สวัสดีครับ
เข้าเรื่องเลย...ถ้าตอบแบบฟันธงก็คงต้องตอบว่า..."ให้รอ"
อธิบายอย่างนี้ครับ
กรณีที่นายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างหรือสิทธิประโยชน์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานนั้น ช่องทางที่ไวที่สุดที่ะจะให้ได้รับเงินก็คือไปยื่นคำร้อง(เขียน คร.๗)ต่อพนักงานตรวจแรงงาน(เจ้าหน้าที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในพื้นที่ๆบริษัทตั้งอยู่) อย่างที่คุณทำนั้นถูกต้องแล้วครับ เมื่อได้รับคำร้องแล้ว เจ้าหน้าที่ก็จะทำการสอบข้อมูลจากฝ่ายผู้ร้อง(ลูกจ้าง) และมีหนังสือเรียกนายจ้าง(บริษัท) เพื่อมาสอบสวนว่าเรื่องราวเป็นมาอย่างไร
ซึ่งกระบวนการต่างๆเหล่านี้ กฎหมายกำหนดไว้ไม่เกิน ๖๐ วันต้องมีคำสั่ง แต่หากเรื่องมันยุ่งยากหรือยังสอบสวนไม่เสร็จก็สามารถขอขยายต่ออธิบดีได้อีกไม่เกิน ๓๐ วันครับ
เมื่อสอบสวนเสร็จ พนักงาตรวจแรงงานก็จะมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ให้นายจ้างจ่ายเงินให้กับลูกจ้าง(ชนะ) หรือ ยกคำร้องของลูกจ้าง(แพ้) ก็ว่ากันตามข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย
เมื่อมีคำสั่งแล้ว เจ้าพนักงานก็จะส่งคำสั่งให้กับทั้งลูกจ้างและนายจ้างเพื่อให้ปฎิบัติต่อไป
และหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่พอใจคำสั่งนั้น ก็สามารถอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ด้วยการฟ้องต่อศาลแรงงานเพื่อเพิกถอนคำสั่งต่อไป
ขั้นตอนก็มีประมาณนี้ครับ
ดังนั้น คำตอบตอนนี้ก็คือให้ รอ ครับ หรือถ้าไม่อยาก รอ ก็ให้ติดต่อนายจ้างเพื่อให้จ่ายเงินให้กับเราซะ ถ้านายจ้างยอมจ่าย เรื่องก็จบครับ
อนึ่ง...กฎหมายกำหนดไว้ตามมาตรา ๙ ว่า "หากนายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างโดยไม่มีเหตุผล ให้นายจ้างจ่ายเงินเพ่ิมอีกร้อยละ ๑๕ ทุกระยะ ๗ วันในจำนวนที่ค้างจ่ายนั้นให้กับลูกจ้าง.. (ถ้าเป็นผม...ถ้าเห็นว่านายจ้างเจตนาที่จะไม่จ่ายค่าจ้างโดยไม่มีเหตุผล ผมจะยังไม่ไปร้องต่อเจ้าพนักงานในทันที (กรณีที่ยังพอมีตังค์ใช้อยู่นะ..อิิอิ) เพื่อรอเวลาให้เลยไปซักเดือนสองเดือนแล้วค่อยไปเขียนคำร้อง เพื่อจะได้รับเงินเพิ่มในส่วนนี้..คิดดูแล้วกัน..หากนายจ้างค้างจ่ายค่าจ้างสองหมื่น ก็จะได้เงินเพิ่มตามมาตรา ๙ อีก ๓,๐๐๐ บาท ทุก ๗ วัน หรือเดือนละประมาณหมื่นสองเชียวนะ..เอาป่าวๆ)
ส่วนเรื่องที่ยังเงียบก็ต้องเข้าใจเจ้าหน้าที่ด้วยนะครับว่า เจ้าหน้าที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานแต่ละสำนักงานหรือแต่ละเขตพื้นที่นั้น มีน้อยเหลือเกิน ไม่เพียงพอต่อปริมาณงานที่เข้ามาในแต่ละวัน เพราะเจ้าหน้าที่ต้องทำงานในหลายเรื่อง ดังนั้น ขอให้อดทนรอไปอีกซักนึดนะครับ...ทำใจร่มๆเข้าไว้ เดี๋ยวผลสุดท้ายเจ้าหน้าที่ก็จะให้ความยุติธรรมกับคุณเองครับ
ทนายพร