ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

ประกันสังคมขยายสิทธิประโยชน์ผู้ประกันตนแรงงานนอกระบบเพิ่ม 5 ทางเลือก

นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า สำหรับการให้ความคุ้มครองประกันสังคมแรงงานต่างด้าว ปัจจุบันมีแรงงานต่างด้าวเป็นผู้ประกันตนราว 3.9 แสนคน ทั้งนี้จากการเปิดขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบถูกกฎหมายตาม MOU ส่งผลให้มีแรงงานต่างด้าวที่เป็นผู้ประกันตนเพิ่มขึ้นแบ่งเป็น พม่า 2.3 แสนคน กัมพูชา 7.3 หมื่นคน  และลาว 1.1 หมื่นคน

 

ส่วนการประกันการว่างงาน ในปีที่ผ่านมามีการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานราว 8 หมื่นคน เป็นเงินกว่า 3 พันล้านบาท สำหรับการจ่ายการประกันว่างงานเป็นการทำงานร่วมกันตั้งแต่กรมการจัดหางาน ขึ้นทะเบียนผู้ว่างงาน และเชื่อมโยงข้อมูลมายังสำนักงานประกันสังคมผ่านระบบออนไลน์จากนั้นมีการจัด ส่งไปฝึกอาชีพกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และกรมการจัดหางานจัดหางานให้ใหม่ หากยังไม่ได้รับการบรรจุงานก็จะได้รับประโยชน์ทดแทนจากประกันสังคมทั้งนี้ จากปัญหาการขาดแคลนแรงงานในปัจจุบันต้องเน้นการบูรณาการกระบวนการพัฒนาและ จัดหางานให้มีประสิทธิภาพขึ้นเพื่อให้คนกลับเข้าสู่ตลาดแรงงานโดยเร็ว

 

สถานะกองทุน ปัจจุบันมีผู้ประกันตนประมาณ 12 ล้านคน เงินกองทุนประมาณ 1 ล้านล้านบาท โดยปีที่ผ่านมามีผลตอบแทนจากการลงทุน 4.6 หมื่นล้านบาท

 

การจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ มีผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับเงินชราภาพในรูปแบบบำนาญปีนี้เป็นปีแรก โดยจะเริ่มจ่ายตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2557 เป็นต้นไป

 

ด้านการประกันตนตามมาตรา 40 ปัจจุบันมีผู้ประกันตน 105 ล้านคน เงินสมทบราว 1 พันล้านบาท และเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2556 ที่ผ่านมาได้ขยายสิทธิประโยชน์เพิ่มเติม คือ ทางเลือกที่ 1 ผู้ประกันตนจ่าย 70 บาท รัฐสมทบ 30 บาท ได้รับสิทธิประโยชน์กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต ทางเลือกที่ 2 ผู้ประกันตนจ่าย 100 บาท รัฐสมทบ 50 บาท ได้รับสิทธิประโยชน์กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ เสียชีวิต และบำเหน็จชราภาพ ทางเลือกที่ 3 ผู้ประกันตนจ่าย 100 บาท รัฐสมทบ 100 บาท ได้รับสิทธิประโยชน์กรณีบำนาญชราภาพ 2,400 บาท/ปี ทางเลือกที่ 4 (ทางเลือกที่ 1+3) ผู้ประกันตนจ่าย 170 บาท รัฐสมทบ 130 บาท ได้รับสิทธิประโยชน์กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต บำนาญชราภาพ 2,400 บาท/ปี และทางเลือกที่ 5 (ทางเลือกที่ 2+3) ผู้ประกันตนจ่าย 200 บาท รัฐสมทบ 150 บาท ได้รับสิทธิประโยชน์กรณีประสบอันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต บำเหน็จชราภาพ บำนาญชราภาพ 3,000 บาท/ปี อย่างไรก็ตามในปี 2557สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดให้ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 8 ธันวาคม 2557

 

แนวหน้า 19 กุมภาพันธ์ 2557



22/Feb/2014

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา