เรื่องมีอยู่ว่าผมทำงานเป็นลูกจ้างของบ.เหมาค่าแรงแห่งหนึ่งผู้ว่าจ้างเป็นรัฐวิสาหกิจได้9ปีละครับ เป็นงานที่ต้องทำนอกสถานที่ ใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิก บันทึกข้อมูล เข้าบ้านนั้นออกบ้านนี้ วันละประมาณ400หลังคาเรือน แล้วก็ต้องขับรถในเวลาเดียวกัน เดิมทีตกลงกันว่าเดือนนึงจะทำงานแค่ 8วันติดต่อกันถ้าหยุดภายใน8วันนั้น จะโดนหักวันละ1000บ. และจะได้ค่าจ้างตอนสิ้นเดือน 7,500บ. แต่ในสัญญาจ้างจะแยกเป็นเงินเดือน5,000บ.และค่าน้ำมัน2,500บ. เท่ากันทุกเดือน ต่อมาบ.ได้เพิ่มจำนวนชิ้นงานต่อวันอีก แล้วก็เพิ่มวันทำงานอีก1วัน รวมเป็น9วันติดต่อกัน แบบงงๆ ถ้าใครไม่พอใจก็จะมี(staff) ตามที่เรียกๆกัน จะโทรมาบอกว่า"ถ้ารับข้อเสนอไม่ได้ก็เซ็นใบลาออก บ.ไม่ง้อ"อะไรเทือกๆนี้ เราก็ไม่อยากจะหางานใหม่ก็ทำไป ..... แต่มาระยะหลังนี้ เริ่มบ้าพลัง สั่งให้เราทำโน่น นี่ นั่นเพิ่ม แถมยังเปลี่ยนอุปกรณ์อีก ตอนนี้คาดเวลาเสร็จไม่ได้แล้ว พอไม่เสร็จใน9วันก็ให้เราทำจนเสร็จ ต้องทำงาน10-11วันติดกันหลายเดือนแล้ว พอถามถึงเรื่องขอขึ้นค่าจ้าง ก็มีคำสั่งจากผู้บริหาร ว่า จะไม่มีการขึ้นค่าจ้างแน่นอน ใครไม่พอใจก็ลาออกไปเลย บ.ไม่ง้อพนักงาน เค้าว่างี้ ตอนนี้มีแผนจะให้ทำงานเพิ่มอีกเป็น10วัน ผมก็ไม่รู้จะทำยังไง ดีก็เลยบอกผ่านตัวแทนไปว่าผมจะทำเท่าที่ได้ตกลงกันไว้ ว่าเดือนนึงจะทำงานจริงแค่9วัน แล้วก็ทำแค่9วันจริงๆ(คือทำงานเต็มที่นะครับแต่มันไม่เสร็จจริงๆ) เดือนที่แล้ว(ส.ค)ไม่มีการหักเงิน แต่มาเดือนนี้ เมื่อตอนเย็น staff โทรมาถามว่าจะทำงานต่อมั้ย ถ้าไม่ทำให้เสร็จก็ลาออกไปเลย บลา บลา บลา... แล้วพี่แกก็วางสายไป
*ผมทำแบบนี้ผิดหรือปล่าวครับ?
*หรือผมต้องทำโดยไม่มีสิทธิเรียกร้องต่อไปหรือ?
*สัญญาที่ไม่เหมือนสัญญาสักเท่าไหร่นายจ้างจะยกเอามาอ้างได้ไหม?(เพราะในสัญญานายจ้างจะได้ประโยชน์อยู่ฝ่ายเดียว)