24/11/24 - 02:44 am


ผู้เขียน หัวข้อ: บริษัท ไม่จ่ายเงินชดเชย  (อ่าน 2570 ครั้ง)

คุณแม่ลูก1

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
บริษัท ไม่จ่ายเงินชดเชย
« เมื่อ: เมษายน 29, 2020, 03:26:27 pm »
สวัสดีค่ะทนายพร  หนูมีเรื่องจะปรึกษา คือสาขาที่หนูประจำอยู่ จะปิดสาขา ในวันที่ 30 เม.ย. 63   ปิดประกาศ 15 เม.ย 2563  (ในประกาศ ลงวันที่ 1 เม.ย63)
      ซึ่งในประกาศได้ระบุย้ายหนูไปประจำที่สาขาต่างจังหวัด (ห่างจากที่เดิมประมาณ 90 กิโล) ให้มีผล 2 พ.ค.63   
      ในวันที่ 23 เม.ย63  หนูได้ส่งหนังสือ แจ้งความประสงค์ ไม่ย้าย เนื่องจากระยะทางไกล และมีบุตรที่ต้องดูแล  ได้ขอให้บริษัทพิจารณาเงินชดเชย ตามกฎหมาย  ( อายุงาน 10 ปี6 เดือน) 

      หลังจากที่ส่งหนังสือปฏิเสธย้ายไปแล้ว  ก็ไม่มีคำตอบใดๆ วันที่ 27 ได้เมลล์ไปสอบถามความคืบหน้า เรื่องเงินชดเชย    ฝ่ายบุคคล บอกแต่ว่า ขอคุยกับทนายบริษัทก่อน  แจ้งแต่ว่าตามหน้าที่เค้า   ถ้าวันที่2 พ.ค.63 หนูไม่ไปทำงานที่สาขาต่างจังหวัด  เค้าจะออกหนังสือว่า หนูขาดงานติดต่อกัน 3 วัน ถือว่าละเว้นการปฏิบัติหน้าที่  (มีคลิปเสียง) อยากถามทนายพรว่า

1.  มีวิธีไหน ที่จะแย้งข้อความผิด ตามที่ฝ่ายบุคคลแจ้งมาบ้าง 
   ( หากบริษัทแจ้งประกันสังคม กรณีออกจากงานเนื่องจาก ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ เกรงว่าจะไม่ได้รับเงินชดเชย)
2. ถ้าไปฟ้องร้องเอาเงินชดเชย  สามารถบอกดอกเบี้ยด้วยได้ไหมคะ
3. เรียกค่าชดเชยแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าได้หรือเปล่าคะ

*** ขอรบกวนทนายพรด้วยนะคะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 29, 2020, 03:30:39 pm โดย คุณแม่ลูก1 »

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
Re: บริษัท ไม่จ่ายเงินชดเชย
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 02, 2020, 02:15:37 pm »
ตอบตามที่ถามเลยนะครับ

ถามมาว่า..

๑ มีวิธีไหน ที่จะแย้งข้อความผิด ตามที่ฝ่ายบุคคลแจ้งมาบ้าง  ( หากบริษัทแจ้งประกันสังคม กรณีออกจากงานเนื่องจาก ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ เกรงว่าจะไม่ได้รับเงินชดเชย)
ตอบ กฎหมายแรงงานของไทยได้กำหนดสิทธิและหน้าที่ไว้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม แต่ถึงแม้ว่าจะมีข้อห้ามมิให้นายจ้างกระทำก็ยังมีนายจ้างจำนวนไม่น้อยหาช่องว่างของกฎหมายกระทำต่อลูกจ้าง เช่น กฎหมายบอกห้ามเลิกจ้าง ก็ยังปรากฎว่านายจ้างเลิกจ้างกันเยอะแยะ หรือกฎหมายบอก ห้ามให้ลูกจ้างทำ OT ก็ยังเห็นบังคับให้ลูกจ้างทำ OT กันเยอะแยะไป ดังนั้น หากนายจ้างเลิกจ้างเพราะเห็นละทิ้งหน้าที่เกินกว่า ๓ วัน หรือไม่ปฎิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาโดยชอบ ก็คงต้องพึ่งกระบวนการยุติธรรมแล้วล่ะครับ เพราะประเด็นแห่งคดีมีว่า คำสั่งย้ายของนายจ้างเป็นคำสั่งย้ายที่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของลูกจ้างและครอบครัวหรือไม่ หากเห็นว่าคำสั่งย้ายนั้นไม่ชอบและส่งผลกระทบต่อครอบครัวลูกจ้าง คุณก็มีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชยตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๑๒๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๒ ประกอบ ๑๑๘ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ ล่ะครับ
ดังนั้น หากถูกเลิกจ้างก็เอาสำเนาประกาศของบริษัท กับหนังสือแจ้งบริษัทไม่ขอติดตามไปที่ใหม่ ไปที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน โดยไปยื่นเรื่องต่อ "คณะกรรมการสวัสดิการแรงงาน" (ก็เจ้าหน้าที่รัฐที่อยู่ที่ สสค.นั่นแหละ) เพื่อวินิจฉัยและมีคำสั่งต่อไปครับ

2. ถ้าไปฟ้องร้องเอาเงินชดเชย  สามารถบอกดอกเบี้ยด้วยได้ไหมคะ
ตอบ สามารถเรียกดอกเบี้ยได้ครับ

3. เรียกค่าชดเชยแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าได้หรือเปล่าคะ
ตอบ  ดูจากที่เล่ามาและลงวันที่ ๑ เมษายน ๖๓ นายจ้างพยายามแสดงให้เห็นว่า ได้ปิดประกาศตามมาตรา ๑๒๐ วรรคแรกแล้ว ดังนั้นประเด็นนี้อาจจะไม่ได้สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าครับ เพราะถือว่ามีการบอกให้ทราบแล้ว ถึงแม้ว่าจะไม่ครบ ๓๐ วันก็ตาม แต่ทนายแนะนำว่า ในการเขียนคำร้องก็ให้ขอไปเถอะ ได้หรือไม่ได้ เดี๋ยวคณะกรรมการสวัสดิการแรงงาน จะวินิจฉัยเองครับ

ให้กำลังใจครับ

ทนายพร.
[/color][/size][/size]