ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

ประกาศใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2556 ตั้งแต่ 17 ธันวาคม 2556

อ่านพระราชบัญญัติทั้งฉบับ กด (click) ที่นี่ครับ

 

กว่าหกปีของการรอคอย และกว่าสามปีเต็มในรัฐสภา “พระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย” ฉบับใหม่ ก็ผ่านการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อ 17 ธันวาคม 2556 สังคมไทยก็จะเข้าสู่ยุคใหม่ของการเสนอกฎหมายโดยประชาชน

 

รัฐธรรมนูญปี 2540 กำหนดว่า ประชาชนจะเสนอกฎหมายได้โดยเข้าชื่อกัน 50,000 คน และพ.ร.บ.ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2542 ก็กำหนดรายละเอียดต่างๆ ตามมา เช่น ต้องใช้หลักฐานเป็นสำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของคนทั้ง 50,000 ประธานรัฐสภามีอำนาจสั่งไม่รับร่างกฎหมายของประชาชนได้หากเป็นกฎหมายที่ไม่ เข้าหมวด 3 หรือหมวด 5 ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งกว่า 15 ปีภายใต้ระบบนี้ สิทธิการมีส่วนร่วมโดยตรงของประชาชนแทบไม่เกิดขึ้นได้จริง จึงนำมาสู่การผลักดันเพื่อแก้ไขเสียใหม่

 

รัฐธรรมนูญปี 2550 กำหนดใหม่ว่า ประชาชนจะเสนอกฎหมายได้โดยเข้าชื่อกัน 10,000 คน ด้านภาคประชาชนอย่างมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติและสถาบันพระปกเกล้า ต่างจัดทำร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมายแล้วรวบรวมรายชื่อ ประชาชนเสนอ เพื่อวางระบบการเข้าชื่อเสนอกฎหมายแบบใหม่ ส่งเสริมการใช้สิทธิของประชาชนให้มีความหวังมากขึ้น

 

ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมายของภาคประชาชน ถูกนำมาพิจารณารวมกับร่างฉบับของรัฐบาล และแก้ไขกันในชั้นพิจารณา จนเมื่อวันที่ 30 ต.ค. 2556 รัฐสภาลงมติผ่านร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมายเป็นที่เรียบ ร้อย ร่างฉบับที่ผ่านการพิจารณานี้แม้จะแก้ไขปัญหาเดิมๆ ไปแล้วหลายอย่าง แต่ก็เพิ่มขั้นตอนใหม่ๆ ขึ้นมาที่อาจมีนัยยะสำคัญต่อการใช้สิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมายของประชาชนในอนาคตได้

 
 

ยกเลิกสำเนาทะเบียนบ้านเหลือแค่บัตรประชาชน ลดจำนวนรายชื่อเหลือ 10,000 คน

รัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2550 กำหนดให้ลดจำนวนผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายจาก 50,000 คนเหลือ 10,000 คน ซึ่งระหว่างที่พระราชบัญญัติเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ฉบับปี 2542 ยังใช้บังคับอยู่ แต่ทางปฏิบัติก็ยอมรับกันที่จำนวน 10,000 คนตามรัฐธรรมนูญแล้ว ตามกฎหมายใหม่ได้แก้ไขให้ชัดเจนแล้วว่า ต้องการรายชื่อเพียง 10,000 คนจริงๆ

 

"หลั ฐานประกอบ" สำหรับการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย เป็นอุปสรรคที่สร้างภาระให้กับภาคประชาชนอย่างมาก เพราะกฎหมายเดิมกำหนดให้ใช้ทั้งสำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน ทั้งที่ปกติคนจะไม่พกทะเบียนบ้านติดตัวหรืออาจจะทิ้งไว้ที่บ้านในต่าง จังหวัด ทำให้หลายครั้งคนที่ต้องการสนับสนุนกฎหมายก็ไม่สะดวกที่จะใช้สิทธิของตัวเอง ได้ ตามกฎหมายใหม่จึงกำหนดให้ใช้เพียงสำเนาบัตรประชาชนอย่างเดียว ถือเป็นอันปิดฉากข้อวิจารณ์ที่มีมายาวนานได้อย่างลงตัว

 

ประกาศรายชื่อผ่านอินเทอร์เน็ต และส่งจดหมายแจ้งไปยังผู้เข้าชื่อทุกคน เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง

กระบวนการตามกฎหมายเดิม คือ หลังจากตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของรายชื่อแล้ว รัฐสภาจะส่งรายชื่อไปปิดประกาศไว้ตามองค์กรปกครองส่วนภูมิภาคและส่วนท้อง ถิ่นต่างๆ เพื่อให้ประชาชนมาตรวจสอบว่ามีชื่อของตัวเองอยู่หรือไม่ ถ้าหากพบว่ามีชื่อของตนอยู่ทั้งที่ไม่เคยไปเข้าชื่อฉบับนั้นๆ ก็ให้มาทำเรื่องคัดค้าน ซึ่งที่ผ่านมา กระบวนการนี้มีปัญหาว่าตามปกติไม่มีใครเดินทางไปยังหน่วยงานต่างๆ เพื่อตรวจสอบรายชื่อของตัวเอง แถมยังเคยปรากฏว่าผู้มีอำนาจในท้องถิ่นเองเป็นคนตรวจสอบรายชื่อและมีการใช้ อำนาจข่มขู่คนที่เคยเข้าชื่อเสนอกฎหมายให้ไปถอนชื่อออกด้วย

 

กระบวนการตามกฎหมายใหม่ กำหนดให้รัฐสภามีหน้าที่ประกาศรายชื่อผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายทาง “สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ” ซึ่งตีความได้ว่า จะต้องใช้ช่องทางอินเทอร์เน็ตให้เป็นประโยชน์ และต้องจัดเอกสารไว้ให้ประชาชนตรวจสอบรายชื่อได้ที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้ แทนราษฎร โดยไม่ได้กำหนดให้ปิดประกาศตามที่ต่างๆ ในท้องถิ่น

 

กระบวนการที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งคือ รัฐสภาต้องส่งหนังสือแจ้งไปยังผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายทุกคนด้วย ว่าเป็นผู้มีรายชื่อปรากฏอยู่ เพื่อให้ผู้มีรายชื่อทราบและหากมีการปลอมแปลงรายชื่อมาก็จะได้ใช้สิทธิของตน คัดค้านได้

 

ต้องมีผู้ริเริ่ม 20 คน แจ้งต่อประธานสภาให้พิจารณาเรื่อง “หมวด 3 หมวด 5” ก่อน

ตามกฎหมายเดิมไม่มีระบบการ “แจ้งก่อน” ถ้าใคร หรือคนกลุ่มใด ต้องการจะรวบรวมรายชื่อประชาชนเพื่อเสนอกฎหมายใด ก็สามารถเริ่มดำเนินการเองได้เลย ไม่ต้องแจ้งต่อหน่วยงานใดก่อน ซึ่งมีข้อดีคือ ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพริเริ่มได้โดยอิสระ แต่ขณะเดียวกันก็มีข้อเสีย คือ ร่างกฎหมายหลายฉบับหลังจากที่ประชาชนลงทุนไปมากมายกับกิจกรรมล่ารายชื่อ เมื่อนำไปยื่นเสนอต่อรัฐสภา กลับถูกประธานรัฐสภาวินิจฉัยว่าเป็นร่างกฎหมายที่ไม่เกี่ยวข้องกับหมวด 3 ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพของชนชาวไทย หรือ หมวด 5 ว่าด้วยแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ประชาชนไม่มีสิทธิเสนอ จึงไม่รับร่างกฎหมายไว้พิจารณา ทำให้ความพยายามทุ่มเทในการรวบรวมรายชื่อนั้นเป็นอันสูญเปล่าไป

 

