25/11/24 - 00:48 am


ผู้เขียน หัวข้อ: การเลิกจ้างแบบนี้เขาเรียกร้องค่าเสียหายครึ่งล้านได้หรือไม่  (อ่าน 3025 ครั้ง)

Kitiphat

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
เรียน ทนายพร รบกวนขอความรู้หน่อยครับ
เรื่องมีอยู่ว่า
ตัวผมได้ไปสมัครงานบริษัทสอนว่ายน้ำบริษัทหนึ่งที่เจ้าของเป็นคนญี่ปุ่นแต่บริษัทจะเปิดที่เมืองไทย ซึ่งการไปสมัครครั้งนี้มีอาจารย์ที่รู้จักกันแนะนำไป ก่อนที่จะทำการสมัครตัวผมเป็นนักกีฬาทีมชาติไทยและยังทำการผ่อนผันทหารอยู่ ซึ่งได้แจ้งความประสงค์ที่จะขอลากลับมาทำการแข่งขันและทำการผ่อนผันล่วงหน้าแล้วก่อนจะเริ่มเข้าฝึกงาน แต่แล้วปัญหาก็เริ่มขึ้นเมื่อตามที่ตกลงกันคือสามารถลากลับได้แต่พอถึงเวลาจริงกลับไม่อนุมัติให้ลา
ซึ่งขณะนั้นผมฝึกงานไปแล้ว 6 เดือน เริ่มตั้งแต่ มิถุนายน - ธันวาคม แต่ในเดือนธันวาคมบินไปฝึกที่ญี่ปุ่น เมื่อเกิดปัญหาลาไม่ได้ผมจึงตัดสินใจลาออกเพราะมันกระทบกับการผ่อนผันทหาร แต่เขาไม่อนุมัติลาออกและทำเป็นหนังสือเลิกจ้างแทน โดยสัญญางานมี 2 ฉบับ
ฉบับแรก เงินเดือน 10,000 บาท อิงกับกฎหมายแรงงานไทย
ส่วนฉบับที่ 2 เริ่มเซ็นเดือนธันวาคม ปรับเงินเดือนเป็น 23,000 บาท อิงกับกฎหมายแรงงานไทย
หลังจากที่ผมได้ลาออกแล้วทางบริษัททำหนังสือเลิกจ้าง ทาง HR ของบริษัทได้แจ้งว่าจะต้องเสียค่าเสียหายที่ทางบริษัทได้ออกให้เช่น ค่าเรียนภาษา ค่าตั๋วเครื่องบิน ค่าที่พัก และค่าประกันอุบัติติเหตุ
แจ่จากที่ผมได้ลองคิดค่าเสียหายต่างๆมันไม่ถึง 200,000 แต่เขาจะเรียก 500,000 แบบนี้เขาสามารถเรียกค่าเสียหายได้ถึง 500,000 หรือไม่ครับ และผมก็ยังอยู่ในช่วงฝึกทดลองงาน รบกวนทนายชี้แจงให้ฟังหน่อยครับ
ขอบคุณครับ

Fadonvin

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
เป็นประโยชน์มากเลยนะครับ

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
อ่านแล้วสรุปได้ความว่า

ไปสมัครงานเป็นครูสอนว่ายน้ำ โดยมีข้อตกลงนั่นนี่โน้น กัน ต่อมาพอเป็นนายจ้าง-ลูกจ้าง กันแล้ว กลับไม่เป็นตามที่ตกลงกันไว้ จึงขอลาออก แต่นายจ้างไม่อนุมัติ แต่ได้เลิกจ้างแทน (อันนี้ทนายก็งงๆอยู่นะครับ เพราะโดยปกติ การแสดงเจตนาลาออก ก็เพียงทำหนังสือแจ้ง หรือจะเขียนด้วยลายมือบนกระดาษอะไรก็ได้ ก็ถือว่าใช้ได้แล้ว และถือว่าสมบูรณ์ในตัวของมันเองแล้ว ไม่จำต้องได้รับอนุมัติ แต่การที่ลาออกก่อนระยะเวลาที่กำหนดหากเกิดความเสียหาย นายจ้างก็สามารถเรียกร้องค่าเสียหายได้เท่านั้นเอง)

แล้วถามว่า บริษัทเรียกค่าเสียหายมาห้าแสนบาท แพงไปป่ะ? ประมาณนี้

เอาเป็นว่า ทนายจะชี้แจงตามที่สั่งให้ทนายชี้แจงนะครับ (ฮา)

อย่างนี้ครับ...กรณีที่จะเรียกค่าเสียหายต่อกันและกันนั้น กฎหมายไม่ได้ห้ามว่าจะเรียกร้องกันเท่าใหร่ แต่เรียกไปแล้วจะได้หรือไม่นั้น ศาลจะเป็นผู้วินิจฉัยตามพฤติการณ์เป็นกรณีๆไป โดยดูยอดที่เสียหายจริง มิใช่ยอดตามอำเภอใจที่เรียกร้องไปครับ ซึ่งภาระการพิสูจน์ของค่าเสียหายนั้นจะตกอยู่กับผู้กล่าวอ้าง นั่นหมายถึง หากบริษัทอ้างว่าเสียหาย ๕ แสน ก็ต้องอธิบายได้ว่า ๕ แสนนั้นคิดคำนวณจากอะไรบ้าง? มีหลักฐานมั๊ย? สมเหตุสมผลหรือไม่
และที่เราบอกว่า เฮ้ยจริงๆมันไม่ถึง ๕ แสนนะ มันแค่ ๒ แสนเอง เรียกเวอร์ไปป่ะ...อันนี้เราก็ต้องเตรียมข้อมูลให้ดีว่า ฐานคิดของเราคืออะไร มีหลักฐานอะไรสนับสนุนข้อกล่าวอ้างดังกล่าวข้างต้นบ้าง

ทนายก็คงจะชี้แจงได้ประมาณนี้ หวังว่าคงเข้าใจนะครับ...

ถ้ายังสงสัยอยู่ก็โทรหรือสอบถามเพิ่มเติมได้นะครับ ยินดีให้คำปรึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ถามคือทีมชาติไทย ทนายยินดีให้ความกระจ่างอย่างเต็มที่ เพราะคุณคือคนที่สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทยครับ...ไทยแลนด์ สู้ๆๆๆๆๆ .....

ทนายพร.