25/11/24 - 13:05 pm


ผู้เขียน หัวข้อ: มีโอทีคงเหลือจากที่ทำงานเก่า 147 ชม. ออกจากงานบริษัทไม่จ่ายOTสักบาท  (อ่าน 3392 ครั้ง)

ปิยาภรณ์

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
ขออนุญาตสอบถามหน่อยค่ะ
หนูมี OT คงเหลือจากบริษัทเก่าตั้งแต่เดือนพ.ย63,ธ.ค63,ม.ค64,ก.พ64 ทบมาเรื่อยๆจนเป็น 147 ชม. แต่ก่อนเขาจะให้เป็นเงินพอมาช่วงโควิด บริษัทบอกว่าต้องการเซฟค่าใช้จ่าย
เขาให้ทำOTทีแล้วเอามาเป็นวันหยุดแทน
แต่ในเคสของหนู หนูไม่ได้เป็นวันหยุดและเงิน เพราะไม่มีคนทำงาน หนูเลยไม่ได้ใช้OTมาเป็นวันหยุด หนูทำโอทีทุกวัน
แล้วหนูก็ออกจากงานกระทันหัน พอถามบริษัทเรื่องOTที่หนูทำไปในทุกๆวันที่ทำงาน เขาบอกไม่ได้เป็นเงินให้เป็นวันหยุดอย่างเดียวแล้วเพราะหนูออกกระทันหันด้วยเลยไม่ได้อะไรสักอย่าง
แต่ในสัญญาจ้างงานที่เซ็นก่อนทำงานไม่มีข้อที่ออกกระทันหันแล้วจะไม่จ่ายโอทีคงเหลือ มีแต่ไม่จ่ายค่าแรงอันนี้หนูเข้าใจ
แล้วเรื่องOTของหนู อย่างงี้หนูสามารถไปปรึกษากรมแรงงานได้ไหมค่ะ
เพราะหนูถามเรื่องโอทีกับบริษัทเขาก็จะพูดดักว่าที่ไม่ให้เพราะหนูออกกระทันหัน
ป.ล วันนักขัตฤกษ์เขาก็ให้มาเป็นวันหยุด แต่หนูไม่ได้หยุด เพราะไม่มีคนมาทำงานแทน เขาก็ไม่ให้เป็นเงินแทน
เท่ากับที่หนูทำงานลงแรงล่วงเวลามา เขาไม่จ่ายอะไรให้หนูเลย

Dawut

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 7
    • ดูรายละเอียด
“ยืนยันว่า การทำงานล่วงเวลาต้องจ่ายเป็นเงินเท่านั้น จะแลกเปลี่ยนเป็นวันหยุดเพิ่มเติม หรือวันหยุดสะสมไม่ได้”
             ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้กำหนดกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา หรือ OT ในวันทำงาน ให้นายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่ลูกจ้างเป็นเงินในอัตราไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ หรือไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงาน ที่ทำได้สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

             และในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันหยุดให้นายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลาในวันหยุดแก่ลูกจ้างในอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำหรือไม่น้อยกว่าสามเท่าของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้ ทั้งนี้การทำงานล่วงเวลาไม่สามารถแลกเปลี่ยนเป็นวันหยุดเพิ่มเติม หรือวันหยุดสะสมได้

               ให้รวบรวมหลักฐานต่างๆ ที่ระบุว่าเราทำงานล่วงเวลา ไปที่สำนักงานสวัสดิการคุ้มครองแรงในพื้นที่ไปเขียนคำร้อง (คร๗) เพื่อให้พนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งบังคับให้นายจ้างจ่าย ซึ่งมีอายุความ ๒ ปีนะครับ

สู้ๆๆ ครับ

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
สำหรับคำถามนี้ "Dawut" ตอบและอธิบายได้ถูกต้องแล้วครับ

ให้กำลังใจครับ

ทนายพร.