กระบวนการตามกฎหมายใหม่จึงกำหนดให้ ก่อนเริ่มทำกิจกรรมรวบรวมรายชื่อเพื่อเสนอกฎหมายใด ต้องมี “ผู้ริเริ่ม” ไม่น้อยกว่า 20 คน เสนอเรื่องและร่างกฎหมายให้ประธานรัฐสภาพิจารณาก่อน หากประธานรัฐสภาเห็นว่าเป็นร่างกฎหมายที่ไม่เกี่ยวข้องกับหมวด 3 หรือหมวด 5 ของรัฐธรรมนูญก็ให้ส่งเรื่องคืน เพื่อจะได้ไม่ต้องไปล่ารายชื่อให้เสียเปล่าแล้วมาถูกปัดตกภายหลัง

 

กระบวนการนี้อาจลดปัญหาความขัดแย้งว่าร่างกฎหมายฉบับไหนเกี่ยวข้องกับหมวด 3 หรือ หมวด 5 ลงได้บ้าง แต่ขณะเดียวกันก็เพิ่มภาระและขั้นตอนให้กับการใช้สิทธิของประชาชน จึงต้องรอดูทางปฏิบัติกันต่อไปว่าระบบใหม่นี้จะช่วยแก้ปัญหาหรือเพิ่ม อุปสรรคกันแน่

 

กกต. หายไป สภาพัฒนาการเมือง, สำนักงานเลขาฯ, คปก. เพิ่มเข้ามา

ตามกฎหมายเดิม ประชาชนอาจขอให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ช่วยดำเนินการในขั้นตอนการรวบรวมรายชื่อได้ แต่ตามกฎหมายใหม่ตัดบทบาทส่วนนี้ของกกต.ออกไปทั้งหมด ทำให้ประชาชนไม่อาจขอให้หน่วยงานใดช่วยเหลือในการรวบรวมรายชื่อให้ครบ 10,000 ชื่อได้แล้ว ต้องทำเองทั้งหมด

 

ขณะที่ตามกฎหมายใหม่กำหนดให้ประชาชนมีสิทธิขอรับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการล่ารายชื่อจากกองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมืองของสภาพัฒนาการเมืองได้ และสามารถขอให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรหรือสำนักงานคณะกรรมการ ปฏิรูปกฎหมาย หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือในการจัดทำร่างกฎหมายได้

 

รัฐสภาต้องตรวจสอบรายชื่อภายใน 45 วัน

ตามกฎหมายเดิมไม่มีกำหนดกรอบเวลาให้รัฐสภาสำหรับการตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วน ของหลักฐานและรายชื่อผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมาย ทำให้กฎหมายหลายฉบับถูกดองไว้ในกระบวนการตรวจสอบรายชื่อนานเกินจำเป็น ตามกฎหมายใหม่จึงกำหนดหน้าที่ของรัฐสภาให้ตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของ เอกสารให้เสร็จภายใน 45 วัน

 

กำหนดโทษการหลอกให้คนลงชื่อ และการปลอมลายมือชื่อ โทษสูงสุดสิบปี

ตามกฎหมายเดิมไม่มีการกำหนดโทษและความผิดฐานนี้ แต่การปลอมลายมือชื่อย่อมเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 264 อยู่แล้ว ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกินสามปี ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมายฉบับใหม่ำหนดให้ผู้ที่ปลอมลายมือชื่อในการเข้าชื่อเสนอกฎหมายมีโทษจำคุกไม่เกินสิบปี

 

นอกจากนี้กฎหมายใหม่ยังกำหนดว่า ผู้ใดให้ ขอให้ หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด หรือหลอกลวง บังคับ ขู่เข็ญ หรือใช้อิทธิพลคุกคามเพื่อให้ร่วมลงชื่อหรือไม่ลงชื่อ เป็นความผิดมีโทษจำคุกไม่เกินห้าปี ซึ่งการกำหนดเช่นนี้ยังถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าหากมีการโฆษณาให้ประชาชนมาเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยรับรองว่าถ้ากฎหมายฉบับนั้นๆ ผ่านจะเป็นประโยชน์กับประชาชน เช่นนี้จะเป็นความผิดด้วยหรือไม่

 

สรุปข้อมูลจาก http://www.ilaw.or.th/node/2994



20/Dec/2013

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา