ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

ผ่านร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 1 หมื่นคน เข้าชื่อเสนอร่างกฎหมายได้ ใช้เฉพาะบัตรประชาชนเท่านั้น

เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2556 ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ได้มีการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ตามที่คณะกรรมาธิการร่วมกันของสองสภาได้พิจารณาเรียบร้อยแล้วที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบผ่านร่าง พ.ร.บ. ด้วยเสียง 368 เสียง ไม่เห็นด้วย 1 เสียง และงดออกเสียง 1 เสียง และหลังจากนี้จะจะเข้าสู่กระบวนการประกาศเป็นกฎหมายบังคับใช้ต่อไป


สาระสำคัญของร่างกฎหมายฉบับนี้ คือ

 

(1) ยกเลิก พ.ร.บ.ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ.2542 และให้สิทธิประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 10,000 คน เข้าชื่อเพื่อเสนอร่าง พ.ร.บ.ได้ และให้สิทธิประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 50,000 คน เข้าชื่อเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ

 

 

(2) การเข้าชื่อเสนอกฎหมายต้องมีผู้ริเริ่มไม่น้อยกว่ายี่สิบคนแจ้งให้ประธาน รัฐสภาทราบ พร้อมด้วยร่างกฎหมาย เพื่อให้ประธานรัฐสภาพิจารณาก่อนว่าร่างกฎหมายนั้นๆ เป็นกฎหมายตามหมวด 3 ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทย หรือหมวด 5 ว่าด้วยแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ของรัฐธรรมนูญหรือไม่

 

(3) ร่าง พ.ร.บ.ที่จะเสนอให้รัฐสภาพิจารณาจะต้องเป็นร่างกฎหมายที่มีหลักการเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพของประชาชน หรือแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ และต้องไม่เป็นผลเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุขหรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐ

 

 

(4) กำหนดให้สำนักงานเลขาธิการสภา, สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย หรือหน่วยงานที่มีอำนาจช่วยเหลือเกี่ยวกับการจัดทำร่างกฎหมายแต่ประชาชน ตามที่ผู้ริเริ่มเสนอร่างกฎหมายต้องการ

 

(5) ให้สิทธิประชาชนขอรับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายจากกองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมืองตามที่กฎหมายว่าด้วยสภาพัฒนาการเมืองกำหนดได้

 

(6) หลังจากการแสดงเจตจำนงริเริ่มร่างกฎหมายแล้ว ต้องดำเนินการเข้าชื่อให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน หากดำเนินการไม่แล้วเสร็จตามเวลาให้สิทธิ์จำหน่ายเองคืนผู้ริเริ่ม

 

(7) ผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายทุกคนต้องใช้ข้อมูลเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือเอกสารอื่นที่ราชการออกให้และมีรูปถ่าย แนบเป็นหลักฐานประกอบการลงชื่อ
 

 

(8) เมื่อประชาชนยื่นรายชื่อประกอบเสนอร่างพ.ร.บ.หรือญัตติขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประธานรัฐสภาต้องตรวจสอบความถูกต้องให้แล้วเสร็จภายใน 45 วัน

 

(9) ประกาศรายชื่อผู้เขาชื่อทางสื่อเทคโนโลยีของสำนักงานเลขาธิการสภา และจัดทำเอกสารให้ประชาชนรวมถึงให้มีหนังสือแจ้งไปยังผู้มีรายชื่อตรวจสอบ

 

(10) หากประชาชนคนใดถูกแอบอ้างชื่อสามารถยื่นคำร้องคัดค้านต่อประธานรัฐสภา ภายใน 30 วัน

 

(11) ส่วนบุคคลใดที่แอบอ้างชื่อเพื่อร่วมเสนอกฎหมายได้กำหนดให้มีบทลงโทษ คือ จำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากบุคคลใดสัญญาว่าจะให้ผลประโยชน์ตอบแทนเพื่อจูงใจให้ร่วมลงชื่อ หรือไม่ให้ลงชื่อเสนอร่างกฎหมายหรือญัตติขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ รวมถึงมีการบังคับให้ลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท
    

อ่าน : ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. .... ที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการทูลเกล้าฯ ก่อนประกาศในราชกิจานุเบกษาบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป



22/Nov/2013

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา