ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

7 มิถุนายน 2565 : กสร. แนะสถานประกอบกิจการทำตามหลัก 3ต หวังลดเหตุอัคคีภัย , กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

กสร. แนะสถานประกอบกิจการจัดทำแผนป้องกันอัคคีภัยผ่านหลัก 3 ต ติดตั้ง ตรวจสอบ และเตรียมความพร้อม หวังสร้างวัฒนธรรมให้สถานประกอบกิจการปฏิบัติตามแนวทางป้องกันการเกิดอัคคีภัย และลดสถิติการประสบอันตรายจากการทำงานให้มีประสิทธิภาพ


นายนิยม สองแก้ว อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน(กสร.)เปิดเผยว่า รัฐบาลภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กระทรวงแรงงานภายใต้การกำกับดูแลของพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานให้ความสำคัญการป้องกันเหตุอัคคีภัยในสถานประกอบกิจการ 


โดยมุ่งหวังลดสถิติการประสบอันตรายจากการทำงานสร้างการรับรู้มาตรการเชิงป้องกันความปลอดภัยในการทำงาน เป้าหมายเพื่อให้ผู้ใช้แรงงานบาดเจ็บหรือเสียชีวิตน้อยที่สุด รวมถึงทรัพย์สินของสถานประกอบกิจการไม่ให้เสียหายกสร. จึงจัดให้มีแคมเปญภายใต้ชื่อว่า SAFE LIFE โดยใช้หลัก 3 ต ซึ่งเป็นหนึ่งในแคมเปญดังกล่าว เพื่อป้องกันอัคคีภัยในสถานประกอบกิจการ 


ประกอบด้วย “ติดตั้ง” โดยต้องติดตั้งระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย เครื่องดับเพลิงแบบเคลื่อนย้ายได้ ระบบป้องกันฟ้าผ่า และแหล่งจ่ายไฟฟ้าสำรอง 


“ตรวจสอบ” หมั่นตรวจสอบระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย และเครื่องดับเพลิงแบบเคลื่อนย้ายได้ 


“เตรียมความพร้อม” ต้องจัดทำแผนป้องกันและระงับอัคคีภัย จัดอบรมการดับเพลิงขั้นต้นให้กับลูกจ้าง และฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟประจำปี โดยหลักดังกล่าวจะช่วยป้องกันและลดการเกิดอัคคีภัย พร้อมทั้งจะช่วยสร้างความปลอดภัยในการทำงาน ลดการประสบอันตรายจากการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อธิบดี กสร.กล่าวต่อไปว่าการแก้ปัญหาอัคคีภัยในสถานประกอบกิจการถือเป็นเรื่องท้าทายที่ กสร.ต้องให้ความสำคัญและกำหนดให้มีมาตรการป้องกันอุบัติเหตุในการทำงานรวมไปถึงการรณรงค์สร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัย และสร้างความร่วมมือในการดำเนินงาน ซึ่งกสร. ได้ขอความร่วมมือนายจ้าง เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน หรือผู้ที่เกี่ยวข้องตรวจสอบสภาพระบบและเครื่องมือป้องกันอัคคีภัยอย่างสม่ำเสมอ พร้อมชี้แนะให้นายจ้าง ลูกจ้างปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
เพื่อนำไปสู่เป้าประสงค์ของการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในการทำงานให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืนต่อไป 


ทั้งนี้หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ กองความปลอดภัยแรงงาน 0 2448 9128 - 39ต่อ 603 - 610



07/Jun/2022

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา