24/11/24 - 00:50 am


ผู้เขียน หัวข้อ: เงินค่าครองชีพ เป็น ค่าจ้างไหม ?  (อ่าน 53523 ครั้ง)

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
เงินค่าครองชีพ เป็น ค่าจ้างไหม ?
« เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2013, 04:56:51 pm »
มีหลายคนถามมาว่า เงินค่าครองชีพ เป็น ค่าจ้างไหม ? ขอตอบว่า เงินค่าครองชีพ เป็น "ค่าจ้าง” แน่นอนครับ

ค่าครองชีพเป็นค่าจ้าง เนื่องจากเป็นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5 ที่ได้ให้คำนิยามคำว่า ค่าจ้าง หมายความว่า
- เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน จ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้าง
- สำหรับระยะเวลาการทำงานปกติ เป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือรายระยะเวลาอื่น หรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน
- และให้หมายความรวมถึง เงิน ที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้าง ในวันหยุดและวันลา ที่ลูกจ้างมิได้ทำงาน แต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามพระราชบัญญัตินี้

ดังนั้นการที่ “เงินค่าครองชีพ” เป็น “ค่าจ้าง” เนื่องจากเงินค่าครองชีพนั้น นายจ้างได้จ่ายเป็นรายเดือน มีลักษณะเป็นการจ่ายประจำทุกเดือน มีจำนวนแน่นอน จ่ายสม่ำเสมอ เหมือนกับการจ่ายเงินเดือนทุกเดือน โดยไม่คำนึงว่าลูกจ้างจะหยุดงานหรือไม่

เช่น จ่ายเดือนละ 1,000 บาท ทุกเดือน เพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน แบบเดียวกับค่าจ้าง แม้ว่าจะจ่ายเพื่อช่วยเหลือในภาวะเศรษฐกิจที่มีค่าครองชีพสูงขึ้นก็ตาม เป็นการจ่ายให้กับลูกจ้างเพื่อช่วยเหลือการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันนอกเหนือไปจากค่าจ้างหรือเงินเดือน

เงินค่าครองชีพที่มีการจ่ายแบบนี้ ก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างครับ และสามารถนำมาคำนวณเป็นค่าชดเชยเวลาถูกเลิกจ้างได้ด้วยครับ

อาจมีหลายคนแย้งว่า ค่าครองชีพ ถือเป็น สวัสดิการ ขอตอบว่า การจะตีความว่าเป็นสวัสดิการ หรือ ค่าจ้าง จะยึดหลักเรื่องลักษณะการจ่ายเงินประกอบเป็นสำคัญครับ เพราะเมื่อนายจ้างได้จ่ายเงินค่าครองชีพให้ลูกจ้างแน่นอน เป็นประจำทุกเดือน เพื่อตอบแทนการทำงานเช่นเดียวกับค่าจ้าง ค่าครองชีพจึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างครับ

มีตัวอย่างที่อาจทำให้หลงกลได้ เช่น

(1) บริษัทกำหนดจ่ายให้ลูกจ้างรายวัน และรายเดือนเฉพาะวันที่ลูกจ้างมาปฏิบัติงาน ในอัตราวันละ 15 บาท ก็ถือว่าเป็นการจ่ายที่มีจำนวนแน่นอน และเป็นการประจำ มิใช่เป็นการจ่ายครั้งคราว ดังนั้นค่าครองชีพก็ถือเป็นค่าจ้างเช่นเดียวกันครับ

(2) เงินประจำตำแหน่ง ,ค่านายหน้าที่จ่ายตอบแทนในการทำงานที่คำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ , ค่าเที่ยว ซึ่งเงินเหล่านี้นายจ้างได้จ่ายให้ลูกจ้างในลักษณะประจำ เป็นจำนวนเงินที่แน่นอน เป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงาน ก็ถือว่าเป็นค่าจ้างเช่นเดียวกันครับ ไม่ใช่ สวัสดิการ

(3) มีการจ่ายเงินบางประเภทที่จ่ายเป็นประจำทุกเดือน แน่นอน สม่ำเสมอ แต่ไม่ใช่เพื่อเป็นไปเพื่อตอบแทนในการทำงาน แต่เพื่อจูงใจให้ลูกจ้างทำงานให้มาก ทำงานให้ดี ก็ไม่ถือว่าเป็นค่าจ้างนะครับ เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าเช่าบ้าน ค่าหอพัก ค่าอาหาร เบี้ยขยัน บิลที่นำมาเบิกค่าน้ำมัน ค่าเบี้ยประชุม เงินรางวัล โบนัส ค่าน้ำมันรถเหมาที่จ่ายเพื่อชดเชยกับการที่ลูกจ้างนำรถยนต์ส่วนตัวมาใช้ในการทำงาน


ในที่นี้ต้องตระหนักเพิ่มขึ้นว่า แม้ว่าสหภาพแรงงานกับบริษัทจะทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง โดยมีเงื่อนไขว่า มิให้นำค่าครองชีพไปรวมกับค่าจ้าง เพื่อคิดคำนวณค่าชดเชยและเงินอื่น ๆ ที่คำนวณจากค่าจ้างและเงินเดือน จึงถือว่าเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ย่อมตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลผูกพันกับลูกจ้างใดๆทั้งสิ้น (เพราะตามข้อเท็จจริงนายจ้างก็ยังคงจ่ายค่าครองชีพในอัตราเท่ากันทุกเดือนให้กับลูกจ้างนั่นเอง)


อ้างอิงตามคำพิพากษาฎีกา 3987 - 4329 /53 , 8938 - 8992/2552 , 4842/2548 ,9023/2546 , 875/2544 , 2819/2532 , 171/2530 , 509/2525 , 1133-1268/2525 , 1437/2524
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 24, 2013, 01:45:35 am โดย ทนายพร »

KWanchai70

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
Re: เงินค่าครองชีพ เป็น ค่าจ้างไหม ?
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 18, 2021, 02:29:16 pm »
โอเครครับ แบบนี้ผมจะไปกระจายความรู้ที่ทำงาน