ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

ชุมนุมหน้าโรงงาน : ชุมนุมอย่างไรไม่ผิดกฎหมายทุกฉบับ

นช่วงฤดูกาลยื่นข้อเรียกร้องของลูกจ้างของทุกๆปี มีบางโรงงานที่ยังไม่สามารถตกลงในข้อเรียกร้องระหว่างนายจ้างและสหภาพแรงงาน ได้ในระหว่างเจรจา ลูกจ้างมักจะมีการนัดชุมนุมหน้าโรงงานเพื่อชี้แจงข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยว ข้องต่อลูกจ้าง หรือในบางกรณีที่นำไปสู่ข้อพิพาทแรงงาน และมีการนัดหยุดงานในฝ่ายลูกจ้างหรือมีการปิดงานจากฝ่ายนายจ้าง ลูกจ้างก็มักจะมีการนัดชุมนุมยืดเยื้อหน้าโรงงานเพื่อให้เกิดการเจรจาต่อรอง ที่เป็นธรรมสำหรับทุกฝ่ายขึ้นมา


แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 63 จะบัญญัติไว้ชัดเจนว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ การจำกัดเสรีภาพจะกระทำมิได้” 


แต่อย่างไรก็ตามในมาตราเดียวกันนี้ ได้มีการระบุต่อท้ายว่า
“เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะในกรณีการชุมนุมสาธารณะ และเพื่อคุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะสงคราม หรือในระหว่างเวลาที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือประกาศใช้กฎอัยการศึก”


นั้นหมายความว่าการชุมนุมโดยสงบเท่านั้นที่จะได้รับความคุ้มครองภายใต้รัฐธรรมนูญ คือ ต้องไม่มีการใช้กำลังประทุษร้ายระหว่างการชุมนุม ต้องไม่มีการขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย และต้องไม่กระทำการให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง

เช่นเดียวกันการชุมนุมหน้าโรงงานย่อมมีข้อจำกัดบางอย่างที่สามารถกระทำได้ และไม่สามารถกระทำได้ คณะทำงานฝ่ายกฎหมาย คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย จึงได้รวบรวมแนวทางที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายด้านการชุมนุม เพื่อให้พี่น้องแรงงานกลุ่มต่างๆใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดชุมนุมที่ไม่ ผิดกฎหมายและไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพผู้อื่น

7 หลักการสำคัญของการชุมนุมที่ห้ามกระทำโดยเด็ดขาด ทั้งนี้มีคำพิพากษาแล้ว ได้แก่
 

(1) การ ปราศรัยในที่ชุมนุมต้องเป็นไปเพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเรื่องสภาพการจ้างงานในบริษัทหรือสถานประกอบการ เท่านั้น การปราศรัยที่เป็นการโน้มน้าว ปลุกระดม ยุยง ให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่อง จนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในที่ชุมนุม แม้จะยังไม่มีการปฏิบัติตามนั้น แต่ถ้ามีประโยคที่สื่อได้ว่า “หากไม่มีการปฏิบัติตามที่กลุ่มผู้ชุมนุมเรียกร้อง ขู่เข็ญ ก็จะมีการใช้กำลังประทุษร้ายนายจ้าง” ก็ถือว่ามีความผิดแล้วจะกระทำมิได้โดยเด็ดขาด ทั้งนี้โทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 และ 215)
 
(2) ผู้จัดการชุมนุมหรือผู้เข้าร่วมการชุมนุม ห้ามยุยงหรือสนับสนุนให้มีการใช้ความรุนแรงเพื่อบังคับข่มขู่ หน่วงเหนี่ยว หรือมุ่งให้เกิดการกักขังผู้อื่น จนทำให้ผู้อื่นกลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ จนไม่กล้าที่จะเข้าไปทำงานในโรงงาน ถือเป็นการกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น โทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309)  


(3) ห้ามปิดกั้นถนนสาธารณะสายหลักที่มีการจราจร หนาแน่นอย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะการปิดกั้นถนนทางหลวงหรือกระทำการใดๆกับทางหลวง อันเป็นการกีดขวางการจราจร หรืออาจเกิดอันตรายหรือเสียหายแก่ยานพาหนะ หรือบุคคลที่สัญจร ถือเป็นการกระทบสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่นที่ใช้รถใช้ถนนทำให้ไม่อาจสัญจรไป มาได้จนได้รับความเดือดร้อน มีโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (พ.ร.บ.ทางหลวง พ.ศ.2535 มาตรา 39, 71 พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 114, 148) 


(4) ห้ามใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต ทั้งนี้การใช้เครื่องขยายเสียงจะสามารถกระทำได้ เมื่อได้แจ้งข้อเรียกร้องและความจำเป็นในการชุมนุมต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แล้ว จึงจะได้รับการยกเว้น อย่างไรก็ตามถึงผู้ชุมนุมไม่แจ้งเจ้าหน้าที่ ก็มีโทษเพียงการปรับจำนวน 200 บาท เท่านั้น (พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ.2493 มาตรา 9)


(5) การนัดหมายหรือสั่งการให้ลูกจ้างหยุดงานโดยไม่เป็นไปตามขั้นตอนและเงื่อนไขของ กฎหมาย รวมถึงมีการปิดประตูโรงงานด้วยวิธีการต่างๆ การตรวจค้นร่างกาย เพื่อมิให้นายจ้างหรือลูกจ้างที่ประสงค์จะเข้าทำงานเข้าออกได้ และการเข้าไปในโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง กระทำให้ผู้อื่นกลัวว่าจะเกิด อันตรายต่อชีวิต ร่างกาย และเสรีภาพ อันเป็นการกระทบสิทธิเสรีภาพผู้อื่น (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 16)


(6) การเดินขบวนเพื่อเรียกร้องข้อเสนอบางอย่าง หรือคัดค้านการกระทำบางอย่างตามปกติธรรมดา ไม่ถือเป็นการก่อให้เกิดการวุ่นวาย แต่ทั้งนี้ต้องไม่กีดขวางการจราจรเด็ดขาด แต่ในข้อนี้โทษปรับแค่ 500 บาท (พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 108 และ 148)


(7) ห้ามมีการใช้กำลังประทุษร้าย เช่น ทำร้ายบุคคลอื่น หรือทำลายและเผาทรัพย์สินต่างๆของทางราชการและของสถานประกอบการหรือของบุคคล ให้เสียหาย ถือว่าเป็นการทำให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 215  ทั้งนี้การเผาหุ่นจำลองต่างๆที่ผู้ชุมนุมกล่าวหา ไม่ถือว่าเป็นการทำให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง (ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 215)  
 
ข้อสังเกต


อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา การชุมนุมที่มีการเดินขบวนในลักษณะกีดขวางการจราจร โดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 108, มาตรา 148 และการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงด้วยกำลังไฟฟ้าโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามพระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณาด้วยเครื่องขยายเสียง พ.ศ.2499 มาตรา 4 มาตรา 9 ถือว่าเป็นบทบัญญัติที่จำกัดเสรีภาพของประชาชนและขัดต่อรัฐธรรมนูญ จึงไม่อาจนำมาใช้กับผู้ชุมนุมในทางสาธารณะได้



 แต่ทั้งนี้ก็ต้องระมัดระวังในกรณีนี้ด้วยเช่นกัน เพราะเมื่อเดือนตุลาคม 2556 มีคำพิพากษาจากศาลจังหวัดสระบุรี กรณีการชุมนุมคัดค้านสร้างโรงไฟฟ้าหนองแซง ศาลชี้ว่าเสรีภาพการชุมนุมต้องไม่ละเมิดกฎหมายอื่น จำเลยมีความผิดให้จำคุก 1 ปี ปรับ 6,200 บาท โดยโทษจำคุกให้รอลงอาญา มีกำหนดคนละ 2 ปี เพราะมีการชุมนุมปิดถนนพหลโยธิน ก่อให้เกิดอันตรายกับประชาชน กีดขวางทางหลวง และใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต


พรนารายณ์ ทุยยะค่าย 13 พฤศจิกายน 2556

 

 



15/Nov/2013

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา