24/11/24 - 05:20 am


ผู้เขียน หัวข้อ: รบกวนสอบถามเรื่องการเลิกจ้างหญิงตั้งครรภ์เหตุควบรวมองค์กรครับ  (อ่าน 3378 ครั้ง)

mikami

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
สวัสดีครับผมรบกวนสอบถามกรณีนี้หน่อยครับ

ก่อนอื่นต้องขอบอกว่าภรรยาผมทำงานกับบริษัทหนึ่งมีอายุงานเกิน 3 ปีแต่ไม่เกิน 6 ปี และกำลังตั้งครรภ์อายุครรภ์ประมาณ 4 เดือนเศษ

ซึ่งต่อมาบริษัทนั้นได้ทำการซื้อกิจการของอีกบริษัทหนึ่งมาและมีแผนควบรวมกิจการทั้ง 2 เข้าด้วยกันพร้อมทั้งปรับโครงสร้างบริษัทใหม่ทั้งหมด
ในเดือนที่ผ่านมาจึงมีการให้พนักงานทุกคนในบริษัทยินยอมและยอมรับการควบรวมบริษัท เพื่อให้ย้ายสถานะการเป็นพนักงานไปเป็นลูกจ้างของบริษัทใหม่ที่จะเกิดขึ้น(จากการควบรวม) ซึ่งในส่วนนี้ภรรยาได้ยินยอมเรียบร้อยแล้วโดยเงื่อนไขว่าจะทำงานโดยได้สวัสดิการและเงินเดือนไม่น้อยกว่าเดิม

ขั้นตอนต่อไปคือบริษัทจะคัดเลือกปลดพนักงานออกบางส่วนโดยพิจารณาจากความสามารถในการทำงาน โดยพนักงานบางคนได้ทำงานตำแหน่งเดิม บางคนต้องเปลี่ยนตำแหน่งหรือที่ทำงานใหม่ และบางคนต้องถูกให้ออกจากงาน โดยบริษัทอ้างว่าผู้ที่ถูกให้ออกจากงานจะได้รับเงินชดเชยไม่น้อยกว่ากฎหมายกำหนด

ผมอยากทราบว่า...

1. ถ้าหากภรรยาผมถูกขอให้ออกจากงานจะเป็นการขัดต่อกฎหมายพระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงานมาตรา 43 หรือไม่ และทำได้ไหม เนื่องจากเหตุผลการให้ออกไม่ใช่เพราะตั้งครรภ์
2. ถ้าบริษัทยืนยันจะให้ภรรยาผมออกจากงาน ถือว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมหรือไม่
3. หากมีการเลิกจากงานขึ้นจริง ๆ ภรรยาผมจะสามารถเรียกร้องเงินตามนี้เป็นไปตามสมควรหรือไม่ (ต้องการทราบเอาไว้ก่อนว่าควรจะได้ขั้นต่ำเท่าไร เนื่องจากหากบริษัทเลิกจ้างจะมีการให้ลูกจ้างทำสัญญาการเลิกจ้างโดยยอมรับเงินชดเชยตามยอดที่บริษัทกำหนดเอาไว้ในทันที หากไม่เซ็นลูกจ้างจะไม่ได้รับเงินชดเชยใด ๆ ต้องไปฟ้องร้องกับกรมแรงงานเอาเอง)
- 3.1 ค่าชดเชยจากการให้ออกจากงาน อายุงานไม่เกิน 6 ปี = 6 เดือน
- 3.2 ค่าชดเชยจากการให้ออกจากงานโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า 1 เดือน
- 3.3 ค่าเสียหายจากเงินเดือนระหว่างลาคลอดบุตร 1.5 เดือน
- 3.4 ค่าเสียหายจากการสูญเสียรายได้จากการตกงาน (1)ระหว่างตั้งครรภ์ที่เหลือ 5 เดือน (2)ระหว่างพักฟื้นจากการตั้งครรภ์ 3 เดือน (3)ระหว่างหางานใหม่ 3 เดือน (4)ระหว่างยังหางานใหม่ไม่ได้ 3 เดือน รวม14 เดือน
- 3.5 ค่าเสียหายจากโบนัสที่สัญญาเอาไว้กับลูกจ้างทุกคนว่าจะจ่ายให้ 2.5 เดือนในสิ้นปี 2563 นี้
- 3.6 ค่าเสียหายจากโบนัสของปีหน้าที่ควรจะได้ 3 เดือน (ดูจากค่าเฉลี่ยโบนัสที่เคยได้มาในอดีต) เนื่องจากหากไม่ถูกไล่ออก ภรรยาอย่างน้อยจะต้องอยู่กับบริษัทนี้นานจนถึงได้รับโบนัสเพราะดูจากระยะเวลา 5 เดือนที่ตั้งครรภ์ บวกกับ 3 เดือนที่มีสิทธิลาคลอด
- 3.7 ค่าเสียหายจากการสูญเสียเงินได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่บริษัทจะต้องสมทบให้พนักงานสูงสุด 15% ต่อเดือน (ตามอายุงานภรรยาคือถ้าออกจากงานจะได้รับเงินสมทบเต็ม 100%) คำนวน 6.5 เดือนตามอายุเงินเดือนต่ำสุดที่ควรได้หากไม่ถูกให้ออกจากงาน เป็นเงินประมาณ 1 เดือน
- 3.8 ค่าเสียหายจากสวัสดิการอื่น ๆ เช่นประกันสุขภาพลูก, สวัสดิการค่าใช้จ่ายพิเศษที่จะได้รับระหว่างการเป็นหนักงาน
4. ค่าเสียหายจากการให้ออกจากงานโดยไม่เป็นธรรม สามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากการทำให้เสียชื่อเสียงและทำลายขวัญกำลังใจลูกจ้างได้ด้วยหรือครับ เห็นบางกรณีก็มีพูดถึงค่าเสียหายส่วนนี้ ไม่แน่ใจว่าศาลจะพิจารณาเป็นมูลค่าเงินได้ด้วยหรอครับ
5. ถ้าบริษัทไม่ได้ให้ภรรยาผมออกจากงาน แต่มอบหมายให้ทำงานตำแหน่งอื่น หรือปรับขึ้นตำแหน่งโดยภรรยาผมไม่ได้รับการปรับค่าจ้างขึ้นหรือปรับขึ้นไม่สมเหตุสมผล และบังคับให้ทำการเซ็นสัญญาเปลี่ยนตำแหน่งงาน และ/หรือ เงินเดือนในทันที ภรรยาผมสามารถเลือกที่จะปฏิเสธการเซ็นสัญญานั้นได้ใช่ไหมครับ ผมแนะนำให้ภรรยาผมไม่ต้องเซ็นย้ายตำแหน่ง แต่ให้ยอมเข้าไปทำงานในตำแหน่งใหม่ไปก่อนด้วยความจำยอมเพื่อไม่ให้ขาดงานหรือละเว้นการทำงาน แล้วค่อยไปฟ้องกรมแรงงานเรื่องการบังคับเปลี่ยนงานโดยไม่ชอบธรรม ไม่ทราบว่าการแนะนำแบบนี้ถูกต้องหรือไม่อย่างไรครับ

ขอบคุณครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 14, 2020, 02:31:05 pm โดย mikami »

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
ถามมาหลายข้อ ทนายก็ตอบเป็นข้อๆตามที่ถามเลยนะครับจะได้กระจ่างชัด

ถามมาว่า....

1. ถ้าหากภรรยาผมถูกขอให้ออกจากงานจะเป็นการขัดต่อกฎหมายพระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงานมาตรา 43 หรือไม่ และทำได้ไหม เนื่องจากเหตุผลการให้ออกไม่ใช่เพราะตั้งครรภ์
ตอบ แน่นอนว่า คงไม่มีบริษัทใหนที่จะระบุสาเหตุแห่งการเลิกจ้างว่าเพราะเหตุตั้งครรภ์ แต่จะหาเหตุอื่นมากล่าวอ้าง เช่น ตำแหน่งเต็ม หรือจะอะไรก็แล้วแต่ เมื่อนายจ้างไม่ได้อ้างเหตุตั้งครรภ์ กฎหมายจึงไม่ห้ามที่จะเลิกจ้าลูกจ้างที่ตั้งครรภ์ ครับ

2. ถ้าบริษัทยืนยันจะให้ภรรยาผมออกจากงาน ถือว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมหรือไม่
ตอบ  การเลิกจ้างจะเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ ต้องดูสาเหตุแห่งการเลิกจ้างเป็นสำคัญ อีกทั้งต้องดูว่าเป็นการกลั่นแกล้ง หรือมีเหตุอันควรหรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า การเลิกจ้างภรรยาของเราเกิดจากการเลือกปฎิบัติ ถ้าพิสูจน์ได้ ก็ถือว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ตามมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.๒๕๒๒ ซึ่งทนายดูแล้วก็มีโอกาสอยู่นะครับ

3. หากมีการเลิกจากงานขึ้นจริง ๆ ภรรยาผมจะสามารถเรียกร้องเงินตามนี้เป็นไปตามสมควรหรือไม่ (ต้องการทราบเอาไว้ก่อนว่าควรจะได้ขั้นต่ำเท่าไร เนื่องจากหากบริษัทเลิกจ้างจะมีการให้ลูกจ้างทำสัญญาการเลิกจ้างโดยยอมรับเงินชดเชยตามยอดที่บริษัทกำหนดเอาไว้ในทันที หากไม่เซ็นลูกจ้างจะไม่ได้รับเงินชดเชยใด ๆ ต้องไปฟ้องร้องกับกรมแรงงานเอาเอง)
- 3.1 ค่าชดเชยจากการให้ออกจากงาน อายุงานไม่เกิน 6 ปี = 6 เดือน
- 3.2 ค่าชดเชยจากการให้ออกจากงานโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า 1 เดือน
- 3.3 ค่าเสียหายจากเงินเดือนระหว่างลาคลอดบุตร 1.5 เดือน
- 3.4 ค่าเสียหายจากการสูญเสียรายได้จากการตกงาน (1)ระหว่างตั้งครรภ์ที่เหลือ 5 เดือน (2)ระหว่างพักฟื้นจากการตั้งครรภ์ 3 เดือน (3)ระหว่างหางานใหม่ 3 เดือน (4)ระหว่างยังหางานใหม่ไม่ได้ 3 เดือน รวม14 เดือน
- 3.5 ค่าเสียหายจากโบนัสที่สัญญาเอาไว้กับลูกจ้างทุกคนว่าจะจ่ายให้ 2.5 เดือนในสิ้นปี 2563 นี้
- 3.6 ค่าเสียหายจากโบนัสของปีหน้าที่ควรจะได้ 3 เดือน (ดูจากค่าเฉลี่ยโบนัสที่เคยได้มาในอดีต) เนื่องจากหากไม่ถูกไล่ออก ภรรยาอย่างน้อยจะต้องอยู่กับบริษัทนี้นานจนถึงได้รับโบนัสเพราะดูจากระยะเวลา 5 เดือนที่ตั้งครรภ์ บวกกับ 3 เดือนที่มีสิทธิลาคลอด
- 3.7 ค่าเสียหายจากการสูญเสียเงินได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่บริษัทจะต้องสมทบให้พนักงานสูงสุด 15% ต่อเดือน (ตามอายุงานภรรยาคือถ้าออกจากงานจะได้รับเงินสมทบเต็ม 100%) คำนวน 6.5 เดือนตามอายุเงินเดือนต่ำสุดที่ควรได้หากไม่ถูกให้ออกจากงาน เป็นเงินประมาณ 1 เดือน
- 3.8 ค่าเสียหายจากสวัสดิการอื่น ๆ เช่นประกันสุขภาพลูก, สวัสดิการค่าใช้จ่ายพิเศษที่จะได้รับระหว่างการเป็นหนักงาน
ตอบ ทนายพยายยามอ่านข้อนี้หลายรอบว่ากำลังจะสื่อสารอะไร หรือกำลังจะถามว่า หากถูกเลิกจ้างจะสามารถเรียกค่าเสียหายตามข้อ ๓.๑ ถึง ๓.๘ ได้มั๊ย ถ้าถามอย่างนี้ ก็ตอบว่า ได้ครับ แต่อาจจะได้แค่เรียก ;D เพราะการกำหนดค่าเสียหายเป็นดุลพินิจของศาลที่จะเป็นผู้กำหนด ซึ่งจะดูว่าเราเสียหายเพียงใดโดยคำนึงถึงอายุงาน เงินที่ได้รับไปแล้ว โดยปกติค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมนี้ ศาลฏีกาได้วางแนวไว้ว่าให้คำนวณตามอายุงานของลูกจ้างที่ทำงานมา ในอัตราปีละ ๑ เดือน ประมาณนี้ เว้นแต่จะมีข้อตกลงกันไว้ว่าเงินอื่นๆตามข้อ ๓.๑-๓.๘ เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างแล้วเรามีสิทธิได้รับถึงแม้ว่าจะพ้นการเป็นลูกจ้างมาแล้วก็ตาม ยกตัวอย่างเช่น เงินโบนัส หากบริษัทตกลงจ่ายเงินโบนัสให้ในวันที่ ๒๕ ธันวาคม แล้วเรามาถูกเลิกจ้างในวันที่ ๑ มกราคม แต่นายจ้างไม่จ่ายเงินโบนัส กรณีเช่นนี้สามารถเรียกร้องได้ แต่ถ้ากรณีกลับกัน กำหนดจ่ายโบนัสในวันที่ ๒๕ ธันวาคม แต่นายจ้างเลิกจ้างเราในวันที่ ๑ ธันวาคม กรณีเช่นนี้ ไม่สามารถเรียกได้เพราะยังไม่ถึงกำหนดครับ ประมาณนี้

4. ค่าเสียหายจากการให้ออกจากงานโดยไม่เป็นธรรม สามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากการทำให้เสียชื่อเสียงและทำลายขวัญกำลังใจลูกจ้างได้ด้วยหรือครับ เห็นบางกรณีก็มีพูดถึงค่าเสียหายส่วนนี้ ไม่แน่ใจว่าศาลจะพิจารณาเป็นมูลค่าเงินได้ด้วยหรอครับ
ตอบ ค่าเสียหายในส่วนชื่อเสียนั้น ศาลจะรวมๆในอัตราปีละ ๑ เดือนตามอายุงานตามที่อธิบายไว้ในข้อ ๓ แล้วครับ

5. ถ้าบริษัทไม่ได้ให้ภรรยาผมออกจากงาน แต่มอบหมายให้ทำงานตำแหน่งอื่น หรือปรับขึ้นตำแหน่งโดยภรรยาผมไม่ได้รับการปรับค่าจ้างขึ้นหรือปรับขึ้นไม่สมเหตุสมผล และบังคับให้ทำการเซ็นสัญญาเปลี่ยนตำแหน่งงาน และ/หรือ เงินเดือนในทันที ภรรยาผมสามารถเลือกที่จะปฏิเสธการเซ็นสัญญานั้นได้ใช่ไหมครับ ผมแนะนำให้ภรรยาผมไม่ต้องเซ็นย้ายตำแหน่ง แต่ให้ยอมเข้าไปทำงานในตำแหน่งใหม่ไปก่อนด้วยความจำยอมเพื่อไม่ให้ขาดงานหรือละเว้นการทำงาน แล้วค่อยไปฟ้องกรมแรงงานเรื่องการบังคับเปลี่ยนงานโดยไม่ชอบธรรม ไม่ทราบว่าการแนะนำแบบนี้ถูกต้องหรือไม่อย่างไรครับ
ตอบ กฎหมายคุ้มครองเรื่องห้ามมิให้เปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณ แต่ที่เล่ามา หากการโยกย้ายตำแหน่งนั้น ค่าจ้างหรือสวัสดิการไม่ลดลงเป็นอำนาจในการจัดการของนายจ้าง สามารถโยกย้ายได้ เว้นแต่เป็นงานเฉพาะที่ต้องใช้วิชาชีพ และสมัครงานมาในตำแหน่งนี้โดยเฉพาะ อย่างนี้ย้ายไม่ได้ แต่ถ้าไม่ใช่ นายจ้างสามารถโยกย้ายได้ 
อย่างไรก็ตาม ในเรื่องการโยกย้านนี่ทนายไม่ค่อยกังวลใจเท่าใหร่ แต่กังวลใจในปลายทางว่า หากเราไม่ยอมและไปเรียกร้องสิทธิ ภรรยาของเราจะถูกกดดันอย่างมาก แล้วการทำงานในอนาคตภรรยาของเราจะรับแรงกดดันได้เพียงใด หากรับแรงกดดันไม่ไหว คราวนี้แหละ นรกชัดๆ เลย ทำงานก็ไม่สนุกแน่ๆเลย  ลองไต่ตรองดูเอาครับ

ประมาณนี้ หากสงสัยสอบถามเพิ่มเติมได้ครับ

ให้กำลังใจครับ

ทนายพร

[/color][/size]

mikami

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
ขอขอบคุณทนายพรมาก ๆ ครับ
ได้รับคำตอบที่ชัดเจนและตามต้องการเรียบร้อยแล้วครับ และขอขอบคุณคำแนะนำอย่างตรงไปตรงมาด้วยครับ
สุดท้ายภรรยาได้รับการจ้างงานต่อครับสบายใจแล้วครับ ขอบคุณอีกครั้งนึงครับ  :)