ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

เปิดเอกสารที่ต้องเตรียม เพื่อสมัครผู้ประกันตน มาตรา 39-40 รับเงินเยียวยาโควิด 5,000 บาท ใช้อะไรบ้าง , ประชาชาติธุรกิจ 14 กค. 64

วันที่ 14 กรกฏาคม 2564 หลังจากมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 13 ก.ค. ได้อนุมัติให้ กลุ่มประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการประกาศมาตรการล็อกดาวน์ ใน 10 จังหวัด ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสงขลา ได้รับการเยียวยา ชดเชยรายได้จากรัฐบาล


กระทรวงการคลัง และกระทรวงแรงงาน กำหนดรูปแบบการให้ความช่วยเหลือ คือ กลุ่มแรงงานสัญชาติไทย ที่อยู่ในระบบผู้ประกันสังคม ตามมาตรา 33 จะได้รับความช่วยเหลือเงินจำนวน 2,500 บาท จำนวน 1 เดือน 

 

ขณะที่แรงงานผู้ประกันตน มาตรา 39 และมาตรา 40 สัญชาติไทย จะได้รับความช่วยเหลือ คนละ 5,000 บาท จำนวน 1 เดือน โดยกลุ่มที่เป็นผู้ประกันสังคม ตามมาตรา 39 และมาตรา 40 ที่จะได้รับเงินช่วยเหลือคนละ 5,000 บาท จำนวน 1 เดือน


นายจ้าง/ผู้ประกอบการ กรณีที่มีลูกจ้าง


ให้ขึ้นทะเบียนกับประกันสังคม มาตรา 33 ภายในเดือน ก.ค. 64  เพื่อผู้ประกอบการจะได้รับเงินช่วยเหลือตามจำนวนลูกจ้างสูงสุดไม่เกิน 200 คนในอัตรา 3,000 บาท/หัว/สถานประกอบการ


ลูกจ้างสัญชาติไทยจะได้รับเงินช่วยเหลือ 2,500 บาท/คน กรณีที่ไม่มีลูกจ้าง

 

ให้ขึ้นทะเบียนกับประกันสังคม มาตรา 40 ภายในเดือน ก.ค. 64  จะได้รับเงินช่วยเหลือ 5,000 บาท


รวมถึงผู้ประกอบการในระบบ “ถุงเงิน” ในโครงการคนละครึ่ง-เราชนะ ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับประกันสังคมเพราะไม่มีลูกจ้าง ให้ดำเนินการลงทะเบียนเป็นผู้ประกันตนตาม มาตรา 40 เพื่อรับความช่วยเหลือรายละ 5,000 บาท ด้วย 1 เดือน


ทั้งนี้ วิธีการเตรียมเอกสาร สำหรับรับเงิน 5,000 บาท รัฐบาลให้หลักการว่า จำกัดเอกสารให้น้อยที่สุด เพื่อลงทะเบียน และจ่ายเงินเยียวยาคนที่ได้รับผลกระทบให้มากที่สุด ดังนี้


วิธีเตรียมเอกสาร

หลักฐานการเป็นลูกจ้างในกิจการที่ถูกสั่งปิดเพราะประกาศ คำสั่ง ของรัฐบาล

 

  • บัตรประชาชน
  • หลักฐานจ่ายเงินสมทบประกันสังคม ตามมาตรา 39 และมาตรา 40
  • เอกสารจ่ายเงินสมทบ 6 เดือนย้อนหลัง
  • เอกสารการรับเงินจากนายจ้าง หรือคู่ค้า ครั้งสุดท้าย
  • วิธีสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40
  • หากต้องการสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 สามารถทำได้ผ่าน 7 ช่องทาง

 

  • สมัครด้วยตนเองที่สำนักงานประกันสังคมในพื้นที่
  • สายด่วนประกันสังคม หมายเลข 1506
  • เซเว่นอีเลฟเว่น ทุกสาขา
  • ธนาคาร ธกส. ทุกสาขา
  • Big C ซูเปอร์เซ็นเตอร์
  • เครือข่ายประกันสังคมทั่วประเทศ
  • สมัครผ่านเว็บไซต์ประกันสังคม

วิธีสมัครผ่านเว็บไซต์ประกันสังคม


เข้าไปที่เว็บไซต์ www.sso.go.th ของสำนักงานประกันสังคม

 

เลื่อนลงมาด้านล่างเพื่อเข้าโปรแกรม ลงทะเบียนผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ถ้าเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่โปรแกรมจะอยู่ตรงกลางหน้าจอ หากเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมจะอยู่ด้านขวามือ ของหน้าจอ


เลือกแถบเมนู ลงทะเบียนผู้ประกันตนตามมาตรา 40 จะปรากฏหน้าจอให้กรอกข้อมูลส่วนบุคคล และข้อมูลที่เกี่ยวข้อง จนเสร็จสิ้นกระบวนการรับสมัครขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ระบบจะแจ้งยืนยันผ่านทาง SMS ทันที


การสมัครจึงจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อชำระเงินเรียบร้อยแล้ว


ทั้งนี้ ทีมที่ปรึกษาของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กระทรวงการคลัง กระทรวงแรงงาน และสภาพัฒน์ ตกลงหลักการร่วมกันว่า การช่วยเหลือครั้งนี้ จะพิจารณาตามสถานการณ์ มุ่งช่วยให้เร็วที่สุด 1 เดือน วงเงิน 5,000 บาท  และอาจจะขยายระยะเวลาช่วยเหลือ หากสถานการณ์การแพร่ระบาดไม่บรรเทาลง ใน 14 วันของคำสั่งให้มีการล็อกดาวน์ และกลุ่มคนที่จะได้รับการช่วยเหลือต่อเนื่อง ต้องลงทะเบียนกับประกันสังคมในครั้งนี้เท่านั้น



21/Jul/2021

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา