุกมิติ เพื่อชาติ บ้านเมือง พี่น้องประชาชน ต้องผ่านวิกฤตการแพร่ระบาดโควิด-19 ไปด้วยกัน



13/Jan/2021

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา