ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

ประกาศใช้แล้ว พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2558 สามารถฟ้องแพ่งคดีแบบกลุ่มได้แล้ว เลี่ยงคดีซ้ำซ้อน ลดภาระศาล

ประกาศใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2558 โดยให้เพิ่มความในหมวด 4 การดำเนินคดีแบบกลุ่ม ตามมาตรา 222/1-222/49 ในลักษณะ 2 วิธีพิจารณาวิสามัญในศาลชั้นต้น ภาค 2 วิธีพิจารณาในศาลชั้นต้นแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ให้ประธานศาลฎีกามีอำนาจออกข้อกำหนดได้

 

อาทิ คุณสมบัติ ส่วนได้ส่วนเสีย สิทธิ์สมาชิกกลุ่มที่มีอำนาจฟ้อง, หลักเกณฑ์การดำเนินคดี, วิธีการแจ้งดำเนินคดี,การนัดพร้อม แก้ไขคำฟ้องและคำให้การ กระบวนพิจารณารับฟังพยาน, การบังคับคดีและเงินรางวัลทนายโจทก์ และอื่นๆ


       
ให้ศาลยุติธรรมมีอำนาจพิพากษาคดี เว้นแต่ศาลแขวง, หากคดีอาญาพิพากษาให้จำเลยผิด ต้องถือข้อเท็จจริงตามส่วนอาญา แต่หากพิพากษาเป็นอื่น ไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามส่วนอาญาได้, ให้คดีละเมิด ผิดสัญญา เรียกร้องสิทธิ สิ่งแวดล้อม คุ้มครองผู้บริโภค แรงงาน หลักทรัพย์ แข่งขันการค้า เข้าข่ายฟ้องกลุ่มได้, หากไม่อนุญาตให้ดำเนินคดีสามารถอุทธรณ์ได้ใน 7 วัน


       
ทั้งนี้ ในท้าย พ.ร.บ.ดังกล่าวได้ระบุหมายเหตุถึงความจำเป็นในการออกพระราชบัญญัติฉบับนี้ โดยระบุช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการอำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชน เนื่องจากเป็นวิธีการที่สามารถคุ้มครองผู้เสียหายจำนวนมากได้ในการดำเนินคดี เพียงครั้งเดียว และสามารถอำนวยความยุติธรรมให้แก่ผู้เสียหายที่ไม่มีความสามารถฟ้องคดีเพื่อ เยียวยาความเสียหายด้วยตนเองได้ หรือผู้เสียหายที่ได้รับความเสียหายจำนวนเพียงเล็กน้อย เช่น คดีที่ผู้บริโภคได้รับความเสียหาย



การดำเนินคดีแบบกลุ่มจึงเป็นมาตรการที่สร้างความเข้มแข็งให้แก่ประชาชนผู้ด้อยโอกาสในสังคมได้เป็นอย่างดี



ประกอบกับการดำเนินคดีแบบกลุ่มเป็นวิธีการที่ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการ ดำเนินการ และยังช่วยหลีกเลี่ยงความซ้ำซ้อนในการฟ้องคดีและป้องกันความขัดแย้งกันของคำ พิพากษา ตลอดจนเป็นมาตรการในการลดปริมาณคดีที่จะขึ้นสู่ศาลได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกทางหนึ่ง


       
อย่างไรก็ตามถือเป็นครั้งแรกที่กฎหมายฟ้องคดีแบบรวมกลุ่ม (class action) ได้มีใช้ในไทย กฎหมายฉบับนี้จะทำให้การฟ้องร้องคดีที่มีผู้เสียหายจำนวนมาก แต่เกิดความเสียหายคนละไม่มาก (ซึ่งทำให้เป็นคดีที่ “ไม่คุ้ม” สำหรับใครคนใดคนหนึ่งที่จะเป็นโจทก์ ยังไม่นับปัญหาเรื่องวัฒนธรรมแบบไทยๆ คือคนธรรมดารู้สึกไม่สบายใจที่จะมีชื่อเป็นโจทก์ฟ้องบริษัทใหญ่ๆ) เช่น คดีผิดกฎหมายหลักทรัพย์ คดีละเมิด คดีสิ่งแวดล้อม และคดีผู้บริโภค เกิดได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่าเดิมมาก ช่วยลดภาระงานของศาลเองด้วย


 

อ่านพระราชบัญญัติทั้งฉบับได้ที่นี่

 

 

ข้อมูลบางส่วนจาก ASTVผู้จัดการออนไลน์ 22 เมษายน 2558 

 


23/Apr/2015

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา