ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

16 พฤศจิกายน 2564 : ครม.อนุมัติขยายเวลาอนุญาตให้ "คนต่างด้าว" บางจำพวกในเงื่อนไข 3 ข้อ ที่อยู่เกิน 90 วัน อยู่ต่อได้ถึง 31 ธ.ค.2564 , คมชัดลึก

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ณ จังหวัดกระบี่ (ครม.สัญจรฯ) วันที่ 16 พฤศจิกายน 2564 ว่า 


ครม.อนุมัติหลักการร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ (ฉบับที่ ..) ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอ เพื่อเป็นการแก้ไข และบรรเทาผลกระทบแก่คนต่างด้าว ที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว 

 

ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการขยายระยะเวลาอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกอยู่ในราชอาณาจักร และการแจ้งที่พักอาศัยต่อไปได้ ตั้งแต่วันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 ดังนี้


คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ตามประเภทการตรวจลงตรา (รวมทั้งการตรวจลงตรา Visa on Arrival)


คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ซึ่งได้รับสิทธิตามพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ.2514 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม หรือตามประกาศกระทรวงมหาดไทยที่เกี่ยวข้อง


กำหนดให้คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเกิน 90 วันแล้ว ครบกำหนดระยะเวลาการแจ้งที่พักอาศัย ให้ได้รับการขยายระยะเวลาการแจ้งที่พักอาศัย ตั้งแต่วันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ถึง 31 ธันวาคม 2564
 


ขณะที่ ข้อมูลจำนวนคนต่างด้าวที่ได้รับการอนุญาตให้ทำงานในประเทศไทย ของสำนักงานบริการแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ระบุว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานคงเหลือในประเทศไทย(ข้อมูล ณ วันที่ 26 ตุลาคม 2564 ) แบ่งตามประเภทแรงงานต่างด้าวที่ที่กฎหมายกำหนดมีดังนี้ 

 

จำนวนแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาต มีจำนวน 2,348,913 คน 

 

แรงงานประเภทฝีมือและอื่น ๆ จำนวน  217,737 คน 
แรงงานประเภทฝีมือ จำนวน 138,117 คน แบ่งเป็น
แรงงานในกลุ่มธุรกิจ BOI จำนวน 43,595 คน 
แรงงานต่างด้าวกลุ่มทั่วไป นักลงทุน ช่างฝีมือชำนาญการ จำนวน 94,522 คน 
แรงงานชนกลุ่มน้อย 79,552 คน 
แรงงานต่างด้าวตลอดชีพ 68 คน 

 

แรงงานประเภททั่วไป จำนวน 2,131,176 คน 

แรงงานจากประเทศกัมพูชา 455,340 คน
แรงงานจาก สปป.ลาว 213,145 คน 
แรงงานจากเมียนมาร์ 1,462,554 คน
แรงงานจากประเทศเวียดนาม 137 คน 

 

จำนวนแรงงานประเภททั่วไป แบ่งเป็น


แรงงานที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานตาม MOU  จำนวน 594,405 คน 
แรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานตามมติครม. ( 20 สิงหาคม 2562 ) จำนวน 920,784 คน 
แรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานตามมติครม. (4 สิงหาคม 2563) จำนวน 210,608 คน 
แรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานตามมติครม. (29 สิงหาคม 2563) จำนวน 405,379 คน 

 

ขณะนี้ประเทศไทยมีแรงงานต่างด้าวที่ยังไม่ขึ้นทะเบียนประมาณ 12,000 คน



20/Nov/2021

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา