ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย : หลักวิชารัฐธรรมนูญว่าด้วยเรื่องรัฐบาลรักษาการ

มีการพูดถึงสถานะของ "รัฐบาลรักษาการ" (Caretaker Government) ปัจจุบันว่าสิ้นสภาพไปผ่านการอ้างอิงตาม ม.๑๒๗ ของรัฐธรรมนูญ 
 
ผมขออนุญาตอธิบายเรื่องนี้นะครับว่าการจะอ่านและพิจารณาตีความรัฐธรรมนูญนั้นจะต้องอยู่บน"หลักเอกภาพของรัฐธรรมนูญ"(Unity of the Constitution) ที่ว่าด้วยเรื่องกลไกของระบบรัฐธรรมนูญที่มีความเชื่อมโยงกันอยู่ โดยการอ่านและตีความต้องอ้างอิงจากถ้อยคำของรัฐธรรมนูญ เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ และหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญประกอบกันไปทั้งหมด ดังนั้น การพิจารณาเรื่องรัฐบาลรักษาการณ์ต้องพิจารณาเป็นระบบตามลำดับดังนี้ 
 
๑. การพิจารณาตามถ้อยคำของรัฐธรรมนูญ : ต้องเข้าไปพิจารณาดูว่ามีบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญหรือไม่ที่กล่าวถึงรัฐบาล รักษาการทั้งนี้เนื่องจากจะได้นำไปสู่การพิจารณาถึงสถานะและการใช้อำนาจ หน้าที่ของเขาต่อไปซึ่งปรากฏว่าอยู่ในม.๑๘๑ 
 
๒. การพิจารณาตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ : เมื่อมีการลาออกของคณะรัฐมนตรีก็ดี มีการประกาศยุบสภาก็ดี ม.๑๘๑ ให้มีรัฐบาลรักษาการณ์ขึ้นก็เพื่อทำหน้าที่ชั่วคราวจนกว่าจะได้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง หรือรัฐบาลชุดใหม่เข้ามา ทั้งนี้เนื่องจากไม่ต้องการให้เกิดสภาวะสุญญากาศในการบริหารประเทศ 
 
๓. การพิจารณาตามหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญ : ตามหลักการแล้วเห็นว่าเมื่อปรากฏว่าฝ่ายบริหารของรัฐนั้นสิ้นสภาพไปแล้ว จึงต้องการให้มี "กลไกในการเปลี่ยนผ่านประเทศ" กล่าวคือ การบริหารประเทศนั้นจะไม่สะดุดหยุดอยู่เนื่องจากจะกระทบต่อสาธารณะ หรือสังคมส่วนรวมได้ จึงกำหนดให้มี "ฝ่ายบริหารชั่วคราว" ซึ่งก็คือฝ่ายบริหารเดิมที่สิ้นสภาพไปมาทำหน้าที่ในการบริหารประเทศไม่ให้หยุดชะงักตาม "หลักความต่อเนื่องไม่ขาดสายของการบริหารประเทศ" (Continuity of Executive Power) จนกว่าจะได้ฝ่ายบริหารชุดใหม่มา "รับไม้ต่อ" เพื่อทำหน้าที่บริหารประเทศตามปกติต่อไป 
 
การที่เราไปพิจารณา ม.๑๒๗ (ซึ่งปกติจะใช้บังคับเมื่อมีการเลือกตั้งเสร็จสมบูรณ์ไปแล้ว) เลยโดยไม่พิจารณาถึงบริบทและเจตจำนงค์ต่างๆ ของการบังคับใช้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมองข้าม ม.๑๘๑ ไปทั้งๆ ที่เป็นบทบัญญัติเฉพาะว่าด้วยสถานะของรัฐบาลรักษาการ ซึงมีความเชื่อมโยงและลำดับในการพิจารณาตีความก่อนหลังอยู่ จึงอาจทำให้เข้าใจผิดพลาดคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับสถานะของรัฐบาลรักษาการตามหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญที่แท้จริงได้นั่นเอง
 
 
มติชน 5 มีนาคม 2557


10/Mar/2014

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา