ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

เข้าใจกฎหมายค้ำประกันฉบับใหม่ หรือ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่20) พ.ศ. 2557

เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2557 หรือ กฎหมายค้ำประกันฉบับใหม่ ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในสิทธิของผู้ค้ำประกันและผู้จำนอง ซึ่งไม่ใช่ลูกหนี้ชั้นต้น จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 อย่างแน่นอนแล้ว

 

การแก้ไขกฎหมายฉบับนี้เกิดขึ้นมาจากสาเหตุที่ว่า

 

มีผู้ค้ำประกันที่เป็นผู้ค้ำประกันรายย่อยหรือบุคคลธรรมดาจำนวนมาก ได้ไปค้ำประกันการกู้เงินให้แก่ครอบครัว ญาติพี่น้อง หรือพวกพ้อง ซึ่งในกฎหมายเดิมได้ระบุว่า ผู้ค้ำประกันจะเป็นเสมือน "ลูกหนี้ร่วม" ทำให้ทางสถาบันการเงินจะเรียกเก็บเงินจากลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกันก็ได้ ซึ่งถือว่าสิ่งนี้ไม่เป็นธรรมกับผู้ค้ำประกันรายย่อย จึงทำให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จึงได้มีการแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาอย่างเป็นทางการแล้วเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2557 ที่ผ่านมา

 

“ปกติแล้วเจ้าหนี้ไปทวงเงินจากลูกหนี้ พอลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินก็ค่อยไปเอาเงินจากผู้ค้ำประกัน แต่ที่ผ่านมาหากเจ้าหนี้บอกว่า ผู้ค้ำประกันจะต้องจ่ายเงินคืนเสมือนเป็นลูกหนี้ร่วม ก็หมายความว่า เจ้าหนี้จะเรียกเก็บเงินจากใครก่อนก็ได้ แต่กฎหมายฉบับนี้ คือ ผู้ค้ำประกันจะไม่ต้องรับผิดชอบเหมือนเป็นลูกหนี้ร่วมแล้ว แม้ผู้ค้ำประกันจะยินยอมใช้หนี้ แต่ศาลก็จะไม่อนุญาต”

 

"ที่ผ่านมาปรากฏว่าเจ้าหนี้ส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบอาชีพให้กู้ยืมมักจะอาศัยความได้เปรียบในทางการเงิน กำหนดข้อตกลงอันเป็นการยกเว้นสิทธิของผู้ค้ำประกันหรือผู้จำนองตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ หรือให้ค้ำประกันหรือผู้จำนองต้องรับผิดเสมือนเป็นลูกหนี้ชั้นต้น กรณีนี้จึงส่งผลให้ผู้ค้ำประกันหรือผู้จำนองซึ่งเป็นประชาชนทั่วไป ไม่ได้รับความคุ้มครองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย รวมทั้งต้องกลายเป็นผู้ถูกฟ้องล้มละลายอีกเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้ค้ำประกันและผู้จำนอง จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้นมา"

 

สามารถสรุปสาระสำคัญพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่20 ) พ.ศ.2557 โดยง่ายได้ดังนี้

 

(1)  กฎหมายใหม่นี้จะเริ่มมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2558 เป็นต้นไป

 

(2)  สัญญาค้ำประกันจะต้องระบุไว้ให้ชัดเจนว่าค้ำประกันหนี้อะไร จำนวนเท่าใด และผู้ค้ำประกันจะรับผิดชอบเฉพาะหนี้ที่ระบุไว้ชัดเจนเท่านั้น หากไม่ความชัดเจน อาจทำให้ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิด

 

(3)  สัญญาค้ำประกันถ้ามีข้อตกลงกำหนดให้ผู้ค้ำประกันเป็นลูกหนี้ร่วมกับลูกหนี้ชั้นต้น ข้อตกลงในส่วนนั้นจะตกเป็นโมฆะ (หมายความว่า ข้อตกลงนั้นใช้บังคับกันไม่ได้)

 

(4)  ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติไว้ (ตามมาตรา 681 วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม มาตรา 694 มาตรา 698 และ มาตรา 699) เจ้าหนี้กับผู้ค้ำประกันจะทำสัญญากันกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นเพื่อขยายความรับผิดของผู้ค้ำประกันให้แตกต่างไปจากที่กฎหมายกำหนดไว้ไม่ได้ หากฝ่าฝืน ข้อตกลงที่ขยายความรับผิดของผู้ค้ำประกัน นี้ จะตกเป็นโมฆะ

 

(5)  ขั้นตอนในการที่เจ้าหนี้จะเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ เดิมกฎหมายไม่ได้เขียนไว้ให้ชัดเจน แต่กฎหมายใหม่ได้เขียนขั้นตอนให้เจ้าหนี้ต้องปฏิบัติไว้อย่างชัดเจน หากเจ้าหนี้ปฏิบัติผิดขั้นตอน หรือไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน อาจมีผลทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดได้ (กำหนดขั้นตอนการปฎิบัติของเจ้าหนี้)

 

(6)  ถ้าเจ้าหนี้ลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ชั้นต้นเท่าใด ก็ให้ภาระความรับผิดของผู้ค้ำประกันลดลงเท่านั้น ข้อตกลงใดที่จะมีผลเป็นอย่างอื่น ให้ตกเป็นโมฆะและหากมีการตกลงกันไว้เป็นการล่วงหน้าว่าเจ้าหนี้ผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ ให้ถือว่าผู้ค้ำประกันให้ความยินยอมในการผ่อนเวลานั้นๆด้วย เช่นนี้ กฎหมายใหม่ให้ถือว่าตกเป็นโมฆะ

 

(7)  การจำนองที่จำนองเป็นประกันหนี้ของผู้อื่น (ผู้จำนองกับลูกหนี้เป็นคนละคนกัน) จะมีข้อตกลงกันว่าหากบังคับจำนองแล้วยังเหลือหนี้อยู่เท่าใด ให้ผู้จำนองยังคงรับผิดชำระหนี้ ในส่วนที่ยังคงเหลือด้วย ข้อตกลงเช่นนี้ จะตกเป็นโมฆะตามกฎหมายใหม่

 

(8)  กฎหมายเดิมไม่มีบทบัญญัติให้สิทธิแก่ฝ่ายผู้จำนองในการที่จะเป็นฝ่ายเร่งรัดให้มีการบังคับจำนองให้จบๆไป แต่กฎหมายใหม่ได้มีบทบัญญัติให้สิทธินี้แก่ผู้จำนอง ซึ่งเจ้าหนี้จะต้องบังคับจำนอง ขายทอดตลาดภายใน1ปี (โดยไม่ต้องฟ้องร้องเป็นคดีต่อศาลเพราะฝ่ายผู้จำนองเป็นฝ่ายเร่งรัดเอง)

 

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2557 มีทั้งสิ้น 24 มาตรา ดังนี้

เปิดดูที่นี่

 

ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย

9 มกราคม 2558



09/Jan/2015

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา