24/11/24 - 02:21 am


ผู้เขียน หัวข้อ: นายจ้างจะให้ลาออก ไม่ให้ใบเลิกจ้างและไม่ยอมจ่ายค่าชดชเยตามกฎหมายค่ะ  (อ่าน 10309 ครั้ง)

Wa

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 3
    • ดูรายละเอียด
สวัสดีค่ะ ทนายพร หนูมีเรื่องร้อนใจมากค่ะ เรื่องการเลิกจ้าง จึงอยากมาขอคำปรึกษาทนายพร ดังนี้นะคะ
เนื่องจากพิษโควิด 2019 และบริษัทที่หนูทำงานด้วยคือบริษัททัวร์ค่ะ เหตุการณ์มีลำดับขั้นดังนี้นะคะ

1.ประมาณช่วงเดือนกุมภาที่ผ่านมา บริษัทเรียก พนักงานทั้งออฟฟิศไปเซ็นยินยอมลดค่าจ้าง 15% และลดวันทำงานลงเป็นอาทิตย์ละ 4 วันทางหนูจึงได้เซ็นยินยอมไปค่ะ เพราะก็อยากข่วยเหลือบริษัท ในเดือนมีนาคม หนูจึงได้เงินเดือน 85% จากฐานเงินเดือนเดิม จ่ายผ่านระบบธนาคารมีใบสลิปเงินเดือนถูกต้อง

2.เดือนมีนาคม บริษัทเรียกพนักงานทั้งออฟฟิศประชุมอีกครั้งและแจ้งว่าให้หยุดอยู่บ้าน Work from home และบริษัทจะจ่ายเงินเดือนให้ 25% การบอกครั้งนี้เป็นการบอกปากเปล่าค่ะ ไม่มีเซ็นเอกสาร ในเดือนเมษายน หนูจึงได้ค่าจ้างเพียง 25% และโอนเงินผ่านบัญชีส่วนตัวมาให้ผ่านแอปธนาคาร และมีการส่งสลิปการโอนมาให้ส่วนตัวในไลน์

3.เดือนพฤษภาคม บริษัทเรียกให้พนักงานเข้าออฟฟิศอีกครั้ง และแจ้งว่าบริษัทไปแจ้งปิดกิจการชั่วคราวแล้ว และมีโครงการจำใจจาก ใครอยากสมัครใจเข้าร่วมโครงการให้มาเซ็นใบลาออก โดยให้ค่าชดเชยเพียง 1 เดือน ไม่ว่าจะทำงานมานานเท่าใดก็ตาม

4.มีพนักงานบางส่วนไปเซ็นเข้าร่วมโครงการ แต่บางส่วนก็ไม่เซ็น ซึ่งหนูไม่เซ็นเพราะไม่ได้ต้องการออกจากงาน ทางบริษัทจึงให้ HR โทรมาตามเรียกให้หนูเข้าไปคุยด้วย กับหัวหน้า HR ซึ่งมีหลายคนที่ไม่เข้าร่วมโครงการโดนเรียกไปคุยภายในวันเดียวกัน

5.หัวหน้า HR ขอให้หนูร่วมโครงการ และขอให้เซ็นใบลาออก ซึ่งจะให้ค่าชดเชยเพียง 1 เดือนและแจ้งว่าทุกแผนกต้องมีคนออก และเค้าจะเลือกว่าให้ใครออกบ้าง เค้าแจ้งว่าไม่มีงานให้หนูทำแล้ว ถ้าไม่เซ็นออกก็ต้องเซ็น leave without pay ไปจนถึงปีหน้าและไม่รู้จะกลับมาทำงานได้เมื่อไหร่ แต่ว่าหนูไม่ยินยอมเซ็นใบลาออก ถ้าจะให้หนูออกหนูแจ้งว่าขอให้เป็นแจ้งหนูเลิกจ้าง เพราะหนูไม่ได้มีเจตนาจะต้องลาออกจากงาน และให้จ่ายค่าชดเชยมาให้หนูตามกฎหมายคือ 90 วัน แต่ HR แจ้งว่าบริษัทไม่มีเงินจ่ายให้ ถ้าอยากได้ให้ไปฟ้องร้องเอา หนูยืนยันไม่เซ็นเอกสาร เค้าจึงมีคำพูดออกมาว่าจะเลิกจ้างหนู และไม่ต้องเข้ามาออฟฟิศแล้วเดี๋ยวจะส่งเรื่องให้เจ้าของบริษัททำใบเลิกจ้างให้ แต่จะไม่ให้ค่าชดเชยใดๆเลยทั้งนั้น

6.HR ได้โทรมาตามให้เข้าไปคุยอีกรอบเป็นครั้งที่ 2 ครั้งนี้คุยกับ HR และเจ้าของบริษัท เจ้าของแจ้งตามเดิมว่าจะให้ชดเชยแค่ 1 เดือน ให้เขียนใบลาออกให้ช่วยบริษัทหน่อย ไม่รู้หรอว่าตอนนี้ที่ไหนๆก็ไม่มีใครจ่ายค่าชดเชยให้กันทั้งนั้น หนูก็ยืนยันตามเดิมว่าไม่เซ็นค่ะ ต้องจ่ายตามสิทธิ์ 90 วันที่หนูต้องได้รับ เพราะหนูก็ต้องใช้เงินเช่นกัน ให้เห็นใจหนูด้วย เพราะหนูก็จะหางานได้อีกเมื่อไหร่ก็ยังไม่รู้ หลังจากหนูไม่ยอมทางนายจ้างเลยมีเหมือนพูดขู่ว่าที่เลือกให้ออกเพราะว่าทำงานไม่ดี มีลูกค้าโทรมาฟ้องหลายคน แต่พี่ไม่เรียกเรามาว่ามาตักเตือนเอง ปล่อยๆไป สุดท้ายก็ยังตกลงกันไม่ได้ เพราะหนูไม่ยอม เค้าก็ไม่ยอม จึงบอกขอกลับมาคิดค่ะ แล้วจะให้คำตอบอีกที เพราะหนูรู้ว่าคุยไปก็ไม่จบ และ HR ได้เรียกใบประกันสุขภาพคืนไป

หนูได้มีไปเล่าเหตุการณ์ให้ทางกรมแรงงานฟังแล้ว กรมแรงงานแจ้งว่าถ้าไม่มีใบเลิกจ้างมาเค้าก็ฟ้องให้ไม่ได้ ไม่มีหลักฐานมาชัดเจนแล้วมาฟ้องจะไม่เป็นผลดีต่อลูกจ้าง นายจ้างจะได้เปรียบแล้วอาจจะบอกกับทางกรมแรงงานว่าเค้าไม่ได้เลิกจ้างเราก็ได้เพราะไม่มีอะไรยืนยัน กรมแรงงานเลยให้ไปปรึกษาศาล

เมื่อไปถึงศาล นิติกรบอกว่าเราไม่มีหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ถ้าจะฟ้องศาลสามารถฟ้องให้ได้แต่เราต้องหาหลักฐานมาให้ได้ว่าเค้าจะเลิกจ้างเราจริงๆ ตอนที่ซาลเรียกมาไกล่เกลี่ย ซึ่งก็ไม่รู้ว่านายจ้างจะมาตุกติกอะไรกับเราอีกหรือเปล่า

ในกรณีเช่นนี้หนูควรทำอย่างไรดีคะ เพราะนายจ้างก็ดึงเรื่องไว้ ตกลงกันไม่ได้ ไม่ยอมให้ใบเลิกจ้าง ไม่ยอมจ่ายชดเชยตามกฎหมาย ซึ่งไปขอความช่วยเหลือแล้วจากทั้งกรมแรงงาน กับ ศาล ก็ยังไม่สามารถสรุปหรือทำอะไรได้เลยค่ะ หนูกลุ้มใจมาก นอนไม่หลับ เครียด เสียเวลาในการเดินทางไปเจรจา แต่ไม่ได้อะไรที่เป็นข้อสรุปออกมา ไม่รู้จะทำยังไงต่อไป ไม่คิดเลยว่านายจ้างจะรังแกลูกจ้างได้ถึงขนาดนี้ค่ะ ซึ่งตอนนี้พนักงานบางคนก็เริ่มมีกลับเข้าไปทำงานแล้วบ้างเป็นบางวันค่ะ และคนที่เค้าเลือกเอาไว้ว่าไม่เอาออก ก็ยังมีงานทำ และนายจ้างยังจ่ายเงินเดือนให้ แต่มาอ้างกับทางหนูว่าเค้าไม่มีเงินจ่ายให้หรอกนะ ซึ่งดูแล้วขัดแย้งกันมากค่ะ รบกวนทนายพรช่วยให้คำปรึกษาทีนะคะ

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
ที่อื่นไม่มีข้อสรุป มาที่นี่เลยครับ...ทนายพร...มีข้อสรุปแน่นอน ;D ;D

ก่อนอื่นก็ให้กำลังใจนะครับ ทนายเข้าใจว่า ตอนนี้คงว้าวุ่นใจไม่น้อย ทั้งๆที่หวังกับหน่วยงานที่พอจะช่วยเหลือได้ แต่ก็ไม่อธิบายข้อกฎหมายหรือแนะนำช่องทางเพื่อให้คลายความกังวลและเห็นแสงสว่างบ้าง และสถานการณ์ไวรัสโควิด ระบาดนี้ ก็เป็นช่องทางให้นายจ้างบางรายอาศัยสถานการณ์นี้ปลดออก เลิกจ้าง มิใช่น้อย ซึ่งคนงานอย่างเราๆก็ต้องก้มหน้ารับชะตากรรมไปโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้ เฉกเช่นผู้ถามมาในเครสนี้

เอาล่ะ เข้าเรื่องดีกว่า  ;D

โดยหลักกฎหมาย ในการเลิกจ้างนั้น มีวิธีเลิกจ้างหลักๆอยู่ ๓ วิธี คือ (๑) บอกเลิกจ้างเป็นหนังสือ (๒) บอกเลิกจ้างด้วยวาจา และ (๓) เลิกจ้างโดยพฤติกรรม

ซึ่งตามวิธีที่ ๑  มีกำหนดไว้ในมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญํติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๑
ส่วนวิธีที่ ๒ มีกำหนดไว้ในมาตรา ๑๑๙ วรรคท้าย และวิธีที่ ๓ มีกำหนดไว้ในมาตรา ๑๑๘ วรรคสอง

เมื่อทราบข้อกฎหมายแล้ว มาดูกันว่าจะแก้ไขสถานการณ์นี้อย่างไร

ในกรณีนี้ อย่างแรกต้องใจเย็นๆก่อน ใจร้อนไม่ได้เดี๋ยวคดีพลิก  ให้รอจนกว่าจะถึงวันเงินเดือนออก แล้วดูว่ามีเงินเดือนเข้าหรือไม่? ถ้าเงินเดือนไม่เข้า วิธีต่อไป ให้ติดต่อไปที่บริษัทในช่องทางใดช่องทางหนึ่ง และให้บันทึกเสียงหรือข้อความไว้ด้วยเพื่อเป็นหลักฐาน โดยให้ถามไปว่า ทำไมเงินเดือนถึงไม่เข้า ถ้าไม่มีคำตอบที่อธิบายได้อย่างมีเหตุผล ก็ไม่ต้องไปต่อล้อต่อเถียงนะครับ เพราะไม่ได้หวังผลในคำอธิบายอยู่แล้ว

ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฎว่านายจ้างไม่ให้ทำงานหรือไม่มีงานให้ทำ และไม่จ่ายค่าจ้างให้ ในทางกฎหมายถือว่าเป็นการเลิกจ้างแล้ว ซึ่งเรียกว่าเลิกจ้างโดยพฤติกรรม ซึ่งก็คือการเลิกจ้างตามวิธีที่ ๓ นั่นเอง

หลังจากนั้น ก็ให้นำเอาสมุดบัญชีไปปรับให้เป็นรายการปัจจุบัน และหลักฐานข้อความที่คุยกับบริษัทที่บอกไว้ตอนต้น ไปเรียกร้องสิทธิต่อไปได้เลย ซึ่งหากจะเรียกร้องเฉพาะค่าชดเชย กับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ทนายแนะนำให้ไปยื่นคำร้องที่พนักงานตรวจแรงงาน (ไปเขียน คร.๗) เพื่อให้พนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งต่อไป  หรือจะเลือกไปศาล ก็อาจจะใช้เวลามากกว่า เพราะช่วงนี้ศาลก็เลื่อนการพิจารณาคดีออกไปเกือบปลายปีแล้วครับ 

แต่ถ้าไปร้องสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในพื้นที่ แล้วเจ้าหน้าที่ยังอิดอ๊อดไม่ยอมดำเนินการให้ ให้เขียนชื่อ-นามสกุล ไว้แล้วมาบอกทนาย เดี๋ยวจะมีช่องทางแนะนำให้ว่าต้องทำงัยต่อ ซึ่งก็ไม่ยากอีกเหมือนกัน

เห็นมั๊ย ทุกปัญหามีทางออก และไม่ต้องกังวลครับ ทำตามที่ทนายบอก เชื่อว่าได้ผลแน่นอน

หากยังสงสัยถามเข้ามาใหม่ได้ครับ

ให้กำลังใจครับ

ทนายพร.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 21, 2020, 01:12:41 am โดย ทนายพร »

Wa

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 3
    • ดูรายละเอียด
ขอบคุณสำหรับคำตอบ และกำลังใจดีๆ จากทนายพรนะคะ
หนูจะรอดูเงินเดือนตามที่ทนายพรบอกค่ะ อาทิตย์หน้าเงินเดือนหนูจะออกพอดี
ถ้ามีอะไรคืบหน้า หรือ สงสัยเพิ่มเติมทางหนูจะมาสอบถามข้อมูลอีกครั้งนะคะ
ขอบคุณมากๆค่ะ

Wa

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 3
    • ดูรายละเอียด
สวัสดีค่ะ ทนายพร
วันนี้ทางบริษัทได้มีการโอนเงินเดือนให้แล้วนะคะ แต่จ่ายเพียง 25% ของเงินเดือน
HR ใช้บัญชีส่วนตัวโอนเงินให้ โดยไม่ใช้เป็นบัญชีของบริษัท
ซึ่งก่อนหน้านี้ทางหนูก็ได้มีไลน์ไปแจ้ง HR แล้วว่าขอยืนยันค่าชดเชยตามกฎหมาย 3 เดือน
แต่ทาง HR ไม่อ่านไลน์ ไม่ตอบ ในขณะที่เค้าตอบไลน์ของพนักงานท่านอื่นๆค่ะ
ในกรณี ที่โอนเงินเดือน เดือนนี้มาให้ แต่ว่ายังไม่ยอมสรุปเรื่องค่าชดเชย ไม่มีการติดต่อใดๆมา
ทางหนูควรดำเนินการในขั้นตอนการต่อไปอย่างไรดีคะ
ขอบคุณค่ะ

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
เป็นการตอบคำถามแบบต่อเนื่อง ;D ;D

เอาเป็นว่า เมื่อนายจ้างยังจ่ายค่าจ้างอยู่ ก็ยังถือว่า นิติสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างยังคงมีอยู่ หรือเรียกว่า เรายังเป็นลูกจ้างอยู่ครับ

แต่การที่บริษัท โอนเงินเดือนให้เพียงร้อยละ ๒๕ นั่น ไม่ถูกต้องแน่ๆ

ถามว่า แล้วจะทำอย่างไร

อย่างแรก  ให้สอบถามไปอีกว่า ทำไมถึงจ่ายค่าจ้างเพียงร้อยละ ๒๕ และขอให้จ่ายให้ครบถ้วนด้วย

หลังจากนั้น ให้รอคำตอบ หรือถ้าไม่ตอบ ก็ไม่เป็นไร  ให้ไปยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน โดยแจ้งว่า นายจ้างจ่ายเงินค่าจ้างไม่ครบ

ขอให้พนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายในส่วนที่เหลือ พร้อมดอกเบี้ย

นอกจากนี้ การที่นายจ้างจ่ายเงินไม่ครบ โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร โดยในคำร้องขอให้แจ้งพนักงานตรวจแรงงานไปด้วย เราต้องการให้นายจ้าง "เสียเงินเพิ่ม ในอัตราร้อยละ ๑๕ ทุกระยะ ๗ วัน" ของเงินที่ค้างจ่ายด้วย ซึ่งในข้อนี้ มีระบุไว้ในมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญํติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ ครับ

ส่วนค่าชดเชยนั้น คงยังไม่มีสิทธิได้รับ เนื่องจากนายจ้างยังไม่เลิกจ้างนั่นเอง และหากต่อมามีการเลิกจ้างก็ไม่ต้องกังวล เพราะในเรื่องค่าชดเชยมีอายุความ ๒ ปี จะฟ้องตอนใหนก็ได้ครับ แต่ต้องไม่เกิน ๒ ปี

ดำเนินการตามที่ทนายชี้ช่องเลยครับ  หากติดขัดปัญหาใดโทรสอบถามได้ครับ

ทนายพร.