ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

9 มกราคม 2559 ประกาศใช้ระเบียบกระทรวงแรงงานว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกกรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้างและกรรมการผู้แทนฝ่ายลูกจ้างในคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2558 อย่างเป็นทางการ

เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2559 ราชกิจจานุเบกษาได้มีการประกาศระเบียบกระทรวงแรงงาน ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกกรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้างและกรรมการผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง ในคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2558 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2559 เป็นต้นไป

 

ระเบียบฉบับนี้มีความแตกต่างจากระเบียบฉบับเดิมอย่างสิ้นเชิง ที่เดิมนั้น กระทรวงแรงงานได้ใช้ระเบียบที่เรียกว่า ระเบียบกระทรวงแรงงานว่าด้วยแนวทางและวิธีการเพื่อให้ได้มาซึ่งผู้แทนฝ่าย นายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้างในคณะกรรมการไตรภาคี พ.ศ. 2551

 

ความแตกต่างที่เห็นได้ชัด คือ

 

ในข้อ 5  ได้ระบุไว้ว่า การได้มาซึ่งกรรมการฝ่ายนายจ้างและกรรมการฝ่ายลูกจ้างในคณะกรรมการแรงงาน สัมพันธ์ ให้อธิบดีแจ้งให้สภาองค์การนายจ้างและสภาองค์การลูกจ้างตามกฎหมายว่าด้วยแรง งานสัมพันธ์เสนอชื่อผู้สมัคร สภาละสองคน เพื่อคัดเลือกเป็นกรรมการฝ่ายนายจ้างและกรรมการฝ่ายลูกจ้าง เพื่อให้คณะกรรมการคัดเลือก พิจารณาเพื่อเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานพิจารณาแต่งตั้งต่อไป

 

ทั้งนี้คุณสมบัติหนึ่งที่สำคัญของผู้ที่จะสมัครได้ คือ ต้องเป็นหรือเคยเป็นกรรมการสภาองค์การนายจ้างหรือสภาองค์การลูกจ้าง มาก่อน ไม่ใช่บุคคลใดจะสมัครก็ได้

 

กระบวนการคัดเลือกได้ระบุไว้ในข้อ 7 ว่า ให้อธิบดีนัดประชุมผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อ เพื่อเลือกกันเองให้ได้จำนวนสองเท่าของจำนวนกรรมการฝ่ายนายจ้างและกรรมการ ฝ่ายลูกจ้างในคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่ครบวาระ เพื่อเสนอให้คณะกรรมการคัดเลือกพิจารณาตามจำนวนคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่ ครบวาระต่อไป

 

คณะกรรมการคัดเลือก ประกอบด้วย รองปลัดกระทรวงแรงงาน , หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านประกันความมั่นคงในการทำงาน เป็นประธานกรรมการ , อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เป็นรองประธานกรรมการ , ผู้อำนวยการกองนิติการ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน, ผู้อำนวยการกลุ่มงานทะเบียนกลาง สำนักแรงงานสัมพันธ์ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน, ผู้อำนวยการกลุ่มงานกฎหมาย สำนักบริหารกลาง สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นกรรมการ , ผู้อำนวยการสำนักแรงงานสัมพันธ์ สำนักแรงงานสัมพันธ์ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เป็นกรรมการและเลขานุการและผู้อำนวยการกลุ่มงานคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ สำนักแรงงานสัมพันธ์ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

 

ทั้งนี้ที่ผ่านมาโดยตลอดนั้น กระบวนการได้มาซึ่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์นั้น ถูกระบุไว้ในข้อ 6 ในระเบียบฯฉบับ 2551 ว่า

 

ข้อ 6 ให้อธิบดีแจ้งให้สมาคมนายจ้างและสหภาพแรงงานในเขตภาคต่าง ๆ เสนอชื่อผู้แทนฝ่ายตนที่จะสมัครเข้ารับการเลือกตั้งเพื่อเป็นผู้แทนฝ่ายนาย จ้าง และผู้แทนฝ่ายลูกจ้างในคณะกรรมการไตรภาคีแล้วแต่กรณีได้ไม่เกินองค์กรละ หนึ่งคน

สมาคมนายจ้าง และสหภาพแรงงานจะเสนอชื่อผู้แทนตามวรรคหนึ่งได้คนละไม่เกินสองคณะ

 

ข้อ 7 ในเขตภาคใดหากไม่มีสมาคมนายจ้างหรือสหภาพแรงงานซึ่งจดทะเบียนที่ตั้งสำนัก งานไว้ แต่มีสถานประกอบกิจการ ให้อธิบดีแจ้งให้นายจ้างและคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการส่งผู้แทน ฝ่ายตนแห่งละหนึ่งคนเพื่อเสนอชื่อผู้แทนสมัครเข้ารับการเลือกตั้งเป็น กรรมการไตรภาคี แล้วแต่กรณี

 

ทั้งนี้กระบวนการได้มา คือ การเลือกตั้ง ไม่ใช่การสรรหาและคัดเลือกกันเองตามระเบียบฯฉบับใหม่ 2558

 

โดยให้สมาคมนายจ้าง สหภาพแรงงาน แจ้งชื่อผู้ลงคะแนนเลือกตั้งแห่งละหนึ่งคน ซึ่งต้องเป็นกรรมการสมาคมนายจ้าง หรือกรรมการสหภาพแรงงานนั้น แล้วแต่กรณี ต่ออธิบดีภายในระยะเวลาที่อธิบดีกำหนด ให้อธิบดีประกาศรายชื่อผู้ลงคะแนนเลือกตั้ง ณ สถานที่ทำการเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน

 

ทั้งนี้เมื่อพิจารณาตามตัวบทกฎหมาย ระเบียบฉบับนี้ไม่ได้ขัดแย้งใดๆเลยกับสิ่งที่พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 37 กำหนดไว้ว่า

 

ให้มีคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ (ครส.) เป็นคณะบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพื่อทำหน้าที่ด้านแรงงานสัมพันธ์ในการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานในกิจการสำคัญ และการวินิจฉัยคำร้องเกี่ยวกับการกระทำอันไม่เป็นธรรม

 

ประกอบด้วยบุคคล 3 ฝ่าย คือ กรรมการกลางซึ่งรัฐมนตรีพิจารณาแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิในด้านต่าง ๆ กรรมการฝ่ายนายจ้าง และ กรรมการฝ่ายลูกจ้าง ที่ผ่านมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้มีคำสั่งแต่งตั้งกรรมการกลาง กรรมการ  ฝ่ายนายจ้าง และกรรมการฝ่ายลูกจ้าง ฝ่ายละเท่า ๆ กัน คือ ฝ่ายละ  5  คน  รวม  15  คน อยู่ในตำแหน่งคราวละ 3 ปี

 

นั่นย่อมหมายความว่า รัฐมนตรีจะแต่งตั้งใครหรือผู้ใดเข้ามาก็ได้ตามดุลยพินิจ

 

อย่างไรก็ตามมีข้อสังเกตว่า ระเบียบฉบับนี้ยังขัดแย้งสิ้นเชิง กับกรอบความเห็นร่วมปฏิรูปประเทศไทย ที่จัดทำโดยกระทรวงกลาโหมโดยตรง สมัยที่ คสช. เข้ามาบริหารประเทศในช่วงเริ่มต้น เมื่อธันวาคม 2557 ว่า

 

“เสนอแนะให้มีการแก้ไขระเบียบกระทรวงแรงงานว่าด้วยแนวทางและวิธีการเพื่อให้ได้มา ซึ่งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้างในคณะกรรมการไตรภาคี พ.ศ. 2551 ใน การได้มาของผู้แทนทั้งสามฝ่ายของระบบไตรภาคีใหม่ให้มีความเป็นธรรม โดยการพิจารณาระบบการออกเสียงเลือกตั้งในคณะกรรมการไตรภาคีทุกคณะ ควรคำนึงถึงสัดส่วนจานวนสมาชิกในองค์กร เพื่อสร้างความเป็นธรรมต่อทุกฝ่ายในการเลือกผู้แทน”

 

อ่านระเบียบกระทรวงแรงงาน ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกกรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้างและกรรมการผู้ แทนฝ่ายลูกจ้างในคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2558  ดูรายละเอียด



09/Jan/2016

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา